การที่รัฐจะขยายเพดานหนี้สาธารณะ 70% ทำให้ประชาชนกำลังจับตาอย่างใกล้ชิดว่าจะเป็นการเพิ่มหนี้ให้ประเทศหรือไม่ ? วันนี้จะพาไปฟังความคิดเห็น 3 มุมมอง เรื่องขยายเพดานหนี้สาธารณะ 70% แต่ละฝ่ายว่าดีหรือไม่ดียังไง หลังจากนี้
ขยายเพดานหนี้สาธารณะ70% จำเป็นแค่ไหน ?
เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ได้รับความสนใจจากประชาชนอย่างมาก สำหรับการที่รัฐจะขยายเพดานหนี้สาธารณะ70% จากเดิมอยู่ที่60 % ทำให้คนหลายกลุ่มมีความคิดเห็น มุมมองต่างกันออกไป บางกลุ่มก็เห็นด้วยว่าขยายออกไปก็ดีเพื่อความคล่องตัวในการกู้เงินมาบริหารประเทศในยามที่บ้านเมืองกำลังวิกฤตโควิด-19 บางส่วนก็กลัวจะไปกู้หนี้ยืมสินมาเยอะเกินไป สุดท้ายมารีดภาษีกับประชาชนในรูปแบบต่างๆ
ชงขยายเพดานหนี้สาธารณะ70%
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
• นายกฯ แจงขยายเพดานหนี้เพื่อเพิ่มพื้นที่การคลังให้รัฐ ไว้ใช้จ่ายยามจำเป็น
• เกณฑ์ใหม่ทวงหนี้สินเชื่อทะเบียนรถ มีข้อดี ข้อเสีย กับลูกหนี้อย่างไร ?
• ทางออกแก้หนี้ช่วงโควิด-19 หากธุรกิจไปไม่รอด ต้องพึ่งหมอหนี้เพื่อประชาชน
เปิด 3 มุมมอง 3 กลุ่มว่าคิดเห็นอย่างไร ?
โดย #สปริงนิวส์ ได้รวบรวม 3 มุมจากคน 3 กลุ่ม ว่าคิดเห็นอย่างไร กับเรื่องการขยายเพดานหนี้สาธารณะ70% ดี หรือไม่ดียังไง หลังจากนี้ไป
มนุษย์เงินเดือนมองหากไปกู้มาเยอะ จะมารีดภาษีหารายได้ทีหลัง
-กลัวรัฐกู้เงินมามากเกิน แล้วหาเงินด้วยการขึ้นภาษี
มุมมองฝั่งรัฐ แบงก์ชาติออกโรงชี้แจงถึงความจำเป็น
-เพิ่มความคล่องตัวการดำเนินมาตรการให้รัฐ ดำเนินนโยบายการคลังระยะปานกลาง
-คลังยังจำเป็นช่วยเสริมรายได้ให้ประชาชนที่ลดลง
-เร่งฟื้นเศรษฐกิจให้กลับมาโดยเร็ว
-ปัจจุบันหนี้สาธารณะไทยอยู่ที่ 55.6% ประเทศพัฒนาแล้วอยู่ที่ 120%
โพลชี้ไม่กระทบเสถียรภาพการคลัง แต่ในอนาคตต้องหารายได้เพิ่ม
-ไม่กระทบเสถียรภาพทางการคลัง
-ระยะยาวต้องหารายได้เพิ่ม
ทั้งนี้จากประเด็นเบื้องต้น สามารถอธิบายแยกได้รายประเด็น 3 มุมมอง ดังนี้
1.จากการที่ #สปริงนิวส์ ได้สัมภาษณ์ สอบถามความเห็นมนุษย์เงินเดือนในหลากหลายอาชีพ ต่างให้ความเห็นคล้ายๆกันว่าการขยายเพดานหนี้สาธารณะ70% มีความกังวลเรื่องว่าถ้าหากเพดานสูงขึ้น แล้วมีการไปกู้เงินมาในปริมาณที่มาก แต่สุดท้ายก็ต้องหาเงินไปใช้หนี้ด้วยการจัดเก็บภาษีต่างๆในอัตราที่สูงขึ้น และจะกระทบประชาชน
2. ส่วนทางฝั่งของรัฐ กระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือแบงก์ชาติ ก็ได้ออกมาชี้แจงว่าการขยายเพดานหนี้สาธารณะ70% เพื่อเป็นการเพิ่มพื้นที่ทางการคลังให้กับรัฐบาล และไม่เป็นอุปสรรคหากรัฐบาลมีความจำเป็นต้องกู้เงินเพื่อดำเนินนโยบายการคลังในระยะปานกลาง ซึ่งยังคงมีความสามารถในการชำระหนี้อยู่ในเกณฑ์ดี
โดยทั้งหมดการทบทวนกรอบสัดส่วนการบริหารหนี้สาธารณะในครั้งนี้เป็นไปตามความในมาตรา 50 แห่ง พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ที่กำหนดให้มีการทบทวนสัดส่วนต่างๆอย่างน้อยทุก 3 ปี
3. ทางด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่าการขยายเพดานหนี้สาธารณะ70% ต่อ GDP ไม่กระทบเสถียรภาพทางการคลังในระยะสั้น แต่ในระยะยาวจะต้องหารายได้เพิ่ม