อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผย ไทยยังพบการระบาดของโควิดสายพันธุ์อัลฟามากที่สุด ส่วนสายพันธุ์เดลตาปัจจุบันพบทั้งหมด 496 คน กระจายอยู่ใน 20 จังหวัดทั่วประเทศ โดยล่าสุดจับตา ในรพ. แห่งหนึ่ง ในพื้นที่กทม. หลังพบว่าจากการสุ่มตรวจคนไข้ พบ10 รายเป็นสายพันธุ์เดลตา
นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยความคืบหน้าการตรวจหาสายพันธุ์โควิด-19 ในไทยว่า อัตราการพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์อินเดีย 2 Delta เพิ่มขึ้นในหลายจังหวัด แต่ทั้งหมดยังเชื่อมโยงกับพื้นที่แรกที่พบคือจากกลุ่มคนงานที่แคมป์คนงานหลักสี่ กทม.
โดยข้อมูลจากการตรวจแยกสายพันธุ์ ในรอบการระบาดเดือน เมษายน ที่มีการสุ่มตรวจจากกลุ่มตัวอย่าง 5,500 ราย พบ 4,528 ราย เป็นสายพันธุ์อังกฤษ (แอลฟ่า)คิดเป็นร้อยละ 89.6 ส่วนสายพันธุ์อินเดีย(เดลต้า ) 2 496 ราย คิดเป็นร้อยละ 9.6 และ สายพันธุ์แอฟริกาใต้(เบต้า) 31 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.6
ยังมีการพบคลัสเตอร์ใหม่ สายพันธุ์อินเดีย(เดลตา)ในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยข้อมูลพบมีกลุ่มผู้ตืดเชื้อ แล้วกว่า 10 ราย เป็นกลุ่มคนไข้ ที่เข้ารับการรักษาตัว แต่ยังต้องรอข้อมูลการสอบสวนโรคอีกครั้งว่าจะมีมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับครัสเตอร์เดิม คือแคมป์คนงานหลักสี่ หรือไม่
นพ.ศุภกิจ ได้ คาดการณ์ ว่า ในประเทศไทยสายพันธุ์เดลต้าจะค่อยๆเพิ่มขึ้นเหมือนสายพันธุ์อัลฟา คาดการณ์อีก2-3 เดือนข้างหน้า สายพันธุ์เดลตา และสายพันธุ์อัลฟา จะมีความใกล้เคียงกัน ซึ่งต้องจับตามองและเฝ้าระวัง ว่าจะมีผลต่อเรื่องการเสียชีวิต และมีผลต่อวัคซีนมากน้อยขนาดไหน ขณะนี้สายพันธุ์เดลต้ามีความไวในการแพร่ระบาดมากกว่าสายพันธุ์อัลฟา 40 %
โดย สายพันธุ์เดลตา ในไทยขณะนี้ ถือว่า ยังทรงตัว แต่ก็ได้เฝ้าระวัง แต่หากพบว่ามีอัตรการแพร่ระบาดสูง เช่น จากสัปดาห์ละ 9% เป็น12-15% อาจต้องมีการพิจารณาแนวทางการขยับระยะห่างการรับวัคซีนเข็ม1และเข็ม 2 แต่ตอนนี้โควิดสายพันธุ์ไหนก็ตาม วัคซีนช่วยได้ในระดับหนึ่งอยู่ ซึ่งการฉีดวัคซีนมากตอนนี้ยังเป็นสิ่งจำเป็น
นพ.ศุภกิจ ขอย้ำการตรวจสายพันธุ์ไม่จำเป็นต้องทำทุกราย แต่จะตรวจในกลุ่มที่เฝ้าระวังโดยเฉพาะ เช่น กลุ่มที่มีอาการรุนแรง กลุ่มครัสเตอร์ระบาดกลุ่มก้อน หรืออยู่ในพื้นที่ที่ไม่เคยมีการระบาด มาก่อนแล้วพบการแพร่ระบาด การเฝ้าระวังตามชายแดน รวมถึง กรณีเคสที่รับวัคซีนแล้วพบการติดเชื้อ
ทั้งนี้หลังจากผลตรวจสายพันธุ์ออกมา จะทำการแจ้งผลกลับไปยังพื้นที่นั้น เพื่อดำเนินการควบคุมสอบสวนโรคต่อไป
โดยตอนนี้กรมวิทยาศาสตร์ฯ ยังได้ดำเนินการ ตรวจภาวะภูมิคุ้มกันหลังรับวัคซีนครบ 2 เข็ม ในกลุ่มอาสาสมัคร 200 คน โดยจะเป็นวิธีเอาเลือดหรือซีรั่ม มาสู้กับเชื้อจริง แล้วนับจำนวนในการฆ่าเชื้อ พบว่า ซิโนแวค ครบ 2 เข็ม ภูมิคุ้มกันขึ้นเต็มที่สามารถป้องกันโรคได้ในสายพันธุ์ในปัจจุบัน ส่วนแอสตร้าเซนาก้า อยู่ระหว่างรอผล รวมถึงกำลังตรวจภูมิในสายพันธุ์เดลต้าและสายพันธุ์เบตา แต่จำนวนการพบเชื้อยังน้อยอยู่
ส่วนกรณีที่ประชาชนซื้อแรบบิทเทส มาตรวจหาภูมิคุ้มกัน หลังการฉีดวัคซีน นพ.ศุภกิจ ไม่แนะนำให้ซื้อตรวจเอง เพราะเป็นการตรวจผิดวิธี ที่จะได้ผลที่คลาดเคลื่อน โดยการทดสอบในแรบบิทเทส ไม่สามารถบอกได้ว่าวัคซีนได้กระตุ้นให้ ให้เกิดภูมิคุ้มกันในร่างกายหรือไม่การตรวจภูมิที่ถูกต้องให้แนะนำทำในห้อง lab ที่ได้มาตรฐานสูงเพราะมีขั้นตอนการตรวจโดยการนำเลือดตรวจกับเชื้อเพื่อดูการกระตุ้นภูมิ และไม่จำเป็นต้องตรวจทุกราย เนื่องจากมีค่าตรวจค่อนข้างสูงประมาณ 5-7 พันบาท โดยการตรวจภูมิคุ้มกันจะทำเพื่อเป็นการเก็บข้อมูลในกรณีที่พบการระบาดในกลุ่มก้อนขนาดใหญ่ มีอาการเจ็บป่วนรุนแรงกว่าปกติ กลุ่มที่พบการติดเชื้อไม่มีการระบาดมาก่อน กลุ่มเดินทางเข้าประเทศ และกลุ่มที่ได้รีบวัคซีนแล้ว แต่ยังพบมีการติดเชื้อ