28 พ.ย. 1990 มาร์กาเร็ต แทตเชอร์ เจ้าของสมญานาม ‘สตรีเหล็ก’ ผู้ซึ่งครองตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอังกฤษ 3 สมัย ลงจากตำแหน่ง หลังเป็นผู้นำ 11 ปี และในช่วงที่เธอเป็นผู้นำประเทศ สร้างผลงานโดดเด่นไว้ นำพาประเทศผ่านยุคสงครามเย็นมาได้ และทำให้อังกฤษเป็นมหาอำนาจอีกครั้งในเวทีโลก
ประวัติมาร์กาเร็ต แทตเชอร์
"คุณอาจจะต้องต่อสู้ในสมรภูมิใดสมรภูมิหนึ่งซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนกว่าจะได้รับชัยชนะ" คือหนึ่งในวลี ประโยคทองที่ นางมาร์กาเร็ต แทตเชอร์ เคยกล่าวเอาไว้ ในช่วงเวลาที่ดำรงตำแหน่งผู้นำอังกฤษ
.
สำหรับ นางมาร์กาเร็ต แทตเชอร์ ถือเป็นอีกหนึ่งผู้นำคนสำคัญของโลก , เธอถูกจดจำในฐานะนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรก ในประวัติศาสตร์ของอังกฤษ ครองตำแหน่งผู้นำของประเทศยาวนานถึง 11 ปี ระหว่างวันที่ 4 พ.ค. 1979 ถึง 28 พ.ย. 1990 โดย นางมาร์กาเร็ต แทตเชอร์ สามารถนำ พรรคอนุรักษ์นิยม ( Conservative Party ) ชนะการเลือกตั้งได้ 3 สมัย
.
และเธอคือนายกรัฐมนตรีที่ครองตำแหน่งผู้นำประเทศยาวนานที่สุดของอังกฤษในศตวรรษที่ 20 และเธอก็ได้สมญานามจากฝั่งสื่อสหภาพโซเวียตว่า เป็น "Iron Lady" หรือ ‘สตรีเหล็ก’ ใน ค.ศ. 1976 ซึ่งเป็นการนำไปเปรียบเทียบกับ “บิสมาร์ค” บุรุษผู้ยิ่งใหญ่ของเยอรมนีสมัยไกเซอร์ ที่มีฉายาว่า "อัครมหาเสนาบดีเหล็ก" (Iron Chancellor)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
27 พ.ย. 1978 "ฮาร์วี มิลค์" Harvey Milk นักการเมืองเกย์คนแรกสหรัฐฯ ถูกลอบยิง
24 พ.ย. 1991 เฟรดดี้ เมอร์คิวรี่ นักร้องนำ Queen สุดยอดศิลปินอำลาโลกไปตลอดกาล
ในยุคที่นางมาร์กาเร็ต แทตเชอร์ ครองตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้น ทิศทางของประเทศอังกฤษ ต้องถือว่าเป็นยุคที่อยู่ภายใต้วิสัยทัศน์ผู้หญิงสองคน อีกคนหนึ่งนั่นคือราชินีเอลิซาเบธ ซึ่งทั้ง 2 คนมีบุคลิก และความชอบ ที่แตกต่างกันเกือบทุกเรื่อง
.
จุดเด่นของนางมาร์กาเร็ต แทตเชอร์ นั่นคือ เธอสามารถนำประเทศกลับมายืนตะหง่านเป็นมหาอำนาจได้อีกครั้ง และกลายเป็นหนึ่งในผู้นำที่ทรงอิทธิพลที่สุดช่วงสงครามเย็น ทั้งที่จริงๆแล้ว ช่วงเวลานั้นอังกฤษเต็มไปด้วยปัญหาเศรษฐกิจ.
.
นางมาร์กาเร็ต แทตเชอร์ มุ่งให้ความสำคัญแก้ไขคือ ปัญหาสหภาพแรงงาน ซึ่งสร้างแรงกดดันต่อหลาย ๆ รัฐบาลมาโดยตลอด ซึ่งสมาชิกสหภาพมีราว 20% ของประชากร มักประท้วงหยุดงานเพื่อเรียกร้องประโยชน์ต่าง ๆ อยู่บ่อยๆ จนทำให้สถานการณ์ภายในประเทศปั่นป่วน
Credit IG : margaret._.thatcher
Credit IG : margaret._.thatcher
นางมาร์กาเร็ต แทตเชอร์จึงสนับสนุนการออกกฎหมายหลายฉบับที่จำกัดอำนาจและบทบาทของสหภาพแรงงาน ซึ่งนั่นแปลว่า จะมีปัญหากับชนชั้นแรงงานอย่างแน่นอน นอกจากนี้ นางมาร์กาเร็ต แทตเชอร์เริ่มดำเนินนโยบายรัดเข็มขัดเศรษฐกิจทันที โดยนางแทตเชอร์ใช้ยาแรงในการแก้ปัญหา คือการประกาศรัดเข็มขัด ตัดโครงสร้างพื้นฐานของรัฐที่ไม่ทำกำไรให้เป็นของเอกชนเสีย หยุดอัดฉีดเงินในระบบ ออกกฎหมายลดอำนาจสหภาพแรงงาน และประกาศลดภาษีเพื่อหวังให้เอาใจนายทุน ผลคือ ธุรกิจที่ไม่ทำกำไรเจ๊งถล่มทลาย ผู้คนตกงาน ถึง 3 ล้านคน ในปี 1981 นับเป็นสถิติสูงสุดนับตั้งแต่ทศวรรษ 1930 เลยทีเดียว
.
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เป็นผลงานเอกของเธอ และทำให้คะแนนความนิยมของนางมาร์กาเร็ต แทตเชอร์ พุ่งสูงขึ้น นั่นคือ เธอพาอังกฤษได้รับชัยชนะเหนือประเทศอาร์เจนตินา กรณีสงครามหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ในปี 1982 ยังผลให้นำความยินดีมาสู่ชาวอังกฤษที่กำลังเหนื่อยล้ากับปัญหาเศรษฐกิจ ในเวลานั้น.
.
อีกบทบาทที่โดดเด่นของนางมาร์กาเร็ต แทตเชอร์ อีกหนึ่งสิ่ง ก็คือการเป็นกาวใจเชื่อมระหว่างสหรัฐฯและรัสเซีย ในยุคสงครามเย็น
.
ในช่วงท้ายของชีวิต นางมาร์กาเร็ต แทตเชอร์ นับตั้งแต่ปี 2008 เธอเริ่มไม่ปรากฏตัวต่อสาธารณชน โดยบุตรสาวของเธอเปิดเผยว่า นางมาร์กาเร็ต แทตเชอร์ ป่วยด้วยโรคความจำเสื่อม ซึ่งอาการดังกล่าวปรากฏชัดหลังจากที่สามีของเธอเสียชีวิตในปี 2003
.
นางมาร์กาเร็ต แทตเชอร์ ถึงแก่อสัญกรรมในวันที่ 8 เมษายน ปี 2013 รวมอายุได้ 87 ปี และช่วงเวลาเธอที่ครองตำแหน่งผู้นำประเทศ ก็ได้สร้างผลกระทบทั้งบวกและลบต่อประชาชนทุกหย่อมหญ้า
.
“เราต้องสร้างสังคมที่ผู้คนมีอิสระในการเลือกคิด เลือกทำ รวมถึงอิสระที่จะได้พบกับความล้มเหลว" มันเป็นคำพูดของนางมาร์กาเร็ต แทตเชอร์ที่ช่างเหมาะกับทุกยุคทุกสมัยอยู่เหมือนเดิม
Credit IG : margaret._.thatcher