svasdssvasds

MEA ปรับโฉมสยามสแควร์ไร้สาย พร้อมร่วมจุฬาฯ ขับเคลื่อน CHULA Smart City

MEA ปรับโฉมสยามสแควร์ไร้สาย พร้อมร่วมจุฬาฯ ขับเคลื่อน CHULA Smart City

การไฟฟ้านครหลวง หรือ MEA ปรับโฉมสยามสแควร์ไร้สาย พร้อมร่วมจุฬาฯ ขับเคลื่อน CHULA Smart City

 

การไฟฟ้านครหลวง หรือ MEA ในฐานะองค์กรที่มุ่งเน้นสร้างสรรค์นวัตกรรม ขับเคลื่อนระบบพลังงานอัจฉริยะเพื่อวิถีชีวิตเมืองมหานคร ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของพื้นที่บริเวณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “สยามสแควร์” ซึ่งถือเป็นพื้นที่ใจกลางกรุงเทพมหานคร แลนมาร์คสำคัญที่มีศักยภาพในด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว และการศึกษาของประเทศ ตั้งแต่ปี 2560 MEA ได้ลงนามความร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในโครงการร่วมพัฒนาเมืองจุฬาฯ อัจฉริยะ (CHULA Smart City) เพื่อร่วมกันศึกษา พัฒนารูปแบบเมืองอัจฉริยะในพื้นที่ในการดูแลของมหาวิทยาลัย และการพัฒนาระบบจ่ายไฟฟ้าและนวัตกรรม รองรับโครงการฯ เพื่อพัฒนาชุมชนเมืองที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกให้ได้รับคุณภาพชีวิตที่ดี 

 

ล่าสุด มีความคืบหน้าโครงการต่อเนื่อง โดย MEA ได้ดำเนินโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินในพื้นที่สยามสแควร์เสร็จสิ้นแล้ว และจะดำเนินการครอบคลุมทั้งพื้นที่จุฬาฯ ภายในปี 2564 ทำให้โครงการ CHULA Smart City มีความมั่นคงด้านระบบไฟฟ้า พร้อมรองรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ทั้งยังช่วยปรับปรุงทัศนียภาพให้เรียบร้อย สวยงาม และยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยของประชาชน รวมถึงผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมร่วมนำสายสื่อลงใต้ดินทำให้สยามสแควร์เป็นพื้นที่ไร้สายไฟฟ้าและสายสื่อสารอย่างแท้จริงภายในปี 2563 นี้ นอกจากนี้ MEA ดำเนินการต่อเนื่องเพื่อปรับปรุงและพัฒนาระบบไฟฟ้า พร้อมนำเทคโนโลยีนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องมาใช้ในพื้นที่การศึกษาและพื้นที่เชิงพาณิชย์ รวม 1,153 ไร่ ล้อมรอบด้วยถนนพระรามที่ 4 – ถนนพระรามที่ 1 – ถนนบรรทัดทอง – ถนนอังรีดูนังต์ ดังนี้ 
MEA ปรับโฉมสยามสแควร์ไร้สาย พร้อมร่วมจุฬาฯ ขับเคลื่อน CHULA Smart City

 

- พัฒนาระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน ซึ่งในพื้นที่จุฬาฯ มีศักยภาพในการติดตั้ง Solar rooftop ประมาณ 20 เมกะวัตต์
- พัฒนาระบบมิเตอร์อัจฉริยะ (AMI) ทำให้สามารถเก็บข้อมูลการใช้ไฟฟ้า ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการเชื่อมโยงและบริหารจัดการพลังงาน ในพื้นที่ Smart City ภายในปี 2564
- พัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Metro Grid) ทำให้สามารถควบคุม จัดการ และแก้ไขระบบไฟฟ้าขัดข้องอย่างอัตโนมัติ และผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถบริหารจัดการการใช้ไฟฟ้าของตนเองได้ภายในปี 2564
- ติดตั้งระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage System) ขนาด 1.2 เมกะวัตต์ชั่วโมง ที่สถานีไฟฟ้าย่อยปทุมวัน ภายในปี 2565

MEA พร้อมเดินหน้าพัฒนาระบบพลังงานอัจฉริยะอย่างต่อเนื่อง ให้สอดรับกับความต้องการใช้ไฟฟ้าของเมืองมหานคร ทั้งภารกิจการนำสายไฟฟ้าลงใต้ดิน พัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Metro Grid) รวมถึงโครงการต่าง ๆ ที่ MEA มุ่งมั่นพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมที่ทันสมัยให้แก่ประชาชนในอนาคต รองรับการเป็นมหานครอัจฉริยะ "Smart Metro" ตอบโจทย์การใช้พลังงานไฟฟ้าเพื่อวิถีชีวิตเมืองมหานคร สู่การเป็น Smart City ตามนโยบายรัฐบาลต่อไป

MEA ปรับโฉมสยามสแควร์ไร้สาย พร้อมร่วมจุฬาฯ ขับเคลื่อน CHULA Smart City

 

 

related