svasdssvasds

รายได้ที่เกษตรกรไทย ได้จากกล้วยหอม 1 ใบ ในยุคโควิด

รายได้ที่เกษตรกรไทย ได้จากกล้วยหอม 1 ใบ ในยุคโควิด

กล้วยหอม 1 ใบที่ขายในร้านสะดวกซื้อ ราคา 9 บาท เกษตรกรไทย ได้รับรายได้เพียง 50 สตางค์

กล้วยหอม ผลไม้โปรดของหลายๆ คน และได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย แต่รู้ไหมว่า จากราคาจำหน่ายที่อยู่ในเรตสูง อย่างในร้านสะดวกซื้อ ที่แบ่งขายเป็นใบๆ ใบละประมาณ 9 บาท แต่เกษตรกรไทย ผู้ปลูก เมื่อหักกลบลบค่าใช้จ่ายๆ แล้ว เหลือรายได้เพียง 50 สตางค์ ต่อใบ

โดยเพจ BIOTHAI เผยว่า นักวิชาการจากภาควิชา ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้คำนวณรายได้และต้นทุนของเกษตรกรที่ปลูกกล้วยหอมในจังหวัดแห่งหนึ่งในภาคกลางพบว่า เมื่อหักต้นทุนการผลิต เกษตรกรจะมีรายได้เฉลี่ยเพียง 50 สตางค์ต่อกล้วยหอม ขนาดมาตฐาน น้ำหนัก 120 กรัม 1 ใบ

รายได้ที่เกษตรกรไทย ได้จากกล้วยหอม 1 ใบ ในยุคโควิด

ต้นทุนการผลิต แบ่งออกเป็น

1. ต้นทุนคงที่ (ค่าเช่าที่ดิน และค่าเสื่อมสินทรัพย์) ประมาณ 24%

2. ต้นทุนผันแปร (พันธุ์ ปุ๋ย สารเคมี ค่าแรง ฯลฯ) ประมาณ 76%

ซึ่งต้นทุนผันแปรที่มีสัดส่วนสูงที่สุดคือค่าใช้จ่ายเรื่องปุ๋ยและสารเคมีกำจัดศัตรูพืช คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 32% ของต้นทุนผันแปรทั้งหมด

แต่งานศึกษาดังกล่าวมิได้ระบุชัดว่าเกษตรกรมีข้อผูกพันต้องซื้อจากเครือบริษัทยักษ์ใหญ่ที่เป็นเจ้าของค้าปลีกค้าส่งหรือไม่

ฉะนั้น กรณีของกล้วยหอมก็สะท้อนให้เห็นว่า จากราคาขายที่สูง ก็ไม่ได้ความว่า รายได้เกษตรไทยจะสูงขึ้นตามไปด้วย ตราบใดที่มีต้นทุนการผลิตที่สูงมาก

รายได้ที่เกษตรกรไทย ได้จากกล้วยหอม 1 ใบ ในยุคโควิด  

ข้อมูลจากเพจ BIOTHAI

ภาพโดย Pete Linforth จาก Pixabay 

related