svasdssvasds

ขจัดภัยความยากจน ให้คนอยู่ร่วมกับป่า น้อมรำลึกพระราชปณิธานของในหลวง ร.9

ขจัดภัยความยากจน ให้คนอยู่ร่วมกับป่า น้อมรำลึกพระราชปณิธานของในหลวง ร.9

ดิน น้ำ ลม ไฟ กว่า 4,700 โครงการในพระราชดำริ เปรียบเสมือนบทเรียนสะท้อนชีวิตความเป็นอยู่ของบ้านเมือง ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ขอคนไทยร่วมรักษาดิน น้ำ ลม ไฟ รักษาตัวเองด้วยชีวิตและสติปัญญาตามพระราชปณิธานของในหลวงรัชกาลที่ 9

เนื่องในวันที่ 13 ตุลาคม เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 โดย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขามูลนิธิชัยพัฒนา ได้กล่าวแสดงปาฐกถาเปิดโครงการอบรมวิทยากรส่งเสริมคุณธรรม Sustainability c Moral “ตามรอยพระราชา” เมื่อวันที่ 6 ตุลาคมที่ผ่านมา จัดขึ้นที่ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) เพื่อส่งเสริมพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่และปราชญ์ชาวบ้านในแหล่งเรียนรู้ทั่วประเทศ ให้เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่ชุมชนและสังคมสืบไป

ในช่วงตอนหนึ่ง ดร.สุเมธ ได้มีการกล่าวถึง UN SDGs หรือ Sustainable Goals 17 ข้อ ทาง Spring News จึงอยากชวนไปทบทวนความสำคัญและที่มาของโครงการนี้กันสักหน่อยว่าเป็นอย่างไร

Sustainable Development Goals (SDGs) คือแผนพัฒนาโกลเพื่อความยั่งยืน โดยมีเป้าหมายที่จะขจัดความยากจนให้หมดไป พร้อมๆกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลกใบนี้ โดยร่วมมือกับองค์การสหประชาชาติ (United Nation) เป็นผู้นำในการชักชวน 193 ประเทศสมาชิกทั่วโลกในการทำแผนพัฒนานี้ให้สำเร็จ โดยมีประเทศไทยเป็นหนึ่งในสมาชิก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรอบระยะเวลาคือการนับถอยหลังความสำเร็จสู่ปีค.ศ. 2030 ประเทศสมาชิกจะต้องบรรลุเป้าหมาย 17 ประการให้ได้ ประเทศไทยนำโดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะนายกรัฐมนตรี เป็นตัวแทนให้คำมั่นสัญญาต่อที่ประชุมสหประชาชาติ และมุ่งดำเนินการตามเป้าหมายที่วางไว้ให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

SDGs 17 ประการ

เป้าหมาย 17 ประการมีดังนี้

  1. No Poverty ขจัดความยากจน
  2. Zero Hunger ขจัดความหิวโหยและความอดอยาก
  3. Good Health and Well-being มีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
  4. Quality Education การศึกษาที่เท่าเทียม
  5. Gender Equality ความเท่าเทียมทางเพศ
  6. Clean Water and Sanitation การจัดการน้ำและสุขาภิบาล
  7. Affordable and Clean Energy พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้
  8. Decent Work and Economic Growth การจ้างงานที่มีคุณค่าและเติบโตทางเศรษฐกิจ
  9. Industry, Innovation and Infrastructure อุตสาหกรรม นวัตกรรมโครงสร้างพื้นฐาน
  10. Reduces Inequalities ลดความเหลื่อมล้ำ ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ
  11. Sustainable Cities and Communities เมืองและถิ่นฐานมนุษย์อย่างยั่งยืน
  12. Responsible Consumption and Production แผนการบริโภคและการพัฒนาที่ยั่งยืน
  13. Climate Action การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  14. Life below water การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล
  15. Life on Land การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก
  16. Peace and Justice Strong Institutions สังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก
  17. Partnerships for the goals ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

โครงการพระราชดำริ ของในหลวงรัชกาลที่ 9 จำนวนมาก ก่อเกิดขึ้นเพื่อขจัดความยากจน ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม Spring News ขอหยิบยกโครงการพระราชดำริที่ก่อคุณูปการให้กับคนไทย เพื่อร่วมน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของหลวงรัชกาลที่ 9

ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ป่าไม้)

โครงการปลูกป่าทดแทน

ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงพระราชทานคำแนะนำให้มีการปลูกป่าทดแทนตามสภาพภูมิศาสตร์และสภาวะแวดล้อมของพื้นที่อย่างเหมาะสม เช่น

- การปลูกป่าทดแทนในพื้นที่ป่าไม้ถูกบุกรุกแผ้วถางและพื้นที่ผ่าเสื่อมโทรม ตัวอย่างการแผ้วทางภูเขาจนทำให้ภูเขาหัวโล้น จำเป็นต้องเร่งปลูกต้นไม้ชนิดโตเร็วคลุมแนวร่องน้ำ เพื่อให้ต้นไม้ค่อยๆดูดซับน้ำเพิ่มความชุ่มชื่นทีละนิดและทั่วถึง รวมไปถึงการป้องกันไฟป่าได้

- การปลูกป่าทดแทนตามไหล่เขา เน้นปลูกต้นไม้หลายๆชนิด เพื่อให้ได้ไม้ สำหรับทำฟืน

- การปลูกป่าทดแทนบริเวณต้นน้ำบนยอดเขาและเนินสูง เป็นต้น

ประโยชน์จากทั้ง 3 อย่าง ก็เพื่อให้ประชาชนมีไม้ไปทำฟืน พืชผลทางการเกษตรที่มีได้ตลอดปี รวมไปถึงการสร้างบ้านและการเพิ่มบ้านให้กับสัตว์ป่า รวมไปถึงเป็นการณ์อนุรักษ์ดินและต้นลำธารด้วย

การขจัดความยากจน

โครงการฝนหลวง

ปีพ.ศ. 2498 ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้พระราชดำเนินไปเยี่ยมเยียนพสกนิกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทรงทอดพระเนตรเห็นความแห้งแล้วของผืนดินอีสาน จึงมีพระราชดำริ ที่จะสร้างฝนเทียม จึงคิดที่จะผลิตฝนเทียมเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำฝนให้ตกต้องตามฤดูกาลจากภัยแล้งที่ชาวบ้านประสบ วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 เป็นวันแรกที่ออกปฏิบัติการทดลองทำฝนเทียม บริเวณวนอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา และผลการทดลองเป็นที่น่าพึงพอใจ แต่ก็ยังไม่สามารถบังคับพื้นที่ให้ตกได้ จึงมีการทดลองอยู่หลายครั้งจนประสบความสำเร็จ

บทบาทของฝนหลวง ทำหน้าที่ในการบำบัดทุกข์ให้แก่ประชาชนมากเกินกว่าที่คาดไว้ เนื่องจากชาวนาทางภาคตะวันออกเชิงเหนือแล้งมาหลายปี ไม่สามารถทำการเกษตรได้ เพิ่มพูนความยากจนข้นแค้นให้กับชาวบ้านเป็นอย่างมาก การบังคับภูมิอากาศได้ ถือเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์ใจที่ต่อชีวิตให้แก่เกษตรกรในขณะนั้น รวมไปถึงสามารถใช้เพื่อการอุปโภค บริโภคได้ด้วย

วันทดลองฝนหลวงบนท้องฟ้าครั้งแรก

แต่ในปัจจุบัน สถานการณ์ความแห้งแล้งในไทยได้ทวีความรุนแรงขึ้น จากสถิติปีที่พ.ศ. 2563 ประเทศไทยต้องตั้งรับกับวิกฤตการณ์ภัยแล้งที่รุนแรงเป็นอันดับ 2 ในรอบ 40 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ปี 2522 มีการคาดการณ์ว่าปริมาณน้ำฝนจะต่ำกว่าค่าปกติ 3-5 เปอร์เซ็นต์ ในพื้นที่แล้งซ้ำซาก ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ตอนบน

แม้ว่าในปีนี้สถานการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติจะเพิ่มสูงและรุนแรงมากขึ้น ไทยจำเป็นที่จะต้องลงมือแก้ปัญหาอย่างจริงจังและเด็ดขาด ร่วมไปกับการจัดการกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 แน่นอนว่าเมื่อไม่นานมานี้เราก็ได้ทราบนโยบายการแก้ปัญหาเรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมและภาวะโลกร้อนระหว่างรัฐบาล ภาคเอกชนและสหประชาชาติกันไปบ้างแล้ว อ่านเพิ่มเติมได้ที่ สรุปการประชุม GCNT Forum 2021 มุ่งเป้าลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ในปี 2065

ประเทศไทยเผชิญกับปัญหาสิ่งแวดล้อม และ ภัยธรรมชาติ ในทุกๆ ปี ถ้าย้อนกลับดูคำพูดของดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ที่ร้องขอให้คนไทยช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรต่างๆ ไว้ เมื่อเกิดภัยพิบัติที่ยากต่อการควบคุม สะท้อนให้เห็นว่า ยังไม่สายเกินไปที่จะอนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ ก่อนที่จะถูกธรรมชาติย้อนกลับมาทำลายมวลมนุษย์ เหมือนเช่นภัยพิบัติหลายต่อหลายครั้ง

ที่มาข้อมูล Greenery สถานบันวิจัยวิทยาการสุขภาพ มูลนิธิชัยพัฒนา และ BBC THAI

related