โซเชียลเดือด! #ริมน้ำ อาจารย์แพทย์โพสต์ขอเสียสละ อาสารับวัคซีนเข็มกระตุ้นเป็นวัคซีน ไฟเซอร์ อ้างว่าเป็นอาสาสมัครโครงการงานวิจัย ด้านชาวเน็ตทัวร์ลง เสียสละแล้วหรือ? ตั้งคำถามนำวัคซีนไฟเซอร์จากไหนมาทดลอง งานนี้ดราม่าร้อนแรงทำเอาสนั่นทั้งโซเชียล
15 ก.ค.64 เกิดเป็นดราม่าร้อนแรงกับแฮชแท็ก #ริมน้ำ เริ่มต้นจากโพสต์ดราม่าของอาจารย์แพทย์แห่งหนึ่งของสถานบันทางการแพทย์ที่อยู่ตั้งอยู่บริเวณริมน้ำ ได้โพสต์เล่าผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า ทางคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ มีมติให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เข็มกระตุ้น (Booster dose) ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าที่ได้รับวัคซีน Sinovac 2 เข็ม ด้วย Astra สามารถลงชื่อฉีดได้เลย หรือจะฉีดวัคซีน mRNA ของ Pfizer ซึ่งเป็นตัวที่มีข้อมูลจากประเทศอังกฤษและอิสราเอลว่ามีประสิทธิผลดีต่อสายพันธุ์เดลต้า
ซึ่งสถาบันของเธอทำเรื่องวิจัยเกี่ยวกับการกระตุ้นด้วยไฟเซอร์และแอสต้ราเซนเนก้า อันไหนให้ผลดีกว่ากันและเธอเองก็เป็นหนึ่งในอาสาสมัครของโครงการนี้ เธอจึงต้องว่าจะอยู่กลุ่มฉีดไหน ถ้าฉีดแอสตร้าเซนเนก้าก็พร้อมรับได้เลยแต่ถ้าฉีดไฟเซอร์ก็ต้องรับกับความเสี่ยงเพราะยังไม่เคยมีการฉีดไฟเซอร์กระตุ้นซิโนแวคมาก่อน และไม่รู้วัคซีนจะมาเมื่อไหร่
แต่ในที่สุดเธอก็เลือกตัดสินใจ รับความเสี่ยงและเลือกที่จะฉีดวัคซีน ไฟเซอร์และร่วมเป็นอาสาสมัครทดลองฉีด (ไฟเซอร์เต็มโดส 1 เข็ม) พร้อมภาวนาขอให้ไฟเซอร์เข้ามาไวๆให้เธอแคล้วคลาดจนกว่าจะถึงวันเข้าร่วมโครงการวิจัยหรือได้ฉีดวัคซีนนั้นเอง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โซเชียลเดือด! แห่ติด #saveหมอบุญ หลังถูกแจ้งเอาผิด ปมวัคซีนโมเดอร์น่า
"หมอบุญ" เตรียมเซ็นสัญญานำเข้าไฟเซอร์ 20 ล้านโดส คาดได้ล็อตแรกในเดือนนี้
เรื่องเหมือนจะไม่มีอะไรเกิดขึ้น มีคนเข้าไปชื่นชมและขอบคุณในความเสียสละของอาจารย์แพทย์ท่านนี้ แต่ในขณะเดียวกันก็มีทัวรลงด้วยเช่นกัน เพราะหลายคนมองว่านี้ไม่ใช่การเสียสละ เพราะคนอยากฉีดไฟเซอร์กันทั้งประเทศ แต่กลับอ้างเอางานวิจัยมาให้อาจารย์แพทย์ฉีดทั้งที่ควรจะเป็นบุคลากรการแพทย์ด่านหน้าจริงๆ และคนมองว่าโครงงานวิจัยที่ฉีดให้กับโครงการของอาจารย์แพทย์นั้นดูเหมือนไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อะไรและควรฉีดให้กับบุคลกรทางการแพทย์ด่านหน้าจริงๆ เพราะคนทั้งโลกรู้อยู่แล้วว่า mRNA ย่อมดีว่าไวรัสเวกเตอร์ แล้วจะทดลองทำไม ด้านอาจารย์แพทย์ก็เข้ามาชี้แจงว่า วัคซีนmRNAนั้นเข้ามาฉีดให้กับบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าเลย ไม่เกี่ยวกับงานวิจัย แต่ที่วิจัยเพราะจะนำข้อมูลมาหาผลรับของการฉีดเข็มกระตุ้นจากวัคซีน mRNA
(เมนท์ที่สอบถาม)
(เมนท์ตอบกลับของอาจารย์หมอ)
(เมนท์ตอบกลับของอาจารย์หมอ + คอมเมนท์เสริมของท่านอื่น)
คำถามมากมายจึงถูกตั้งขึ้นในโลกออนไลน์โดยเฉพาะในทวิตเตอร์ที่ถึงขั้น #ริมน้ำ ขึ้นติดในเทรนทวิตเตอร์ มียอดทวิตสูงถึง 2แสนกว่าทวิต และได้มีการวิพากษ์ วิจารณ์กันอย่างดุเดือด ว่า โครงการนี้นำวัคซีนจากไหนมาทดลอง นำเข้าเองหรือแบ่งมาจากที่สหรัฐบริจาคให้ไทย 1.5 ล้านโดส แล้วหากใช้วัคซีนบริจาคจะผิดมติของ ศบค.หรือไม่ เพราะคบค.มีมติให้นำวัคซีนที่ได้มาฉีดให้กับบุคลากรด่านหน้าไม่ได้ให้นำมาทดลอง โครงการนี้รับสมัครอาสาอย่างไร ทำไมไม่มีใครรู้มีคนออกมาเปิดเผยว่ามีการประกาศออกมาเป็นกลุ่มเล็กๆเท่านั้นแต่พอไปสมัครปรากฎว่ากลุ่มไฟเซอร์เต็มแล้ว และหลายคนยังตั้งข้อสงสัยว่า ในขณะที่กลุ่มอาสาสมัครไฟเซอร์เป็นอาจารย์แต่อาสากลุ่มแอสตร้าเซเนก้ากลับเป็นบุคลากรฉุกเฉินที่เลือกไม่ได้
(แอคที่อ้างว่าในกลุ่มไลน์มีการให้เครือในสังกัดของริมน้ำ ฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า เลยเป็นที่ตั้งคำถามว่าแล้วทำไมอาจารย์แพทย์ถึงได้เป็นอาสาในขณะที่บุคลากรการแพทย์ด้านหน้าที่มีความเสี่ยงสูงไม่ได้ทดลองฉีดไฟเซอร์)
ในขณะเดียวกันก็ได้มีคนออกมาระบุว่าโครงการวิจัยนี้ชื่อ "การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันและความปลอดภัยหลังได้รับวัคซีน COVID-19 ในบุคลากรทางการแพทย์ภายในโรงพยาบาล" ซึ่งทำกันมาต่อเนื่อง คนที่ได้รับเข็ม 3 เป็นกลุ่มบุคลากรที่เข้าร่วมตั้งแต่แรกประมาณ 300 กว่าคน อาจารย์แพทย์เจ้าของโพสต์ทำงานทุ่มเทมาตั้งแต่การระบาดระลอกแรกจนถึงระลอก 3 และอาจารย์ไม่ใช่ฝ่ายรัฐบาล ไม่ควรถูกเข้าใจผิดจากสังคมและในประกาศรับอาสาสมัครพบว่ามีกลุ่มทดลองทั้งหมด 4 กลุ่ม คือ
กลุ่ม 1 ฉีดซิโนฟาร์มเป็นเข็มสาม
กลุ่ม 2 ฉีดแอสตร้าเซนเนก้า
กลุ่ม 3 ฉีดไฟเซอร์เต็มโดส
กลุ่ม 4 ฉีดไฟเซอร์ครึ่งโดส
ทั้งนี้ ชาวเน็ตได้ตั้งคำถามกับโครงการวิจัยนี้อีกมากมายและวิพากษ์ วิจารณ์กันอย่างร้อนแรง รวมไปถึงบุคลกรด่านหน้าท่านอื่นๆที่ออกมาแสดงความคิดเห็นและพร้อมทั้งอยากให้ทางสถาบันได้มีการออกมาแถลงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องทั้งหมด และออกมาชี้แจงข้อมูลรายละเอียดต่างๆของงานโครงการวิจัยด้วยเช่นเดียวกัน
(ผศ.นพ. นิติพงศ์ เพิ่มพลัง แพทย์สาขาโรคติดเชื้อในผู้ป่วยเปลี่ยนอวัยวะและผู้ป่วยโรคมะเร็ง ที่โรงพยาบาล Johns Hopkins ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ออกมาสอบถามถึงประเด็นดังกล่าวที่เกิดขึ้นและอยากให้ทางสถาบันออกมาแถลงประเด็นดังกล่าว)
(นายแพทย์ดิษกุล ประสิทธิ์เรืองสุข หรือหมอตั้ม MasterChef Thailand ออกมาสรุปและแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นดังกล่าว)