ที่ปรึกษา ศบค. เผย เตรียมฉีด บูทเตอร์โดส (เข็ม3) นำร่องให้กับบุคลากรทางการแพทย์ด่านแรก 7แสนคน โดยคาดว่าจะเป็นวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า หรือ วัคซีนไฟเซอร์ วอนประชาชนอย่างคิดว่า วัคซีนซิโนแวค ประสิทธิภาพด้อย
6 ก.ค.64 ที่สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข ศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์อุดม คชินทร ที่ปรึกษาศูนย์บริหาร สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค. เปิดเผยว่า เมื่อวานนี้(5 ก.ค.) ทาง คณะที่ปรึกษา ศบค.ที่ถูกตั้งขึ้น โดยมี ศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ ปิยะสกล สกลสัตยาทร เป็นประธาน ได้มีการประชุมพิจารณาเรื่องพิจารณาวัคซีน บูทเตอร์โดสต่อเชื้อกลายพันธุ์ โดยในที่ประชุมมองว่าการกลายพันธุ์ของเชื้อโควิด -19 ทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีนลดลงชัดเจน จึงเป็นเหตุผลสำคัญ ว่าการกลายพันธุ์ส่งผลต่อภูมิหลังรับวัคซีน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อิทธพร โพสต์หนุนให้วัคซีนไฟเซอร์เข็ม 3 กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้า
เผยผลการทดลอง วัคซีนโมเดอร์น่าเข็ม 3 ต้านเชื้อโควิดกลายพันธุ์ได้ดีขึ้น
นพ.เขตต์ ศรีประทักษ์ เผยประสิทธิภาพวัคซีน นาทีนี้ต้องเริ่มหา วัคซีนเข็ม 3
นพ.อุดม ย้ำว่า วัคซีนที่ได้ฉีดให้กับประชาชนนั้นไม่ใช่วัคซีนที่ไม่ดี แต่เชื้อมีการกลายพันธุ์ตลอดเวลาจึงจำเป็นที่จะต้องหาวัคซีนรุ่นการผลิตใหม่ ที่จะสามารถรองรับเชื้อกลายพันธุ์ได้ โดยเร็วสุดอาจได้วัคซีนในปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า โดยระหว่างที่รอวัคซีนที่จะมีประสิทธิภาพต่อเชื้อกลายพันธุ์ ทำให้ต้องหาแนวทาง บูสเตอร์โดส หรือ ฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิ ข้อมูลจากประเทศอังกฤษ วัคซีนที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน พอเจอสายพันธุ์เดลต้าทำให้ภูมิคุ้มกันที่จะสร้างขึ้นลดลงอย่างวัคซีนไฟเซอร์ เมื่อเจอสายพันธุ์เดลต้าภูมิก็จะลดลงต่อสายพันธุ์เดลต้า ลดลง 7.5 เท่า ในสายพันธุ์เดลต้า 2.5 เท่า ส่วน แอสตร้าเซนเนก้าที่มีผลต่อสายพันธุ์เบต้า พบ ลดลง 9 เท่า เดลต้า การสร้างภูมิคุ้มกันลดลง 4.3 เท่า ส่วน ซิโนแวค เป็นข้อมูลของประเทศไทย ที่สวทช. ร่วมกับศูนย์วิจัยจุฬาฯ เมื่อรับซิโนแวค 2 เข็ม หากเจอสายพันธุ์เดลตาภูมิจะลดลง 4.9 เท่า
ศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ อุดม คชินทร ยอมรับว่า วัคซีนที่กระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีที่สุดตอนนี้ คือ วัคซีนชนิด mRNA ซึ่งจะมีภูมิต้านทานขึ้นระดับ1,000- 2,000 หรือสูงสุด คือหมื่น รองลงมาคือ วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า (ไวรัลเวคเตอร์) ภูมิจะขึ้นประมาณหลักพันต้นๆ ส่วนซิโนแวคภูมิขึ้นประมาณหลักร้อยปลาย โดยวัคซีน ชนิด mRNAดีที่สุด ส่วนการป้องกันโรค วัคซีนไฟเซอร์สามารถป้องกันสายพันธุ์เดลตา ลดลงจาก 93% เหลือ 88 เปอร์เซ็นต์ แอสตร้าเซนาก้าป้องกันสายพันธุ์เดลต้า จาก 66 % เหลือ 60 % / แต่ทั้งนี้ป้องกันการอยู่โรงพยาบาล ป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรงได้ โดยวัคซีนไฟเซอร์ป้องกันได้ถึง 96% ส่วนแอสตร้าฯได้ 92 % ขณะที่ ซิโนแวค พบว่า อาจป้องกันสายพันธุ์เดลตาได้ไม่ดี แต่หากฉีดครบ 2 เข็ม จะป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรง เข้าโรงพยาบาล หรือป้องกันเสียชีวิตได้มากกว่า 90% โดยข้อมูลดังกล่าวมาจากหลายประเทศที่มีการใช้วัคซีนซิโนแวค สำหรับในประเทศไทยกลุ่มที่ควรจะได้รับ บูทเตอร์โดส คือ กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ ที่มีมากกว่า 7 แสนคน และกลุ่มโรคเปราะบาง และค่อยเป็นกลุ่มเสี่ยงถัดไป
สำหรับการพิจารณา ว่าจะเป็นวัคซีนชนิดไหน ในการรับ บูทเตอร์ โดสต้องดูวัคซีนที่มีอยู่ ตัวเลือกขณะนี้ คือแอสตร้าเซนเนก้า และ ไฟเซอร์ แต่ตอนนี้ยังไม่รู้ว่า วัคซีนไฟเซอร์ จะได้ช่วงเวลาไหน ซึ่งวัคซีนหลักน่าจะเป็นแอสตร้าเซนเนก้า ถ้าหากได้มา ย้ำว่า ต้องให้กลุ่มบุคคลกรทางการแพทย์ที่ฉีดวัคซีนครบ2เข็มก่อน วอนประชาชนอย่าคิดว่าวัคซีนซิโนแวค ประสิทธิภาพด้อยกว่าวัคซีนชนิดอื่นแม้ภูมิคุ้มกันจะขึ้นน้อยหลังฉีด แต่ยังมีประสิทธิภาพ ลดป่วย ลดเสียชีวิตได้มากกว่า 90% ทั้งนี้ขอประชาชนอย่าเพิ่งรีบจองวัคซีนชนิดmRNA เนื่องจากจะได้วัคซีนชนิดmRNAรุ่นเก่าอยู่ ที่ยังไม่รองรับต่อเชื้อกลายพันธุ์ ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา