ทนายรณณรงค์ แก้วเพ็ชร์ แนะวิธีการช่วยเหลือ #เพื่อผู้ประสบภัยกิ่งแก้ว จากเหตุ #โรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้ วานนี้ ว่าจะได้รับการช่วยเหลือใดได้บ้าง ทั้งทางภาครัฐและภาคเอกชน
สปริงนิวส์ ได้สอบถามกับทนายรณณรงค์ แก้วเพ็ชร์ ถึงกรณี #โรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้ แล้วอย่างนี้จะสามารถช่วยเหลือ #เพื่อผู้ประสบภัยกิ่งแก้ว อย่างไรได้บ้าง
ได้คำตอบว่า ในการดูแลรับผิดชอบต้องแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกมาจากของทางโรงงานหมิงตี้ เคมีคอล เอง และส่วนที่สองจากทางภาครัฐ
โดยปกติแล้วทางโรงงานจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบทุกบาททุกสตางค์ โดยหักจากเงินประกันที่ทางโรงงานได้ทำไว้ประมาณ 400 ล้านบาท แต่เป็นส่วนของบุคคลภายนอก 20 ล้านบาท ซึ่งตรงนี้เกินเงินประกันอยู่แล้ว ทางโรงงานจะต้องรับผิดชอบเพิ่มเติมในส่วนที่เกินนี้เอง
ทางด้านภาครัฐ ขึ้นอยู่กับว่าภาครัฐมีส่วนผิดด้วยหรือไม่ หากมีก็ต้องร่วมรับผิดชอบและบรรเทาเยียวยาด้วย แต่หากไม่ผิดก็ไม่ต้องชดเชยค่าเสียหาย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
เทียบเหตุการณ์ใหญ่ VS โรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้ กับทุนประกันอัคคีภัย ที่ทำไว้
สังเกตลักษณะ สารสไตรีน เคมีอันตรายจากเหตุไฟไหม้ ถ้าอยู่ใกล้ต้องทำยังไง?
ทั้งนี้ บริษัท หมิงตี้ เคมีคอล จำกัด ได้มาตั้งโรงงานอยู่เลขที่ 87 ซ.กิ่งแก้ว21 ม.15 ต.บางพลีใหญ่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ ตั้งแต่ 20 มิ.ย. พ.ศ.2532 หรือกว่า 32 ปีมาแล้ว ซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องกับ พรบ.ผังเมือง และ พรบ.โรงงาน แต่ทางโรงงานได้มาสร้างและดำเนินการอยู่ก่อน ที่จะมีการแก้ไข พรบ.ผังเมือง ทำให้หน่วยงานไม่สามารถควบคุมกำกับดูแลเรื่องสถานที่ได้
ทางชุมชน และสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ ตามมาที่หลัง จากการมาถึงของสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ ตรงจุดนี้โรงงานจึงไม่น่าจะผิดกฎหมายในการก่อตั้งโรงงานใกล้แหล่งชุมชน แต่ชุมชนที่มาตั้งที่หลังอาจจะผิด
จุดที่น่าสนใจคือเรื่องของปริมาณสารเคมีที่ทางโรงงานถือครองไว้อยู่ ซึ่งมีกว่า 1,700 ตัน แบ่งเป็น สารเพนเทน 60-70 ตัน สารสไตรีนโมโนเมอร์ 1,600 ตัน และน้ำอีก 300 ตัน อ้างอิงจาก ซูเชิงชัง ผู้จัดการโรงงานเอง
ตรงนี้ทางทนายรณณรงค์ชี้ว่าต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าอยู่ในปริมาณที่ กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงอุตสาหกรรม กำหนดไว้หรือไม่ แต่โดยความคิดเห็นส่วนตัว ทนายรณณรงค์ไม่เชื่อว่าโรงงานแจ้งยอดกับกรมควบคุมมลพิษตามจริง และทางภาครัฐได้เข้ามาตรวจสอบโรงงานให้ได้มาตรฐานอยู่เป็นประจำหรือไม่ เพราะมีหน้าที่กำกับดูแลปริมาณสารเคมี ตรงนี้ทางภาครัฐสามารถทำได้ แต่จะทำหรือไม่นั้น ตนไม่รู้ หากไม่มีการตรวจสอบเป็นประจำจากภาครัฐ ตรงนี้ภาครัฐก็ต้องรับผิดชอบ
สุดท้ายคือเรื่องของ พรบ.บรรเทาสาธารณภัย ที่อยู่ในการกำกับดูแลโดยตรงของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งโรงงานหมิงตี้ตั้งอยู่ในพื้นที่ของจังหวัดสมุทรปราการ โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดและส่วนตำบลมีหน้าที่ต้องเข้ามาดูแลให้การช่วยเหลือทันท่วงทีหรือไม่ หากเข้ามาช่วยเหลือช้า เช่นรถดับเพลิงมาถึงช้า ก็เคยฟ้องร้องชนะมาแล้ว
และในกรณีนี้ที่เพลิงไหม้เกิดจากสารเคมี จำเป็นที่จะต้องใช้โฟมในการดับ แม้จะเกิดเหตุทำนองนี้ขึ้นไม่บ่อยครั้ง แต่ทางภาครัฐก็ต้องเตรียมการไว้ให้พร้อม มิเช่นนั้นจะถือว่าเป็นการประมาทเลินเล่อ ไร้การเตรียมตัว ตรงจุดนี้สามารถฟ้องร้องได้อย่างแน่นอน
อายุความในละเมิดในกฎ 1 ปี ตั้งแต่วันที่รู้ถึงการละเมิด ซึ่งในที่นี้หมายถึงวันที่โรงงานเกิดเหตุระเบิดและทำให้มีเพลิงไหม้ แต่ไม่ใช่ให้พี่น้องประชาชนรีบไปฟ้องร้องภายในวันพรุ่งนี้หรือมะรืนนี้ รอให้สถานการณ์สงบเสียก่อนค่อยไปฟ้อง