คณะนักวิจัยจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของจีน เปิดเผยว่า โควิด-19 เสี่ยงแพร่ผ่าน "ละอองลอย" มักเกิดขึ้นในพื้นที่จำกัด เช่นตึกที่อยู่ใกล้ชิดกัน และมีพื้นที่ค่อนข้างปิด
1 ก.ย. 64 xinhuathai เปิดเผยว่า คณะนักวิจัยจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของจีน (CDC) และเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ ท้องถิ่นในมณฑลกว่างตง(กวางตุ้ง) ทางตอนใต้ของจีน ร่วมดำเนินการตรวจสอบโดยอ้างอิงกรณีการติดเชื้อในท้องถิ่นที่มีรายงานเมื่อเดือนพฤษภาคมในกว่างตง พบผู้ป่วยยืนยันรายแรก (index case) และผู้สัมผัสใกล้ชิด (ซึ่งต่อมาได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยจากต่างประเทศ) มีประวัติใช้เวลาอยู่ที่อาคารสองหลังของโรงพยาบาลกว่างโจวในเวลาเดียวกัน นักวิทยาศาสตร์ทราบกันดีอยู่แล้วว่าโรคโควิด-19 สามารถแพร่ผ่านละอองลอย ทว่าการแพร่กระจายมักเกิดขึ้นในพื้นที่จำกัด สำหรับในกว่างตงอาคารที่ตั้งอยู่ชิดกันมากถูกเรียกขานว่า "อาคารจับมือ" หรือ "อาคารจูบ"
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โดยกรณีของโรงพยาบาลกว่างโจวนั้นอาคารทั้งสองหลังมีระยะห่างกันเพียง 50 เซนติเมตร และใช้เพดานภายนอกร่วมกัน ทำให้เกิดเป็นพื้นที่ที่ค่อนข้างปิด การจัดลำดับพันธุกรรมของเชื้อไวรัสฯ บ่งชี้ว่าเชื้อไวร้สฯ ในผู้ป่วยทั้งสองกรณีมีต้นกำเนิดเดียวกัน โดยคณะผู้ตรจสอบทางระบาดวิทยาคาดว่าอาจเป็นการแพร่ผ่านละอองลอยในอากาศ
คณะนักวิจัยจัดการจำลองภาคสนามเพื่อพิสูจน์ทฤษฎีข้างต้น โดยใช้ไมโครสเฟียร์เรื่องแสง อนุภาคทรงกลมที่เปล่งสีสดใสเมื่อถูกส่องด้วยแสงยูวีและแสดงกรกระจายตัวของอนุภาคละอองลอยในอากาศ ซึ่งมีลักษณะอากาศพลศาสตร์คล้ายคลึงกับเชื้อไวสฯ ในพื้นที่ 6 จุดที่เชื่อมโยงกับผู้ป่วยสองกรณีในอาคารสองหลัง รายงานฉบับดังกล่าว ซึ่งเผยแพในแพลตฟอร์มข้อมูลประจำสัปดาห์ของศูนย์ฯ ระบุว่ามีเส้นทางส่งผ่านละอองลอยปรากฏชัดเจนจากตำแหน่งของผู้สัมผัสใกล้ชิดและผู้ป่วยยืนยันรายแรก ส่วนใหญ่มีปัจจัยจากกระแสลมจากการเปิด-ปิดเครื่องปรับอากาศ รวมถึงการเปิด-ปิดประตูและหน้าต่าง พร้อมตั้งข้อสังเกตว่าตราบใดที่เครื่องปรับอากาศเปิดใช้งานอยู่ อนุภาคชนิดนี้จะไหลเวียนอย่างช้าๆ ระหว่างอาคารสองหลัง แม้ประตูและหน้าต่างจะปิดอยู่ก็ตาม
ทั้งนี้ การศึกษาชี้ว่าทางการควรหันมาใส่ใจความเสี่ยงการแพร่กระจายของละอองลอยในอาคารที่อยู่ใกล้ชิดกัน ขณะหอแยกโรคและพื้นที่ผู้ป่วยนอกในโรงพยาบาลควรรักษาระยะห่างที่เพียงพอ และโรงพยาบาลยังควรตรวจสอบรูปแบบการไหลเวียนของอากาศในหอแยกโรคด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก xinhuathai