มีไม่กี่ธุรกิจที่จะเติบโตแบบเงียบ ๆ ในช่วงที่โควิด-19 กำลังระบาดแบบนี้ โดยเฉพาะธุรกิจที่ตอบสนองคนอยู่บ้าน หนึ่งในนั้น คือ ธุรกิจขนส่งไทย ที่โตรับคนอยู่บ้าน CF ของออนไลน์รัว ๆ วันนี้จะพาไปส่องเรื่องราวของธุรกิจนี้ ว่าเจออะไรบ้างในสมรภูมิรบโควิด-19
ธุรกิจขนส่งสินค้าออนไลน์ โตรับคนอยู่บ้าน
มีไม่กี่ธุรกิจที่จะเติบโตในยุคที่โควิด-19 ระบาดเช่นนี้ หนึ่งในธุรกิจที่มีการเติบโตในยุคนี้ คือ ธุรกิจขนส่งสินค้าออนไลน์ (Last-mile delivery) เพราะคนกลัวติดโรคจึงจำเป็นต้องสั่งของ ซื้อของ และส่งของกันผ่านออนไลน์มากขึ้น โดยล่าสุด ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกมาคาดการณ์ว่า รายได้รวมของธุรกิจจัดส่งสินค้าออนไลน์ในปี 2564 จะอยู่ที่ประมาณ 71,800 ล้านบาท นับว่าเติบโต 19% ซึ่งน้อยกว่าปี 2563 ที่ 31.3% หรือมีรายได้ 71,800 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ปัจจัยบวกที่หนุนธุรกิจให้เติบโต คือ การเติบโตของธุรกิจ E-commerce โดยเฉพาะในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 ทำให้ผู้บริโภคกังวลในเรื่องของความปลอดภัยและงดทำกิจกรรมนอกบ้าน ส่งผลให้ผู้บริโภคต่างมีการปรับพฤติกรรมการใช้จ่ายและหันมาซื้อสินค้าบนแพลตฟอร์มออนไลน์กันมากขึ้น จึงหนุนให้ธุรกิจขนส่งสินค้าออนไลน์มีแนวโน้มเติบโตตามด้วย
พฤติกรรมคนช่วงโควิด นิยมสั่งของออนไลน์
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
• เตือน! "ขายของออนไลน์" ไม่ระบุราคาเจอปรับ 1 หมื่น
• สคบ. คุมเข้ม! เตรียมตั้งศูนย์เฝ้าระวัง 'ขายของออนไลน์' หลอกผู้บริโภค
• ดีเอสไอ ประสาน สตช. และ ปปง. เตรียมล่ามือดีลวงขายของออนไลน์
ธุรกิจขนส่งออนไลน์เจออะไรมาบ้าง ?
วันนี้ #สปริงนิวส์ ได้รวบเรื่องราวของธุรกิจขนส่งออนไลน์ไทย ว่าที่ผ่านมาเจออะไรมาบ้าง มีเหตุการณ์อะไรบ้างที่เกิดขึ้นระหว่างทางบ้าง รวมถึงแนวโน้มในปี 2564 จะเป็นอย่างไร ตามรายละเอียดดังนี้
-ปี2564 มีโอกาสขยายตัว 19%
-ต้นทุนเพิ่มขึ้นจากมาตรการคุมโควิด-19
-จ้างพนักงานเพิ่มขึ้น
-คำสั่งซื้อออนไลน์เพิ่มขึ้น
-เส้นทางคมนาคมลำบากขึ้น ขนส่งล่าช้า
-งดส่งอาหารชั่วคราว
-พนักงานขนส่งติดโควิด-19
อย่างไรก็ตามศูนย์วิจัยกสิกรไทย ยังมองว่า การเติบโตของรายได้ธุรกิจขนส่งสินค้าออนไลน์อาจไม่ได้สะท้อนถึงผลประกอบการสุทธิที่ดีขึ้นของผู้ประกอบการได้ทุกราย เพราะโควิด-19 ทำให้ต้นทุนในการบริหารด้านสุขอนามัย และความปลอดภัยจากโรค การกระจายศูนย์กระจายสินค้าไปยังพื้นที่ศักยภาพใหม่ๆเพื่อกระจายความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ทั้งหมดนี้ก็จะทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น