svasdssvasds

DIPROM ร่วมกับ 2 เอกชน หนุนเงินทุน ปั้นผู้ประกอบการสตาร์ทอัพสาย Deep Tech

DIPROM ร่วมกับ 2 เอกชน หนุนเงินทุน ปั้นผู้ประกอบการสตาร์ทอัพสาย Deep Tech

ไปทำความรู้จัก Angel Fund และ Startup Connect โครงการภายใต้ DIPROM หรือ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการหรือสตาร์ทอัพไทย ได้ความรู้ด้านการตลาด คำแนะนำ ตลอดจนเงินทุนสนับสนุนเพื่อไปบุกตลาดโลก

Angel Fund และ Startup Connect เป็นโครงการภายใต้การสนับสนุนของกระทรวงอุตสาหกรรม โดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ที่เปิดให้ผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ เข้าไปประชันแนวคิดและผลงาน เพื่อขอรับการสนับสนุน "แหล่งเงินทุนสำหรับผู้ประกอบการและธุรกิจใหม่" โดยโจทย์ที่ได้รับความสนใจนั้นอยู่ในสาย Deep Technology หรือ เทคโนโลยีเชิงลึก ซึ่ง SPRiNG เชื่อว่า มีคนอีกมากที่ยังไม่รู้และเข้าไม่ถึงโอกาสนี้

ล่าสุด DIPROM ออกมาเผยรายชื่อทีมที่ได้รับประกาศนียบัตรและเงินทุนจากความร่วมมือ-ร่วมลงทุนของ 2 องค์กรเอกชนรายใหญ่ นั่นคือ

  • บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
    ให้การสนับสนุนเงินทุนแก่ทีมที่ได้รับคัดเลือกรวม 3,000,000 บาท 
  • บริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
    ให้การสนับสนุนเงินทุนแก่ทีมที่ได้รับคัดเลือกรวม 580,000 บาท

โครงการ Angel Fund 2021 มีคนสมัครไม่น้อย

ผู้สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการ Angel Fund ในปีนี้มีมากกว่า 370 ทีม หลังจากการประชันแนวคิดทางธุรกิจ Deep Tech แล้ว ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้ข้อมูลว่า มีผู้ผ่านการคัดเลือกจำนวน 50 ทีม

โครงการ Startup Connect ชวนมาเชื่อมคอนเน็กชัน

มาที่โครงการ Startup Connect มีผู้ประกอบการที่มีศักยภาพผ่านการคัดเลือกจำนวน 25 กิจการ จากที่สมัครเข้ามาทั้งหมด 50 กิจการ 

chillpay

นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม 2
ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

"การสร้างระบบนิเวศผ่าน SandBOX หรือ พื้นที่บ่มเพาะธุรกิจ โดยใช้ทั้งหน่วยงานภายในกระทรวงอุตสาหกรรม ภาคอุตสาหกรรม และธุรกิจเครือข่ายเปิดที่เปิดพื้นที่ให้กับสตาร์ทอัพได้มีโอกาสทดลองใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการ สร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้ทั้งระบบออนไลน์ ออฟไลน์ พร้อมสำรวจปัญหาของภาคอุตสาหกรรม เพื่อเฟ้นหาโซลูชันจากสตาร์ทอัพเข้าไปช่วยยกระดับการดำเนินงานให้ดีขึ้น รวมถึงส่งเสริมการพัฒนา Deep Tech ในหลากหลายด้าน"

ณัฐพลกล่าวถึงรายละเอียดที่ DIPROM จะช่วยส่งเสริมให้เกิดสตาร์ทอัพสาย Deep Tech ที่มีศักยภาพมากขึ้น ซึ่งล้วนมีความสำคัญต่อการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคม ทั้งยังตรงกับความต้องการของตลาดโลก อาทิ 

  • การแพทย์ครบวงจร
  • การผลิตแห่งอนาคต
  • การเกษตร
  • อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
  • หุ่นยนต์

"อีกทั้งยังลอกเลียนแบบได้ยากและคู่แข่งน้อย เนื่องจากขั้นตอนค้นคว้า-วิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ซับซ้อน และส่วนใหญ่มีสิทธิบัตรคุ้มครอง นอกจากนี้ ยังจะปลดล็อกข้อจำกัดการดำเนินธุรกิจสตาร์ทอัพ ไม่ว่าจะเป็นการให้ความรู้ด้านแผนธุรกิจเพื่อให้สามารถระดมทุนจากภาคเอกชนได้ง่ายขึ้น การส่งเสริมเข้าระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งตลาดสำคัญที่จะทำให้สตาร์ทอัพมีรายได้ต่อเนื่องไปสู่การร่วมพัฒนาระบบบริการของภาครัฐให้มีความทันสมัยตามแนวคิดรัฐบาลดิจิทัลได้มากขึ้น”

ในฐานะเอกชนที่เข้ามาสนับสนุนสตาร์ทอัพไทย JACKIE CHANG บริษัท เดลต้า อิเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงเทคโนโลยีที่เดลต้าให้ความสำคัญและโอกาสของสตาร์ทอัพว่า 

"บริษัทเดลต้าให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรม จึงสนับสนุนกิจกรรมของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมากว่า 6 ปี เพื่อให้สตาร์ทอัพที่เป็นคนรุ่นใหม่ได้มีโอกาสนำเอาแนวคิดหรือสิ่งประดิษฐ์ไปต่อยอดให้เป็นผลงานที่สำคัญและสร้างธุรกิจในอนาคต"

"วันนี้ 50% ของธุรกิจเราใช้หุ่นยนต์ เมื่อเราใช้ BIG Data กับทำ Data Analytics จึงสำคัญมาก และเรายินดีสนับสนุนสตาร์ทอัพที่สนใจด้านหุ่นยนต์ AI, Big Data อย่างยิ่ง"

JACKIE CHANG เดลต้า อิเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) JACKIE CHANG หรือ จาง ช่าย ซิง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เดลต้า อิเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) 

JACKIE ให้ความเห็นเพิ่มเติมจากการร่วมงานและได้สังเกตสตาร์ทอัพไทย

"ทุกสตาร์ทอัพพยายามสร้างความแตกต่างจากธุรกิจอื่น ขณะเดียวกัน คุณก็ต้องสร้างอิมแพ็คต่อสังคมด้วย ทางเดลต้าก็จะสนับสนุนอุตสาหกรรมระดับ Small & Medium ต่อไป"

บริษัทสตาร์ทอัพที่เดลต้าสนับสนุน

  • Obodroid : เทคโนโลยีหุ่นยนต์รักษาความปลอดภัยสำหรับใช้ในนิคมอุตสาหกรรม
  • MUI Robotics : เทคโนโลยีสัมผัสประดิษฐ์สำหรับหุ่นยนต์ในการทดสอบกลิ่นและรสชาติของอาหาร 
  • ZEDITECH : เทคโนโลยีการบำบัดน้ำและแยกตะกอนด้วยไฟฟ้า

obodroid ทีม Obodroid

เจริญรัฐ วิไลลักษณ์ บริษัท สามารถคอร์เปอเรชัน จำกัด (มหาชน)

เจริญรัฐ วิไลลักษณ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

เอกชนอีกรายที่เข้ามามีบทบาทในระบบนิเวศสตาร์ทอัพ เจริญรัฐ วิไลลักษณ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า กลุ่มบริษัทสามารถให้การสนับสนุนนักพัฒนาเทคโนโลยีและซอฟต์แวร์ของคนไทยมาตลอด 17 ปี ผ่านโครงการ SAMART Innovation Awards ซึ่งเป็นโครงการที่สร้างโอกาสให้แก่นักพัฒนาด้านเทคโนโลยีของภาคเอกชนที่ยาวนานที่สุด

นวัตกรรม รองเท้า

ทีม MUTHA

ตัวอย่างสตาร์ทอัพที่ได้รับการสนับสนุน

  • MUTHA : ผลิตภัณฑ์เท้าเทียมนวัตกรรมจากคาร์บอนไฟเบอร์ที่จะช่วยให้ผู้พิการสามารถเดินได้สะดวกยิ่งขึ้น
  • NEF : เทคโนโลยีระบบเฝ้าระวังผู้ป่วยและผู้สูงอายุบนเตียง
  • IQMED Innovation : เทคโนโลยีกล่องเคลื่อนย้ายไต

ติดตามความเคลื่อนไหวด้านการสนับสนุนผู้ประกอบการได้ที่ www.dip.go.th และ www.diprom.go.th หรือ www.facebook.com/dipromindustry

related