ศูนย์พิษวิทยา รพ.รามาฯ เตรียมจัดตั้ง “ระบบเฝ้าระวังการเจ็บป่วยจากบุหรี่ไฟฟ้า” จัดเก็บข้อมูลผู้ป่วยท่ัวประเทศ ให้คำแนะนำปรึกษาครบวงจร ผลโพล เยาวชน 1 ใน 3 อยากลองบุหรี่ไฟฟ้า แนะเร่งสื่อสารข้อเท็จจริง และบังคับใช้กฎหมายห้ามบุหรี่ไฟฟ้าอย่างจริงจัง
วันที่ 11 ธ.ค. 62 ที่โรงแรมเดอะ สุโกศล ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี จัดแถลงข่าว “วิกฤตสุขภาพเยาวชนไทย จากภัยบุหรี่ไฟฟ้า” โดย ศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์ ผู้อานวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) กล่าวว่า ปัจจุบัน สถานการณ์ของบุหรี่ไฟฟ้าทั่วโลก จัดเป็นวิกฤตโลกทางด้านสาธารณสุข
ดังจะเห็นได้จากเมื่อพฤศจิกายน 2562 ที่ผ่านมา ศูนย์ควบคมุและป้องกันโรคของสหรฐัอเมรกิา (CDC) ประกาศเตือนให้หยุดสูบบุหรี่ไฟฟ้าทุกชนิด หลังพบผู้เสียชีวิต และป่วยปอดอักเสบรุนแรงจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้า เสียชีวิต 48 ราย ป่วย 2,291 ราย
โดยในยุโรป ที่ประเทศอังกฤษและเบลเยี่ยม ก็พบผู้เสียชีวิตจากบุหรี่ไฟฟ้าแล้ว ซึ่งล่าสุดประเทศไทยพบผู้ป่วยรายแรกจากบุหรี่ไฟฟ้า เกิดปอดอักเสบเฉียบพลัน และระบบหายใจล้มเหลว ปัจจุบันพบว่า มีรายงานการตาย และป่วยจากบุหรี่ไฟฟ้าในหลายประเทศ โดยมีข้อสังเกตทางการแพทย์ที่น่าตกใจ คือ เมื่อสูบบุหรี่ไฟฟ้าแล้ว สามารถป่วยและตายได้ในช่วงเวลาแค่ไม่กี่เดือน
“บุหรี่ไฟฟ้าถือเป็นภัยคุกคามของทุกประเทศทั่วโลก จึงสนับสนนุให้ประเทศไทยควรมีระบบเฝ้าระวังการ เจ็บป่วยจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้าและบังคับใช้กฎหมายห้ามบุหรี่ไฟฟ้าจริงจัง เพื่อเตรียมการรับมือกับความเจ็บป่วย ที่อาจเกิดขึ้นฉุกเฉินจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งเป็นเรื่องควรเร่งดำเนินการอย่างยิ่ง หากไม่ดำเนินการอะไร ไทยอาจจะมีนักสูบหน้าใหม่เพิ่มขึ้นอย่างมาก และควรเร่งสื่อสารข้อเท็จจริงถึงอันตรายจากบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อแก้ไขปัญหาความเข้าใจที่ผิดเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชน ที่เป็นพลังสำคัญของชาติ” ศ.นพ.รณชัย กล่าว
คุณวิเชษฐ์ พิชัยรัตน์ กรรมการกองทุน สสส. และกรรมการกากับทิศของ ศจย. กล่าวว่า หลายประเทศทั่วโลกกำลังตื่นตัวและเตรียมทบทวนการควบคมุของบุหรี่ไฟฟ้าอย่างเร่งด่วน ซึ่งมีการห้ามบุหรี่ไฟฟ้าแล้วในหลายประเทศ
โดยล่าสุด เมื่อพฤศจิกายน 2562 ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ ประกาศห้ามบุหรี่ไฟฟ้า และ บังคลาเทศ มีแผนห้ามบุหรี่ไฟฟ้าทั้งหมด เพราะหวั่นผลกระทบต่อเยาวชนและสุขภาพของคนในประเทศ ทั้งนี้ สำหรับประเทศไทย บุหรี่ไฟฟ้าถือเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ห้ามนำเข้า ขาย บริการ และครอบครอง ซึ่งมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างต่อเนื่อง
ยกตัวอย่างเช่น ในเดือนตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา มีการจับกุมผู้ลักลอบจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าทางออนไลน์ ส่งสินค้าทางไปรษณียภัณฑ์ ที่ย่านตลิ่งชัน มูลค่าของกลางกว่า 7 ล้านบาท และจับกุมผู้ลักลอบจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า ที่ย่านคลองถมเซ็นเตอร์ จากการเข้าตรวจค้นกว่า 15 ร้านค้า พบผู้ต้องหาคนไทย 7 คน คนต่างด้าว 3 คน และพบของกลางจำนวนมาก อาทิ บุหรี่ไฟฟ้า 566 ตัว น้ำยาสำหรับเติมบุหรี่ไฟฟ้า 5,158 ขวด อุปกรณ์ 1,362 ชิ้น หัวบุหรี่ไฟฟ้า 402 หัว มูลค่าของกลางกว่า 12 ล้านบาท
คุณช่อผกา วิริยานนท์ กรรมการผู้จัดการบริษัทเอยูคอมมินิเคชั่น เปิดผลโพลล่าสดุของ ศจย.ซึ่งได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัย ที่มีต่อบุหรี่ไฟฟ้า กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาในมหาวิทยาลัยรัฐและเอกชนในกรุงเทพฯ
ผลโพลพบสัญญาณอันตรายหลายประเด็น คือนักศึกษาเกือบ 100% รู้จักบุหรี่ไฟฟ้า โดย 1 ใน 3 อยากลองสูบบุหรี่ไฟฟ้า และเกือบครึ่งมีทัศนคติท่ีดีต่อบุหรี่ไฟฟ้า เมื่อเทียบกับบุหรี่ธรรมดา คือเป็นอันตรายน้อยกว่า ลดความเสี่ยงมะเร็งปอด ช่วยให้เลิกสูบบุหรี่ธรรมดาได้ และเช่ือว่า ไม่ทำให้ติด เพราะไม่มีนิโคติน
และแม้จะมีข่าวดังทั่วโลกว่า มีคนตายจากบุหรี่ไฟฟ้าแล้วในสหรัฐอเมริกา แต่มีนักศึกษาประมาณครึ่งหนึ่งเท่านั้นที่รู้ข่าวนี้ และจำนวน 1 ใน 6 ยังเชื่อว่าบุหรี่ไฟฟ้าไม่มีอันตรายเลย ทั้งนี้ผลโพลตอกย้ำว่า สถานการณ์บุหรี่ไฟฟ้าในเยาวชนไทยน่าเป็นห่วง โดยเยาวชนยังมีความสับสนเรื่องข้อมูลของบุหรี่ไฟฟ้า โดยเชื่อว่าบุหรี่ไฟฟ้าไม่มีอันตราย ซึ่งทั้งหมดนี้คือสัญญาณอันตรายอย่างมาก ที่เกิดขึ้นแล้วในประเทศไทย
ศ.นพ.วินัย วนานุกูล หัวหน้าศูนย์พิษวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า บุหรี่ไฟฟ้าในตลาดมากกว่า 95% มีนิโคติน ที่เป็นสารเสพติด ผู้เสพสามารถเพิ่มสารนิโคตินในการสูบแต่ละครั้งได้ สูงกว่าบุหรี่ธรรมดากว่า 3-10 เท่า นอกจากนี้ นิโคตินยังทำให้อัตราการเต้นของหัวใจสูง ความดันโลหิตสูง มีภาวะหลอดเลือดสมองหดตัว เสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง
และสารเคมีในบุหรี่ไฟฟ้า ประกอบไปด้วยโลหะหนักต่างๆ ที่มีพิษต่อปอด แคดเมียม ที่มีพิษต่อไต สารก่อมะเร็ง เช่น เบนซีน อะเซตตัลดีไฮด์ มีการปลดปล่อยอนุภาคขนาดเล็ก มาก PM 2.5 และอนุภาคนาโน ที่แทรกซึมเข้าร่างกาย เป็นการสะสมพิษไปก่ออันตรายในอวัยวะต่างๆ ได้ทั่วร่างกาย ดังนั้น บุหรี่ไฟฟ้ามีอันตรายต่อสุขภาพอย่างมาก
จากข้อมูลอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้าและสถานการณ์ผู้เสียชีวิต และป่วยจากบุหรี่ไฟฟ้าทั่วโลก ข้างต้น ดังนั้น ประเทศไทยจำเป็นต้องมี “ระบบเฝ้าระวังการเจ็บป่วยจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้า” โดยที่ศูนย์พิษวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ร่วมกับศูนย์วิจัย และจัดการความรู้เพื่อการควบคมุยาสูบ (ศจย.) กำลังทำระบบเฝ้าระวังดังกล่าว ซึ่งขณะนี้ได้มีการรวบข้อมูลที่เกี่ยวกับสารเคมีในบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อที่จะใหบริการข้อมูล ให้คำปรึกษา คำแนะนำ วิธีวินิจฉัย ในการรักษาผู้ป่วยภาวะเป็นพิษจากบุหรี่ไฟฟ้า
“และโรงพยาบาลรามาธิบดี ได้เตรียมการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงในการดูแลผู้ป่วย ผู้บาดเจ็บจากบุหรี่ไฟฟ้า โดยจะจัดทำระบบรับแจ้งเหตุที่เกิดจากบุหรี่ไฟฟ้า (e-cig Emergency) จากศูนย์รับแจ้งเหตุ ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉินทั่วประเทศ เพื่อให้ผู้บาดเจ็บจากบุหรี่ไฟฟ้า ได้รับการดูแลที่ดีมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่จุดเกิดเหตุ จนถึงโรงพยาบาล และจัดทำฐานข้อมูลเพื่อพัฒนาระบบ ในการเฝ้าระวังติดตามสถานการณเ์หตุเกิดจากบุหรี่ไฟฟ้า” ศ.นพ.วินัย กล่าว
ภาพโดย mohamed Hassan , Free-Photos , ArtTower จาก Pixabay