นักวิชาการ ทีดีอาร์ไอ เสนอหัวข้อ “ระบบราชการในฐานะระบบปฏิบัติการประเทศไทย” วิเคราะห์ระบบราชการไทยว่ามีความมุ่งมั่นปฏิรูประบบมานาน แต่ยังทำงานซ้ำซ้อนและแยกส่วนกัน ไม่สามารถตอบสนองความต้องการประชาชนได้ดีพอ ย้ำระบบราชการรู้อยู่แล้วว่าต้องทำอะไร จึงมีข้อเสนอเสริมการปฏิรูปว่าควรทำสิ่งเหล่านั้นอย่างไร
งานสัมมนาสาธารณะทีดีอาร์ไอ ประจำปี 2563 “แฮกระบบราชการ เปลี่ยนระบบปฏิบัติการประเทศ: จากบทเรียนการรับมือวิกฤติโควิด-19 สู่ความพร้อมรับมือความท้าทายในโลกใหม่” เมื่อวานนี้
ดร.บุญวรา สุมะโน นักวิชาการ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย กล่าวเปรียบระบบราชการ เทียบได้กับระบบปฏิบัติการ (Operating system – OS) ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะดึงทรัพยากรทั้ง Hardware และ software ของประเทศมาใช้ให้บริการสาธารณะ หากสมรรถนะของ OS ไม่ทันสมัย หรือไม่ปรับให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน ก็จะไม่สามารถประมวลผลออกมาเป็นบริการที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนได้
ตัวชี้วัดคุณภาพของระบบราชการ (Quality of bureaucracy/institutional effectiveness and Excessive bureaucracy) ที่จัดทำโดย The Economist แสดงให้เห็นว่า คุณภาพและประสิทธิผลของระบบราชการไทยแทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา โปรโมชั่น 10.10 Lazada จัดเต็มส่วนลดมาให้ช้อปไม่อั้น และมีสินค้าแบรนด์ชั้นนำให้เลือกช้อปกว่าพันรายการ!
โดยได้ยกตัวอย่าง โครงการเราไม่ทิ้งกัน ที่เป็นการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดโควิด-19 มีปัญหาจากวิธีการช่วยเหลือที่ไม่ได้นำความต้องการหรือความสะดวกของประชาชนเป็นตัวตั้ง
และโครงการช่วยเหลืออื่นๆ ของภาครัฐก็สะท้อนการทำงานที่ซ้ำซ้อนและแยกส่วนกัน เช่น บริการ e-Service ซึ่งแม้จะช่วยเพิ่มความสะดวกผ่านบริการออนไลน์ แต่ก็ยังเป็นบริการแยกส่วน ส่งผลให้ประชาชนต้องกรอกข้อมูลเดิมซ้ำๆ ที่รัฐเองเคยมีเก็บอยู่แล้ว และได้ให้ข้อเสนอแนะ ดังนี้
1. ลดกำลังคนด้วยการลดงานที่รัฐทำ ซึ่งงานไม่จำเป็น ไม่สามารถ ไม่คุ้มค่า อย่าหาทำ
- โดยงานที่ไม่จำเป็น เช่น งานเอกสาร ควรยกเลิกหรือใช้เทคโนโลยีทำแทน
- งานไม่สามารถ คือ งานที่ต้องปรับตัวเร็วให้เอกชนนำ โดยรัฐอำนวยความสะดวก
- งานไม่คุ้มค่า คือ งานที่รัฐทำด้วยต้นทุนที่แพงกว่า ให้คนอื่นทำ
2. ออกแบบและดำเนินการให้บริการดิจิทัลของภาครัฐ (Digital government) ตามความต้องการของประชาชน ประหยัดเวลาด้วยการเชื่อมข้อมูลเพื่อไม่ให้ประชาชนต้องกรอกซ้ำ
3. เพิ่มอำนาจการตัดสินใจ และถ่ายโอนทรัพยากรแก่ท้องถิ่น ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าเป็นสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของบริการสาธารณะ ที่ตอบโจทย์ประชาชนและพื้นที่ได้ตรงจุด
4. ทดลองการทำงานแบบใหม่ใน Sandbox เพื่อลองแก้ปัญหาบางประเด็นก่อนที่จะมีการขยายผลการดำเนินงานในพื้นที่ใหญ่ขึ้น การทำงานใน Sandbox จะต้องประกอบไปด้วย
- ใช้ประเด็นปัญหาเป็นตัวตั้ง
- ยกเว้นกฎระเบียบเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการเรียนรู้
- ดึงคนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดกิจกรรม ตัวชี้วัด และเป้าหมาย
- รับรองการทำงานใน Sandbox เพื่อไม่ให้ถูกแทรกแซงทางการเมือง และปกป้องคนของรัฐที่เข้ามาร่วม ไม่ให้ถูกเอาผิดจากการทดลองเรียนรู้วัฒนธรรมการทำงานใหม่