ช่วงนี้เนื้อหมูแพง กระทบกับธุรกิจร้านอาหารอย่างมาก รวมถึงกระทบภาคครัวเรือนอีกด้วย วันนี้จะพาชำแหละดูทั้งระบบว่าทำไมถึงแพง และกระทบอะไรบ้าง แนวทางแก้ไขปัญหาเป็นอย่างไร ติดตามจากบทความ
เปิดมาต้นปี หมูแพง สินค้าอื่นๆบางรายการส่อแพงด้วย
ช่วงนี้ใครที่ไปซื้อเนื้อหมูในตลาด หรือตามห้างสรรพสินค้าจะเห็นว่าราคาปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง ส่วนร้านอาหาร พ่อค้าแม่ค้าอาหารตามสั่งบ่นอุบว่าเนื้อหมูแพงมาก ส่วนใครที่ไปซื้อหมูปิ้งช่วงนี้ก็จะพบว่าบางรายลดปริมาณลง บางรายปรับขึ้นราคา และบางรายเลิกขายไปเลยด้วยการขายไก่แทน นอกจากเนื้อหมูแพงแล้วยังมีสินค้าอื่น ๆ บางรายการขยับขึ้นตามเงินเฟ้ออีกด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
ส.ส. พลังประชารัฐ แนะทางออก ... หมูแพงให้กินไก่ เชื่อไม่เกี่ยวส่งออก
‘เงินเฟ้อ’เม.ย 2564 พุ่งสูงรอบ 8 ปี ซ้ำเติมโควิด 19 ดันของแพงขึ้น
สวนดุสิตโพล เผย ข้าวของแพง เป็นปัญหาเศรษฐกิจ ที่รุมเร้า ปชช. มากที่สุด
เพราะเหตุใด หมูถึงแพง และกระทบใครบ้าง ?
โดยเมื่อเร็วๆนี้ สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) ได้ออกมาเปิดเผยว่า นอกจากเนื้อหมูแพงแล้วยังมีสินค้าอื่น ๆ ในท้องตลาดที่ปรับราคาแพงตามบางราย รวมถึงสาเหตุ ของการที่ราคาสินค้าเหล่านั้นแพงว่ามาจากปัจจัยอะไรบ้าง ตามรายละเอียดดังนี้
*เนื้อหมู
*ผักสด (บางรายการ)
*ไข่ไก่
-เหตุไฉน ถึงสูง ซ้ำเติมผู้บริโภค
*ปรับสูงขึ้นตามต้นทุนการเลี้ยง
*โรคระบาดในหมู
*ปริมาณผลผลิตลดลง
*ผู้ประกอบการรายย่อยลดปริมาณการเลี้ยงหมู
ร้านอาหารที่เกี่ยวกับกหมู เจอศึกหนักต้นทุนพุ่ง
หลังจากเนื้อหมูแพง ก็ได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจอาหารอย่างมาก มีร้านอาหารหลายร้านทยอยปรับขึ้นราคากัน วันนี้จะพาส่องดูว่าจะกระทบธุรกิจ อาชีพใดบ้าง ตามรายละเอียดดังนี้
*ร้านหมูกระทะ ปิ้งย่าง ชาบู ร้านอาหาร
*ร้านขายหมูปิ้ง หมูทอด
*ร้านขายปลีกเนื้อหมู ร้านลูกชิ้น
*ธุรกิจแปรรูปหมู
*ร้านอาหารตามสั่ง ร้านก๋วยเตี๋ยวเรือ
* แม่บ้านที่ประกอบอาหารในครัวเรือน
นายรณรงค์ พูนพิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) เดือนธ.ค.2564 เท่ากับ 101.86 เทียบกับเดือนพ.ย.2564 ลดลง 0.38% เทียบกับธ.ค.2563 เพิ่มขึ้น 2.17% ส่วนเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปี 2564 (ม.ค.-ธ.ค.) เพิ่มขึ้น 1.23% ใกล้เคียงกับที่ประมาณการณ์ไว้ที่ 0.8-1.2% ขณะที่เงินเฟ้อพื้นฐาน ที่หักอาหารสดและพลังงานที่มีความผันผวนด้านราคาออก พบว่า ดัชนีอยู่ที่ 100.73 เพิ่มขึ้น 0.05% เมื่อเทียบกับเดือนพ.ย.2564 และเพิ่มขึ้น 0.29% เมื่อเทียบกับเดือนธ.ค.2563 และเฉลี่ยทั้งปี 2564 เพิ่มขึ้น 0.23
โดยสาเหตุที่ทำให้เงินเฟ้อในเดือนธ.ค.2564 เพิ่มขึ้น มาจากการเพิ่มขึ้นของสินค้าที่สำคัญหลายรายการ โดยน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่ม 26.26% แม้รัฐบาลจะช่วยตรึงราคาน้ำมันดีเซล แต่ราคาขายปลีกในประเทศยังสูงกว่าเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว ที่มีราคาค่อนข้างต่ำ เนื้อสุกร เพิ่มขึ้นตามต้นทุนการเลี้ยง ทั้งค่าอาหารสัตว์ ค่าดูแลและการป้องกันโรคระบาด ผู้เลี้ยงรายย่อยลดการเลี้ยงทำให้หมูเข้าสู่ตลาดลดลง ขณะที่ผักสด เช่น มะเขือ กะหล่ำปลี ผักกาดขาว ผักบุ้ง ถั่วฝักยาว เพิ่มสูงขึ้นตามความต้องการที่สูงขึ้น ไข่และผลิตภัณฑ์นม เพิ่มขึ้นตามต้นทุนการเลี้ยง อาหารบริโภคในบ้านและนอกบ้าน เพิ่มขึ้นตามต้นทุนวัตถุดิบ
เปิดแนวทางการแก้ไขหมูแพง
ทั้งนี้เรื่องของราคาหมูแพงกลายเป็นปัญหาระดับชาติ ล่าสุด ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ฉบับที่ 1 ห้ามส่งออก “หมูมีชีวิต” ไปนอกราชอาณาจักรทุกกรณี เป็นเวลา 3 เดือน ทั้งนี้เพื่อเป็นการให้สินค้าเพียงพอต่อการบริโภคในประเทศก่อน พร้อมกันนี้ น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เผยถึง มาตรการแก้หมูแพง รายละเอียดดังนี้
1.ห้ามส่งออกหมูมีชีวิตเป็นเวลา 3 เดือน
2.จะช่วยเหลือราคาอาหารสัตว์
3.จะเร่งสำรวจภาพรวมสถานการณ์การผลิตหมู