svasdssvasds

กรมการแพทย์ จ่อหารือ บ.ไฟเซอร์ นำเข้า "ยาแพกซ์โลวิด" รักษาผู้ป่วยโควิด-19

กรมการแพทย์ จ่อหารือ บ.ไฟเซอร์ นำเข้า "ยาแพกซ์โลวิด" รักษาผู้ป่วยโควิด-19

กรมการแพทย์ เตรียมหารือ บริษัทไฟเซอร์ ในวันศุกร์ที่ 12 พ.ย.นี้ ในการนำเข้ายาแพกซ์โลวิด มารักษาผู้ป่วยโควิดในอนาคต ซึ่งทางบริษัทผู้ผลิตอยู่ระหว่างยื่นขอขึ้นทะเบียนกับอย.สหรัฐฯ

 ศูนย์แถลงข่าวกระทรวงสาธารณสุขโดย นายแพทย์อรรถสิทธิ์ ศรีสุบัติ ที่ปรึกษากรมการแพทย์ ระบุว่า ความคืบหน้า ยารักษาโควิด-19 โมนูลพิราเวียร์ และยาแพกซ์โลวิด  ว่า ยาทั้งสองตัวนี้เป็นยาช่วยต้านไวรัสไม่ให้ไวรัสเพิ่มในร่างกาย แต่มีการออกฤทธิ์ต่างกันคนละที่ 

 ซึ่ง ยาโมนูลพิราเวียร์ ได้มีการทำศึกษาวิจัยได้มีการวิเคราะห์เบื้องต้น 775 คน โดยมีการแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ได้รับยาจริง 385 คนและยาหลอก 377 คนรับประทานวันละ 2 เวลาขนาด 800 mg เป็นระยะเวลา 5 วัน 4 เม็ดเช้าและ 4 เม็ดเย็น ใช้ 40 เม็ดต่อคน

จากงานวิจัย พบว่า ลดความเสี่ยงการในการเข้านอนโรงพยาบาลและเสียชีวิตร้อยละ 50 โดยพบว่า ไม่มีผู้เสียชีวิตในกลุ่มที่ได้ยาโมนูลพิราเวียร์ ส่วนคนที่ได้อย่าหลอกมีเสียชีวิต 8 คน 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• "ไฟเซอร์" เปิดตัว “แพกซ์โลวิด”  ยารักษาโควิด19 ลดป่วยหนัก-เสียชีวิต ถึง 89%

• ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ ปรับสูตรวัคซีน แอสตร้าฯ-ไฟเซอร์ เริ่ม 5 พ.ย. นี้

• หมอธีระ แนะฉีด "วัคซีนไฟเซอร์" ขนาด 10 ไมโครกรัม ให้เด็ก 2 เข็ม ห่างกัน 3 สัปดาห์

 ขณะที่ ยาแพกซ์โลวิด ต้องใช้ควบคู่กับ ยาริโทนาเวียร์ จากข้อมูลศึกษาวิจัยเบื้องต้น 774 คน (กินยาแพกซ์โลวิดขนาด150มิลลิกรัม กับยาริโทนาเวียร์ ขนาด 100 มิลลิกรัม จำนวน 389 คน และยาหลอก 385 คน) กินวันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 5 วัน โดยหนึ่งคนใช้ยาแพกซ์โลวิดทั้งหมด 20 เม็ด และ ริโทนาเวียร์ 10  เม็ดต่อคน 

โดยพบว่า ลดความเสี่ยงการเข้านอนโรงพยาบาลและเสียชีวิตได้ โดยมีการวัดอยู่ที่ 28 วัน กรณีให้ยาภายใน 3 วัน นับแต่เริ่มมีอาการ ยามีประสิทธิภาพ ร้อยละ 89 หากกรณีให้ยาภายใน 5 วันนับตั้งแต่มีอาการ ประสิทธิผลอยู่ที่ร้อยละ 85 ทั้งนี้ ไม่มีผู้เสียชีวิตในกลุ่มที่ได้ยาแพกซ์โลวิด ต้องใช้ควบคู่กับยาลิโทนาเวียร์

 ส่วนความคืบหน้า ยาแพกซ์โลวิด ทางกรมการแพทย์ ได้หารือกับ ไฟเซอร์ในข้อมูลยาและการวิจัยต่างๆ เนื่องจากกรมการแพทย์กับบริษัทไฟเซอร์มีการทำสัญญาร่วมกันที่จะไม่เปิดเผยข้อมูลผลการศึกษา และ ราคา รายละเอียดตอนนี้ อย่างไรก็ตามในวันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2564 จะมีการเจรจา เพื่อหารือถึงความเป็นไปได้ในการจัดหายามาใช้ เบื้องต้นทางไฟเซอร์กำลังอยู่ระหว่างการยื่นขึ้นทะเบียนกับทาง อย.สหรัฐฯ

 ด้านนายแพทย์ อรรถสิทธิ์ ระบุอีกว่าทางบริษัทไฟเซอร์ เผยว่า หากมีการนำยาออกมาจำหน่ายในท้องตลาด ก็จะเป็นในรูปแบบคู่กัน ระหว่างยาแพกซ์โลวิดและยาริโทนาเวียร์ ส่วนสาเหตุที่ต้องให้กินยาริโทนาเวียร์ควบคู่ไปด้วย  ข้อมูลวิจัยจากบริษัทผู้ผลิต ชี้ชัดถ้าให้ยาทั้ง 2 ชนิด จะมีประสิทธิภาพในการรักษาโควิด จะเพิ่มขึ้น 

 สำหรับหลักเกณฑ์ในการแจกจ่ายยาให้กับผู้ป่วยโควิดเบื้องต้น จะเป็นผู้ป่วยที่เริ่มมีอาการ และเป็นผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง มีโรคประจำตัว ซึ่งมีข้อมูลวิจัย ยืนยันแล้วในเบื้องต้นว่า ยาแพกซ์โลวิดและยาริโทนาเวียร์ ลดความเสี่ยงของผู้ป่วยโควิด ในการเข้านอนโรงพยาบาลและการเสียชีวิตได้

related