พิธีมอบรางวัลประกวดศิลปกรรม ปตท. ครั้งที่ 35 โดยมีเจตจำนงค์เพื่อส่งเสริม เยาวชน ศิลปินและกลุ่มคนรักในศิลปะทุกระดับที่มีฝีมือและความคิดสร้างสรรค์ ช่วยสนับสนุนและพัฒนาวงการศิลปะร่วมสมัยของไทยให้ยั่งยืน
ปตท. ร่วมกับมหาวิทยาลัยศิลปากรจัด การประกวดศิลปกรรม ปตท. ขึ้นต่อเนื่องทุกปี เพื่อเป็นเวทีให้เยาวชนและกลุ่มคนรักศิลปะ ได้สร้างสรรค์ผลงาน และแสดงทักษะความสามารถผ่านผลงานศิลปะทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ ประติมากรรม ทัศนศิลป์สื่อผสม
โดยมี นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลแก่ผู้ชนะการประกวดศิลปกรรม ปตท. ครั้งที่ 35 ที่ หอศิลป์ ณ บ้านเจ้าพระยา ถนนพระอาทิตย์ รวม 24 รางวัล
ในปีนี้ แบ่งการประกวดออกเป็น 2 ระดับ คือ ระดับประชาชนทั่วไป และระดับเยาวชน รวม 3 กลุ่มอายุ ได้แก่ กลุ่มอายุต่ำกว่า 9 ปี กลุ่มอายุ 9-13 ปี และกลุ่มอายุ 14-18 ปี โดยมีเยาวชนและศิลปินกว่า 542 คน ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดรวม 588 ชิ้น ภายใต้หัวข้อ “เมืองเล็ก เมืองใหญ่ หายใจเต็มปอด” เพื่อสื่อสารมุมมองปัญหาสังคมผ่านงานศิลป์ กระตุ้นให้ผู้คนตระหนักถึงความสำคัญของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาต่างๆ ของเมืองในระยะยาว และมีคณะกรรมการตัดสินผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับการยอมรับในวงการศิลปะ ร่วมกันพิจารณาตัดสินรางวัล อาทิ ศาสตราจารย์กิตติคุณกำจร สุนพงษ์ศรี, ศาสตราจารย์เกียรติคุณปรีชา เถาทอง, ศาสตราจารย์เกียรติคุณพิษณุ ศุภนิมิต และ ศาสตราจารย์ ญาณวิทย์ กุญแจทอง
รางวัลยอดเยี่ยม จำนวน 1 รางวัล นายสุรศักดิ์ สอนเสนา ผลงานชื่อ “ห่มเมือง (ขอนแก่น)”
รางวัลดีเด่น จำนวน 5 รางวัล นายชยสิทธิ์ ออไอศูรย์ ผลงานชื่อ “แม่พิมพ์เวลา ฤดูกาล และชีวิตสัมพันธ์”, นายเทพพงษ์ หงส์ศรีเมือง ผลงานชื่อ “สัมพันธภาพของธรรมชาติ”, นางสาวลดากร พวงบุบผา ผลงานชื่อ “ดวงจันทร์ ต้นไม้ ความสุขนิรันดร์”, นางสาววริศรา อภิสัมภินวงศ์ ผลงานชื่อ “พลังแห่งสีสันตะวันออก หมายเลข 5” , นายสกล มาลี ผลงานชื่อ “ความสุข – ไทบ้าน”
รางวัลยอดเยี่ยม จำนวน 1 รางวัล เด็กหญิงพิชาพัทธ์ ชินมหาพิพัฒน์ ผลงานชื่อ “แม่รักษ์ต้นไม้” สถาบันเขียนสี Art & Studio กรุงเทพมหานคร
รางวัลดีเด่น จำนวน 5 รางวัล เด็กชายจรณ์ฐกฤต โอมอภิญญาณ ผลงานชื่อ “ต้นไม้ในกระถาง”, เด็กชายโชติวัฒน์ สุวัฒนะพงศ์เชฏ ผลงานชื่อ”หุ่นยนต์ มนุษย์ฟอกอากาศ” สถาบันเขียนสี Art & Studio กรุงเทพมหานคร, เด็กหญิงณิชารัตน์ ตันติโกมลศิลป์ ผลงานชื่อ “เมือง(เกือบไม่)สุขสันต์” โรงเรียนทานตะวัน ไตรภาษา จังหวัดสมุทรสาคร, เด็กหญิงธันยวีร์ พัดแดง ผลงานชื่อ “โลกที่ฉันต้องการ” โรงเรียนอนุบาลยะลา จังหวัดยะลา, เด็กหญิงเบญญาภา อัศวสุคนธ์ ผลงานชื่อ “ลมหายใจเดียวกัน” โรงเรียนอนุบาลวารี (โรงเรียนสอนศิลปะ Art is Me) จังหวัดเชียงใหม่
รางวัลยอดเยี่ยม จำนวน 1 รางวัล เด็กชายธนวัฒน์ เจิมวรรธนะ ผลงานชื่อ “ชีวิตสีเขียว” โรงเรียนบ้านศิลปะ จังหวัดอุดรธานี
รางวัลดีเด่น จำนวน 5 รางวัล เด็กชายคฤณน์ รัตนรัตน์ ผลงานชื่อ “ปั่นด้วยใจไปด้วยกัน” บ้านศิลปะหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช,
เด็กชายทนิตสร รัตนรัตน์ ผลงานชื่อ “ปั่นด้วยใจ” บ้านศิลปะหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช, เด็กชายวรมฆา นิลวรรณาภา ผลงานชื่อ “ให้ชาวโลกได้หายใจเต็มปอด” โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ศิลปะลานคูน) จังหวัดมหาสารคาม, เด็กชายสิรภพ รุยปริง ผลงานชื่อ “ต้นไม้...พลังแห่งชีวิต” วิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี, เด็กชายอัยการ สิมกันยา ผลงานชื่อ “ชีวิตสัมพันธ์” โรงเรียนอนุบาลพุทธเมตตา จังหวัดอุบลราชธานี
รางวัลยอดเยี่ยม จำนวน 1 รางวัล เด็กหญิงกัลยณัฎฐ์ โอษธีศ ผลงานชื่อ “ปลูกอากาศ” โรงเรียนโพธิสารพิทยากร กรุงเทพมหานคร
รางวัลดีเด่น จำนวน 5 รางวัล นายจักรี พรหมเมฆ ผลงานชื่อ “ต้องอยู่ร่วม จึงอยู่รอด” โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี, เด็กหญิงจุฑามณี คำดำ ผลงานชื่อ “ป่าไม้มากมายให้อากาศดีๆ ต่อร่างกาย” โรงเรียนวาปีปทุม (ศิลปะลานคูน) จังหวัดมหาสารคาม, นายธเนษฐ รัตนรัตน์ ผลงานชื่อ “สบายปอด” บ้านศิลปะหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช, เด็กหญิงพัชรพร เพชรเกตุ ผลงานชื่อ “ท่อไอดี” บ้านศิลปะหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช, เด็กชายพู่กัน สร่องศรี ผลงานชื่อ “คนละไม้คนละมือ” โรงเรียนสารวิทยา กรุงเทพมหานคร
การประกวดศิลปกรรม ปตท.จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 จนถึงปัจจุบัน มีเจตจำนงค์เพื่อส่งเสริม เยาวชน กลุ่มคนรักในศิลปะทุกระดับ
มีเวทีแสดงความสามารถ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ช่วยสนับสนุนและพัฒนาวงการศิลปะร่วมสมัยของไทย อันเป็นส่วนหนึ่งของฐานราก ที่บ่งชี้ถึงความเป็นชาติและศิลปะของไทยให้มั่นคงยั่งยืนสืบไป
ตลอด 35 ปี ที่ผ่านมา มีผู้รักศิลปะส่งเข้าส่งผลงานเข้าร่วมประกวดกว่า 26,800 คน และมีผู้ได้รับรางวัลจากการประกวด ไปแล้ว 816 รางวัล
ซึ่งผู้สนใจสามารถเข้าชมผลงานที่ได้รับรางวัลในปีนี้ ได้ที่ หอศิลป์ ณ บ้านเจ้าพระยา ถนนพระอาทิตย์ กรุงเทพมหานคร จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2563 โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ