นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ให้สัมภาษณ์ตอบทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับวัคซีนโควิด 19 อาทิ ตอนนี้ สามารถสรุปได้ไหมว่า วัคซีนตัวไหน ปลอดภัยที่สุด ? , หลังจากฉีดแล้วจะป้องกันการติดเชื้อได้ 100% หรือไม่ ? เป็นต้น
นพ. นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ให้สัมภาษณ์กับ World Health Organization Thailand ตอบทุกข้อสงสัย เกี่ยวกับวัคซีนโควิด 19 ดังต่อไปนี้
“ตัววัคซีนจะไปกระตุ้นให้ร่างกาย สร้างภูมิคุ้มกัน ที่เราเรียกว่า แอนตี้บอดี้ ซึ่งมันจะจำเพาะเจาะจงกับเชื้อโควิด 19 อันที่จริงวัคซีนแต่ละชนิดจะสร้างภูมิคุ้มกันที่จำเพาะของแต่ละโรค
“วัคซีนโควิด 19 ก็เช่นเดียวกัน จะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมา ภูมิคุ้มกันนี้ก็จะไปยับยั้งไม่ให้เชื้อเข้าสู่เซลล์ของร่างกายได้
“นี่คือการทำงานของวัคซีน ในการป้องกัน ไม่ได้รักษา แต่เป็นการป้องกันไม่ให้เชื้อเข้าสู่ร่างกาย หรือป้องกันไม่ให้เกิดอาการรุนแรงมากขึ้น”
“ไม่ 100 % ครับ ในโลกนี้ไม่มีวัคซีนป้องกันโรคได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ไม่ว่าจะเป็นโควิด 19 หรือโรคใดๆ ก็ตาม ประสิทธิผลก็จะลดหลั่นกันไป เราเรียกว่า ประสิทธิผลการป้องกันโรคของแต่ละวัคซีน
“แม้กระทั่งรูปแบบการผลิต ก็ยังให้ผลแตกต่างกันไป ดังนั้น การฉีดวัคซีนโควิด 19 ไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่ป่วย แต่การทำงานของวัคซีนคือ ช่วยลดโอกาสป่วย หรือลดโอกาสการติดเชื้อให้มันน้อยลง แต่ไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อได้ 100 % ครับ”
"เนื่องจากว่า ถ้าช้ากว่านี้ พวกเราอาจจะเดือดร้อนมากกว่านี้ เพราะฉะนั้นนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ ก็เห็นว่าถ้ามีการร่วมกันวิจัยกันเนี่ย จะสามารถร่นระยะเวลาได้ โดยไม่ลดทอนคุณภาพงานวิจัยวัคซีน
"ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์ก็เลยใช้กระบวนการวิจัยพัฒนาแบบร่วมมือกันทั้งโลกน่ะครับ ต่างคนก็ต่างทำในส่วนที่ตัวเองสามารถทำได้
"อีกอย่างหนึ่งก็คือ การพยายามทำการวิจัยแบบไม่ให้มีช่องว่าง เช่น เมื่อได้พัฒนาวัคซีนขึ้นมาแล้วเนี่ย จากที่ต้องมารอทดลองในสัตว์ทดลองให้เสร็จสมบูรณ์ แต่ในกรณีนี้เมื่อเห็นผลเบื้องต้นในสัตว์ทดลอง ก็เตรียมการทดลองในคนเลย เมื่อเห็นผลการทดลองในคน ระยะที่ 1 ได้ผลดี ก็เตรียมการผลิตเลย
"เพราะหากผลิตวัคซีนช้าไปเพียง 1 เดือน ก็จะส่งผลกระทบภาพรวมของเศรษฐกิจของสังคมและของโลกอย่างมาก ดังนั้นทุกคนจึงเร่งในกระบวนการพัฒนา แต่ไม่ได้ลดทอนเรื่องคุณภาพ
"ทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอนกระบวนการการวิจัยพัฒนา แต่ ณ เวลานี้ บริษัทผลิตวัคซีน ก็ได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาล ประเทศที่มีเศรษฐกิจดี ประเทศที่มีรายได้สูง ให้ทุนในการวิจัย
"เพราะฉะนั้นจากการพัฒนาวิจัยที่อยู่บนความเสี่ยงของนักวิจัย หรือบริษัทผู้ผลิตวัคซีน รัฐบาลเข้ามาช่วย รัฐบาลของทั่วโลก เข้ามาช่วยให้ทุน หาทุนสนับสนุนต่างๆ ทำให้การพัฒนาวัคซีนไปได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
"ซึ่งก็ถือว่าเร็วมากนะครับ เร็วกว่าที่เราคาดการณ์กันไว้ถึง 6 เดือน จากเดิมที่เราคาดการณ์กันว่า กลางปี 2564 น่าจะมีวัคซีน แต่ก็ปรากฏว่า เมื่อได้ร่วมมือกัน และได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่ เพียงแค่ปลายปีที่แล้ว (2563) ช่วงพฤศจิกายน ธันวาคม เราก็มีวัคซีนโควิด เร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ถึง 6 เดือน
"เราไม่สามารถจะสรุปเปรียบเทียบแบบนั้นได้ วัคซีนแต่ละตัวจะมีผลข้างเคียง แต่ข้อสำคัญที่สุด ก่อนอนุมัติให้ใช้ จะมีการทบทวนข้อมูลด้านความปลอดภัยอย่างครบถ้วน เมื่อเห็นว่าผลของวัคซีนมีประโยชน์มากกว่าผลข้างเคียงของมัน หน่วยงานที่กำกับเรื่องคุณภาพ เช่น คณะกรรมการอาหารและยาของแต่ละประเทศ ก็จะอนุญาตให้ใช้
"เมื่ออนุญาตให้ใช้ ก็จะมีความมั่นใจในระดับหนึ่งในเรื่องความปลอดภัย แต่ไม่สามารถจะนำมาเปรียบเทียบได้ว่า ของใครปลอดภัยกว่า หรือใครมีประสิทธิผลดีกว่า
"องค์การอนามัยโลก จึงตั้งหลักเกณฑ์ขึ้น ถ้าผ่านตรงนี้ ถือโอเคทุกตัว ที่เราเรียกว่า ทาเก็ตโปรไฟล์ ของวัคซีน หรือว่าเป้าหมายของผลิตภัณฑ์ว่า ควรจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร ที่องค์การอนามัยโลกได้ตั้งไว้แล้ว
"ฉะนั้นวัคซีนที่เราเห็นที่มีการใช้ในเวลานี้ ตัวที่ได้ประกาศผลขึ้นทะเบียนแล้ว ถ้าผ่านเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก ก็ถือว่าใช้ได้ทั้งหมดแหละครับ"
"คือผลข้างเคียง เป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นอยู่แล้ว เพราะการฉีดวัคซีน ยังไงก็จะมีผลข้างเคียง ยกตัวอย่างเช่น วัคซีนบาดทะยัก หรือวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ผู้ได้รับการฉีด มันก็จะมีอาการปวด บวมแดง ตัวร้อน เป็นไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ หรือบางคนก็อาจคลื่นไส้ อาเจียน แล้วแต่อาการของแต่ละคน ปฏิกิริยาข้างเคียงของแต่ละคน อาจจะไม่เหมือนกัน พวกนี้เกิดขึ้นได้ ไม่สามารถบอกได้ว่าจะไม่เกิดขึ้น
"แต่ขั้นตอนสำคัญคือการดูแล เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะได้รับการดูแล ไม่ว่าจะเป็นผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น ภายหลังฉีดวัคซีน 30 นาที จะมีอาการรุนแรงอะไรหรือไม่ จะได้ช่วยจัดการได้"
"หรือฉีดไปแล้ว 1 วัน 2 วัน มีอาการข้างเคียงอย่างไร ฉะนั้นทุกอย่าง ก็ต้องเป็นเรื่องการจัดการ เพื่อลดความรุนแรงผลข้างเคียงนั้นๆ หรือลดผลกระทบของผลข้างเคียงนั้นๆ ที่เกิดขึ้นจากการฉีดวัคซีน เพราะวัคซีนทุกตัวจะมีปฏิกิริยาข้างเคียง ทั้งสิ้นครับ"
“ข้อมูล ณ เวลานี้นะครับ คนที่มีประวัติการแพ้วัคซีนใดๆ มาก่อน อันนี้เป็นข้อควรระวังที่จะต้องให้คุณหมอ ผู้ที่จะอนุญาตให้ฉีดวัคซีน พิจารณาประวัติของการแพ้ที่ผ่านมาว่า เป็นลักษณะอย่างไร รุนแรงหรือไม่ แล้วมาชั่งกันระหว่างความเสี่ยงกับประโยชน์ที่จะได้รับว่า ควรจะรับวัคซีนหรือไม่
"เพราะฉะนั้นเนี่ย จะพิจารณาจากประวัติที่เคยแพ้ อาการที่เคยแพ้ แล้วดูว่าวัคซีนที่จะรับ มันมีผลให้เกิดอาการข้างเคียงที่รุนแรงหรือไม่"
"ไม่มีค่าใช่จ่ายครับ ถ้าเป็นวัคซีนโควิด 19 ที่รัฐบาลจัดหาให้ เราจัดหาให้ฟรี มันเป็นนโยบายอยู่แล้วครับ และผมเชื่อว่าในปี 2564 วัคซีนทั้งหมดจะได้รับการจัดหาจากรัฐบาล เพื่อให้บริการฟรีกับประชาชน"
"ชาวต่างชาติก็สามารถรับการฉีดวัคซีนได้ แต่เนื่องจากวัคซีนจะทยอยมา กลุ่มที่ได้รับการฉีดก่อน ต้องเกิดประโยชน์สูงสุดต่อสถานการณ์การควบคุมการระบาดของโรค หรือเกิดประโยชน์สูงสุดทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข
"จึงเป็นที่มาของการฉีดในกลุ่มบุคลากรทางการเพทย์ ฉีดในกลุ่มผู้สูงอายุ ฉีดให้ผู้ที่มีโรคร่วม เพื่อลดโอกาสในการเสียชีวิต หากป่วยเป็นโรคโควิด 19
"เมื่อเรียงลำดับอย่างนี้แล้ว จำนวนวัคซีนจะมีความเพียงพอต่อความต้องการอย่างแท้จริง ฉะนั้นชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ก็จะได้รับวัคซีนเช่นกัน เพียงแต่ว่า ระยะเวลาในการได้รับวัคซีนอาจไม่ตรงกัน ขึ้นอยู่กับจำนวนของวัคซีนที่มี และก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์การแพร่ระบาดด้วยครับ"
ที่มา : ถาม-ตอบกับคุณหมอ นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ