กระทรวงการคลังได้ออก มาตรการเยียวยา "ประชาชน - แรงงานนอกระบบ - ผู้ประกอบการ" ที่รับผลกระทบ ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ โรคโควิด-19
กระทรวงการคลังได้ออก มาตรการเยียวยา คน ที่รับผลกระทบ ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ โรคโควิด-19 โดยแผนเยียวยา ในระยะที่ 1 ออกมาตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2563 เป็นมาตรการช่วย "ประชาชน" 5 มาตรการ และช่วย "ผู้ประกอบการ" 12 มาตรการ และในระยะที่ 2 ช่วย "แรงงานลูกจ้าง ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระ ที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม" 8 มาตรการ และ ช่วย "ผู้ประกอบการ" อีก 7 มาตรการ
มาตรการระยะที่ 1
มาตรการ ระยะที่ 1 ที่ออกไปแล้ว โดยมติคณะรัฐมนตรี 10 มีนาคม 2553 12 มาตรการดูแลและเยียวยา "ประชาชน"
โดยเป็นมาตรการที่จะช่วย "เพิ่มสภาพคล่อง" 1 มาตรการ
1) ค่าเสี่ยงภัยในบุคลากรการแพทย์
- แพทย์ - สัตวแพทย์ ผลัดละ 1,500 บาท/คน
- พยาบาลและอื่นๆ ผลัดละ 1,000 บาท/คน
โดยเป็นมาตรการที่จะช่วย "ลดภาระ" 4 มาตรการ
2) บรรเทาภาระการจ่ายค่าน้ำค่าไฟ คืนค่าประกันการใช้ไฟ
3) ลดเงินสบทบเข้ากองทุนประกันสังคมของนายจ้างและลูกจ้าง
- ม.33 จาก 5% เหลือ 4%
- ม.39 จาก 9% เหลือ 7%
4) ลดภาระค่าธรรมเนียมค่าเช่าค่าตอบแทนในการให้บริการส่วนของราชการและรัฐวิสาหกิจ
ยกเว้นค่าเช่าที่ราชพัสดุ 1 ปีให้กับผู้เช่าประเภทผู้อยู่อาศัยและเกษตรกร
5) สร้างความเชื่อมั่นในระบบตลาดทุน
เพิ่มวงเงินกองทุน SSF 2 แสนบาท เป็น 4 แสนบาท
มาตรการ ระยะที่ 1 ที่ออกไปแล้ว โดยมติคณะรัฐมนตรี 10 มีนาคม 2553 12 มาตรการดูแลและเยียวยา "ผู้ประกอบการ"
โดยเป็นมาตรการที่จะช่วย "เพิ่มสภาพคล่อง" 7 มาตรการ
1) สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ 150,000 ล้านบาท
อัตราดอกเบี้ย 2% 2 ปี สินเชื่อไม่เกิน 20 ลบ./ราย
2) พักต้นเงินสดดอกเบี้ย และขยายระยะเวลาชําระหนี้แก่ ลูกหนี้ฯ ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
3) ธปท. ผ่อนคลายหลักเกณฑ์ การปรับโครงสร้างหนี้
4) สินเชื่อเพื่อส่งเสริม การจ้างงานของประชาชน
วงเงินสินเชื่อรวม 30,000 ลบ. ดอกเบี้ยเริ่มต้น 3% ระยะเวลา 3 ปี
5) คืนสภาพคล่องให้แก่ผู้ประกอบการในประเทศ
ลดอัตรา ภาษีหัก ณ ที่จ่าย จาก 39% เหลือ 1.5% (เม.ย. - ก.ย. 53)
6) เร่งคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ประกอบการส่งออก
- กรณียื่นแบบทางอินเตอร์เน็ต ได้รับคืนภายใน 15 วัน
- กรณียื่นแบบปกติได้รับคืนภายใน 45 วัน
7) เพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายเงินงบประมาณ ปี 2563
- กรมบัญชีกลางได้ผ่อนปรนหลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้าง
- ปรับลดขั้นตอน ระยะเวลาดําเนินการ
โดยเป็นมาตรการที่จะช่วย "ลดภาระ" 5 มาตรการ
8) หักเพิ่มภาษีดอกเบี้ยจ่าย จาก 1 เท่า เป็น 1.5 เท่า
(Soft loan 15,000 ล้านบาท)
9) บรรเทาภาระการจ่ายค่าน้ำค่าไฟและคืนค่าประกันการใช้ไฟ
10) ลดเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ของนายจ้างและลูกจ้าง
- ม.33 จาก 5% เหลือ 4%
- ม.39 จาก 9% เหลือ 7%
11) ไม่ปลดแรงงาน
หักรายจ่าย ค่าจ้างงานได้ 3 เท่า
12) บรรเทาภาระค่าธรรมเนียม ค่าเช่า ค่าตอบแทนการให้บริการของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ
เลื่อนการจ่ายค่าเช่าที่ราชพัสดสําหรับผู้เข้าประเภทผู้ประกอบการในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและธุรกิจเกี่ยวเนื่อง
มาตรการระยะที่ 2
8 มาตรการดูแลและเยียวยา
“แรงงานลูกจ้าง ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระ ที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม ซึ่งได้รับผลกระทบจากไวรัส COVID-19”
โดยเป็นมาตรการที่จะช่วย "เพิ่มสภาพคล่อง" 4 มาตรการ
1) สนับสนุนเงิน คนละ 5,000 บาทต่อเดือนเป็นเวลา 3 เดือน
- ให้เงินเยียวยาแรงงานลูกจ้าง ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม จากการปิดที่เสี่ยงต่อการระบาดชั่วคราว
- จํานวน 3 ล้านคน
สําหรับผู้อยู่ในระบบประกันสังคม
เพิ่มสิทธิกรณีว่างงาน 50% ของค่าจ้าง โดย
1 กรณีนายจ้างไม่ให้ทํางาน รับเงินไม่เกิน 180 วัน
2 กรณีรัฐสั่งหยุด รับเงินไม่เกิน 90วัน
2) สินเชื่อฉุกเฉิน 10,000 บาทต่อราย
- วงเงินรวม 40,000 ลบ.
- อัตราดอกเบี้ย 0.1% ต่อเดือน
- ไม่ต้องมีหลักประกัน
3) สินเชื่อพิเศษ 50,000 บาทต่อราย
- วงเงินรวม 20,000 ล้านบาท
- อัตราดอกเบี้ย 0.35% ต่อเดือน
- ต้องมีหลักประกัน
4) สนง. ธนานุเคราะห์ รับจํานําดอกเบี้ยต่ำ
- วงเงินรวม 2,000 ล้านบาท
- คิดดอกเบี้ยจากประชาชน ในอัตราไม่เกิน 0.125% / เดือน
โดยเป็นมาตรการที่จะช่วย "ลดภาระ" 3 มาตรการ
5) ยึดการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เลื่อนกําหนดเวลาการยื่นแบบและชําระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาออกไปเป็นสิงหาคม 2563
6) หักลดหย่อนเบี้ยประกันสุขภาพเพิ่มขึ้น
เพิ่มวงเงินลดหย่อนคําเบี้ยประกันสุขภาพจาก 15,000 บาท เป็น 25,000 บาท
7) ยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับค่าเสี่ยงภัยให้บุคคลากรทางการแพทย์
โดยเป็นมาตรการที่จะช่วย "เพิ่มทักษะ" 1 มาตรการ
8) ฝึกอบรมมีเงินใช้
- ฝึกอบรม เพิ่มทักษะอาชีพ หรือจัดกิจกรรมเพื่อสังคม รวมถึงนักศึกษาที่ยังหางานไม่ได้
- ขยายฝึกอบรมผ่านภาคี เครือข่าย เช่น มูลนิธิ โครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดําริ กองทุนหมู่บ้าน และชุมชนเมือง กระทรวง อว. เป็นต้น
มาตรการระยะที่ 2
7 มาตรการดูแลและเยียวยา “ผู้ประกอบการซึ่งได้รับผลกระทบจาก ไวรัส COVID-19”
โดยเป็นมาตรการที่จะช่วย "เพิ่มสภาพคล่อง" 1 มาตรการ
1) สินเชื่อรายย่อย ไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อราย
- วงเงินสินเชื่อรวม 10,000 ลบ. โดย ธพว.
- ให้สินเชื่อต่อรายไม่เกิน 3 ลบ. ดอกเบี้ย 3% 2 ปีแรก
โดยเป็นมาตรการที่จะช่วย "ลดภาระ" 6 มาตรการ
2) ยืดการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
- ภ.ง.ด. 50 จากเดิม พ.ศ. 63 ออกไปเป็นภายใน 31 ส.ค. 63
- ภ.ง.ด. 51 จากเดิม ส.ค. 63 ออกไปเป็นภายใน 30 ก.ย. 63
3) ยืดการเสียภาษีสรรพากร เช่น VAT ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอื่น ๆ ให้ ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ
เลื่อนกําหนดเวลายื่นแบบและชําระภาษีทุกประเภท 1 เดือน
4) ยืดการเสียภาษี สรรพสามิตให้กิจการสถานบริการ
เลื่อนการยื่นแบบและชําระภาษีสถานบริการ ออกไป 3 เดือน ตั้งแต่ 1 มี.ค. - 31 พ.ค. 63 ให้เสียภาษี 15 ก.ค. 63
5) ยึดการเสียภาษีสรรพสามิต ให้ผู้ประกอบการ อุตสาหกรรมน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน
- เลื่อนการยื่นแบบและชําระภาษีภายใน 10 วันเป็นภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
- ระยะเวลา 3 เดือน
6) ยกเว้นอากรขาเข้าสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการป้องกัน และรักษา COVID-19
ยกเว้นอากรขาเข้าสินค้าที่ใช้รักษาและป้องกันโรคโควิด-19 เป็นเวลา 6 เดือนถึง ช่วงกันยายน 2563
7) ยกเว้นภาษีและลดค่าธรรมเนียม จากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (Non-Bank)
- ให้เจ้าหนี้ที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน เช่น สินเชื่อส่วนบุคคล เช่าซื้อ Leasing
- ตั้งแต่ 1 ม.ค. 63 - 31 ธ.ค. 60