การสำรวจของต่างชาติเกี่ยวกับเรื่องพฤติกรรมการใช้สื่อในโลกออนไลน์ พบว่าคนไทยเป็นผู้ใช้งาน Social Media เพื่ออัพเดทข่าวสารมากเป็นอันดับ 1 ของโลก แล้วทำไมประเทศไทยจึงไม่มีแพลตฟอร์มเป็นของตนเอง? มาร่วมหาคำตอบไปพร้อมกัน จากงาน สัมมนาออนไลน์ Thailand Platform
จากรายงานพฤติกรรมผู้บริโภคด้าน Digital และ Social Media ผลการสำรวจที่ทั่วโลกจับตามอง คือ Global Digital Report ของ We Are Social และ Hootsuite แพลตฟอร์มด้านการบริหารจัดการสื่อสังคมออนไลน์ ที่สำรวจข้อมูลและพฤติกรรมการใช้งานดิจิทัลของผู้คนทั่วโลก ซึ่งล่าสุดเปิดสถิติถึงเดือน ก.ค.เป็นช่วงครึ่งปีหลังของปี 2564 มีสถิติที่น่าสนใจหลายเรื่อง
สถิติจาก We Are Social พบว่า คนไทย 69% ใช้ชีวิตบนโลกออนไลน์โดยถือเป็นเรื่องปกติ แถมมีพฤติกรรมออนไลน์หลายอย่าง เริ่มได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นด้วย แต่...ประเทศไทยกลับไม่มีแพลตฟอร์มใช้เป็นของตนเอง โดยเฉพาะ สรีมมิ่งแพลตฟอร์ม ทำไม?
สตรีมมิ่งแพลตฟอร์ม เป็นแพลตฟอร์ม ที่นอกเหนือจากการเป็น คอนเทนท์รูปแบบหนึ่งที่ใช้ในการสื่อสารผ่านโลกออนไลน์ในปัจจุบัน ยังเป็น รูปแบบคอนเทนท์ที่ได้รับความนิยมสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และถูกจูงใจด้วยการสร้างรายได้กลับคืนให้ผู้ผลิต นักคิด ครีเอเตอร์ทั้งหลาย
ไทยสูญเสียอะไรบ้าง กับการพึ่งพาแพลตฟอร์มจากต่างชาติเพียงอย่างเดียว
การพึ่งพาแพลตฟอร์มของต่างชาติ ในการนำเสนอเรื่องราว ความคิด การสร้างสรรค์ แม้จะมีข้อดีตรงที่มีโอกาสที่จะมีผู้พบเห็นคอนเทนท์ที่เราผลิตจากทั่วทุกมุมโลก เนื่องจากสตรีมมิ่งแพลตฟอร์ม ที่ต่างชาติคิดค้นขึ้นมานั้น ถูกเผยแพร่และนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายไปก่อนหน้านี้เป็นเวลานานมากแล้ว
แต่สิ่งหนึ่งที่ชาวไทยหรือแม้กระทั่งผู้ใช้งานที่เป็นชนชาติเดียวกับแพลตฟอร์มเองต้องเสียไปคือ มูลค่าในคอนเทนท์ที่ตนเองคิดค้น สร้างสรรค์และผลิตขึ้นมา หลายผลงานเป็นผลงานที่สร้างสรรค์ มีคุณค่า แต่กลับต้องถูกหักส่วนต่างรายได้ไป เนื่องจากการพึ่งพาผู้ให้บริการ แพลตฟอร์มต่างชาติ นั้นเอง
แล้วทำไม ไทยจึงไม่ให้กำเนิด สตรีมมิ่งแพลตฟอร์ม ที่เป็นของคนไทย ที่พร้อมจะให้มูลค่าคอนเทนท์ที่ถูกคิดและสร้างสรรค์คืนกลับสู่คนไทย หรือ เพื่ออย่างน้อยให้เป็นที่สำหรับรวบรวมเรื่องราววิถีชีวิต ความคิดความอ่าน การสร้างสรรค์ ของ คนไทย ชาวไทย ชาติไทย ไว้ที่เดี่ยวกันบ้าง
ทำไมประเทศไทย ไม่มีแพลตฟอร์มเป็นของตนเอง หากจะมี สามารถเป็นไปได้หรือไม่?
ร่วมหาคำตอบ และความเป็นไปได้ ไปพร้อมกัน ในงาน สัมมนาออนไลน์ Thailand Platform รับฟังความเห็นจากผู้ร่วมสมัมนาหลากหลาย อาทิ
ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ นักบริหารจากภาครัฐ ผู้ผลักดันการสร้างสรรค์แพลตฟอร์ม ทางรัฐ แอปพลิเคชั่นที่ทำลายกำแพงการติดต่องานราชการจากภาพจำเดิมๆ สู่ประสบการณ์ใหม่สำหรับคนไทย จนสำเร็จ (ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (DGA))
ดร.ธราภุช จารุวัฒนะ ผู้มากประสบการณ์ในแวดวงสื่อ ผ่านช่วงชีวิตรอยต่อของสื่อเก่า และสื่อใหม่ เห็นปรากฎการณ์ความเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนผ่านจากโลกเดิมสู่โลกอนาคต(นายกสมาคมมีเดียเอเยนซี่และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย)
ร่วมรับฟังการถกปัญหาและทางออกของการให้กำเนิด Thailand Platform จากผู้มีประสบการณ์ทั้งหลายได้พร้อมกัน
บ่ายวันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม 2564 เวลา 14.00 น. - 16.00 น. ทางโซเชี่ยลมีเดียในเครือสปริงนิวส์
LINE SPRiNGNEWS
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร.02-338-3000 กด 1 หรือลงทะเบียนผ่าน QR CODE