ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ. รามาธิบดี เผย ชุดตรวจ PCR บางยี่ห้อ อาจให้ผลบวกอ่อนลง หรือให้ผลลวงได้ บ่งชี้ว่าอาจตรวจจับกับโควิดสายพันธุ์โอไมครอนได้ไม่ดี หรือจับไม่ได้เลยเนื่องจากไวรัสมีการกลายพันธุ์ไปมาก
27 พ.ย.64 จากกรณีที่ องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศ ตั้งชื่อให้ เชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์ชนิดใหม่ B.1.1.529 หรือ โอไมครอน (Omicron)ทั้งนี้ WHO ยังประกาศให้เชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์ตัวนี้เป็นสายพันธุ์ระดับที่น่ากังวล (Variants of Concern: VOC) ตัวใหม่ล่าสุด ต่อจากเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลตา (B.1.617.2) ที่พบในอินเดีย ช่วงเดือนตุลาคมปี 2020
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โควิดสายพันธุ์โอไมครอน คืออะไร ? ทำความรู้จักสายพันธุ์ที่น่ากังวล ล่าสุด
"ดร.อนันต์" เผย โควิดสายพันธ์ุใหม่ B.1.1.529 น่ากังวล อาจเป็นความท้าทายปี65
ล่าสุดทาง ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ (Center for Medical Genomics) คณะแพทได้ยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้โพสต์ให้ข้อมูล PCR ที่ใช้ตรวจไวรัสโคโรนา 2019 ยังสามารถตรวจจับสายพันธุ์ "โอไมครอน (B.1.1.529)" ได้หรือไม่ ผ่านทางเฟซบุ๊กระบุว่า นักวิทยาศาสตร์แอฟริกาได้ “อัปโหลด” รหัสพันธุกรรมทั้งจีโนม (whole genome sequence) ของไวรัสโคโรนา 2019 จำนวนกว่า 115 ตัวอย่างขึ้นบนฐานข้อมูลโควิดโลก “GISAID” เป็นที่เรียบร้อย เพื่อให้นักวิจัยทั่วโลกได้นำไปศึกษาวิจัย เพื่อพัฒนาการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ การป้องกัน และรักษา
ทางศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ. รามาธิบดี ได้ดาวน์โหลดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมของ "โอไมครอน" ทั้ง 115 ตัวอย่างมาทดสอบด้วยวิธีชีวสารสนเทศกับตัวตรวจตาม (PCR primer) ของชุดตรวจ PCR ที่ทาง WHO ให้การรับรอง ผ่านโปรแกรม “ “Nextclade” (https://clades.nextstrain.org/) ปรากฏว่าจากการวิเคราะห์ผลบน"คอมพิวเตอร์" ทั้ง 115 ตัวอย่างมีแนวโน้มว่าอาจเกิดปัญหาไม่มากก็น้อยกับชุดตรวจ PCR บางยี่ห้อ คืออาจให้ผลบวกอ่อนลง (weakly positive) หรือเกิดผลลบปลอม (false negative) ขึ้นได้ เนื่องจากตัวตรวจตาม (PCR Primer) ของยี่ห้อดังกล่าวมีรหัสพันธุ์กรรมของตัวตรวจตาม (PCR Primer) ที่บ่งชี้ว่าอาจตรวจจับกับส่วนจีโนมของสายพันธุ์โอไมครอนได้ไม่ดีหรือจับไม่ได้เลยเนื่องจากไวรัสมีการกลายพันธุ์ไปมาก
ดังนั้นศูนย์รับตรวจโควิด-PCR คงต้องระมัดระวังเลือกใช้ชุดตรวจ PCR ที่ผ่านการทดสอบว่าไม่มีปัญหาในการตรวจจับสายพันธุ์ “โอไมครอน”