ติดตามข่าวสารwได้ที่ https://www.springnews.co.th
หากใครที่เป็นแฟนเพจ The Sidewalk โลกกว้าง ข้างทางเท้า จะเห็นว่า อึ่ง สิทธานต์ ฉลองธรรม แอดมินเพจนั้นพยายามสะท้อนปัญหา และชี้ให้เห็นถึงความสำคัญ ไม่ว่าจะในรูปแบบวิดีโอ และภาพนิ่งที่แสดงให้ผู้คนได้เห็นถึงสภาพของพื้นที่สาธารณะไม่ว่าจะเป็นทางเท้าถนน และอื่นๆ โดยหวังว่าสิ่งที่ทำนั้น จะทำให้คนที่พบเห็นได้ความรู้ ความเข้าใจ ความหมายของเมืองที่เหมาะสมกับการอยู่อาศัยใช้ชีวิตเป็นอย่างไร แต่ที่น่าสนใจอะไรคือแรงบันดาลใจที่ผลักดันเขาให้ลุกขึ้นมาทำสิ่งนี้ แม้จะไม่ได้ค่าตอบแทนเลยก็ตาม
จุดเริ่มต้นของเพจ The SideWalk โลกกว้าง ข้างทางเท้า เกิดขึ้นได้อย่างไร?
"เมื่อก่อนผมเองเป็นคนที่เจออะไรไม่ได้ต้องร้องเรียน ไม่ว่าจะเป็นน้ำไม่ไหล ไฟดับ หรือฝาท่อเปิด หรืออะไรหลาย ๆ อย่างที่เราทุกคนเจอบนถนน บนพื้นที่สาธารณะต้องร้องเรียน ร้องเรียนมาเกือบสิบปี จนวันหนึ่งรู้สึกว่า มันไม่น่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มันถาวร เจออะไรที่เป็นความทุกข์ก็แจ้งไปแล้วก็มาแก้เป็นจุดๆ เรื่องราวที่เราพบเห็นบนทางเท้า มันไม่น่าจะเป็นเรื่องที่ต้องไปร้องเรียน มันเป็นสิ่งที่คนทำ ทำให้มันดีได้มาตรฐานอยู่แล้วตั้งแต่แรก ดังนั้นเราเองก็พยายามแหล่งความรู้จากแหล่งต่างๆ ทำเพจนี้มาเพื่อจะถ่ายทอดความรู้ที่เราพอมี ประสบการณ์ที่เราพอเจอ เพี่อจะเกิดความเข้าใจในกรอบของเมืองเพื่อผู้คน"
ทำเพจไม่ได้ผลตอบแทนแล้วได้อะไร?
อึ่ง สิทธานต์ แอดมินเพจ บอกว่า "ทำเพจนี้ไปทำไมมันไม่ได้ให้มูลค่าทางเม็ดเงินกลับมา แต่มันเป็นเนื้อหาที่ทำอยู่แล้วเป็นอาชีพกับงานที่ได้เงิน ดังนั้นกับการที่เราทำเนื้อหาแบบนี้มันก็สนับสนุนส่งเสริมเนื้อหาหลักที่เราทำอยู่แล้ว ถ้าเกิดตอบในแง่ของทางธุรกิจ ก็ไม่ปฏิเสธว่ามันคือธุรกิจที่มันก็มีความเอื้อกันอยู่แม้ว่ามันจะไม่ใช่เม็ดเงินที่เห็นๆ เดือนละกี่บาท ซึ่งมันไม่เห็นเลย แต่สิ่งที่ได้มาเราได้มีข้อมูลที่เราหาเพิ่มมากขึ้นมาเติมกับงานหลักที่เราทำ"
ปัญหาทางเท้าของเมืองไทยที่ยังแก้ไขไม่สำเร็จคืออะไร?
"มันน่าจะเกิดจากความไม่ใส่ใจอย่างจริงจังว่าปัญหามันเกิดขึ้นได้อย่างไร ตรงนี้ก็ไม่รู้ว่างานยุ่งหรืออะไร แต่ทำไมหลายๆ เมืองทำกันได้ มันก็เลยส่งผลให้เราเต็มไปด้วยการพัฒนา แต่เราไม่เคยสัมผัสกับความเจริญ ที่หลายๆ ประเทศเขาเป็น แรกๆ พวกเราจะถูกสอนว่า สะพานลอยมีไว้เพื่อให้คนข้ามอย่างปลอดภัย แต่ถึงวันนี้มันประจักษ์แล้วว่าสะพานลอยไม่ได้ทำเพื่อทุกคน ทุกสภาพร่างกายไม่ได้ข้ามได้ คนพิการ รถเข็นข้ามไม่ได้ คนตาบอดข้ามลำบาก คนแก่เองก็ข้ามยาก ไม่ปลอดภัย บอกสะพานลอยปลอดภัยนั้นถือว่าไม่จริง มีโจรสะพานลอย มีสายไฟฟ้าพาด สะพานลอยเป็นจุดอับ ในขณะที่ทางม้าลายไม่เคยมีคนบอกว่ามีโจรทางม้าลาย จะเห็นแล้วว่าสะพานลอยไม่ใช่ที่ปลอดภัย แต่ทำขึ้นมาเพื่อรถจะได้ไม่ต้องหยุดให้คนข้ามถนน"
ทางเท้าที่ดีต้องเป็นอย่างไร?
"กรุงเทพแทบไม่มีเลยซักข้อยกตัวอย่าง ทางเท้าต้องมีความกว้าง ทางเท้าต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง ทางเท้าต้องมีทางเรียบ ทางเท้าต้องดูแลรักษาง่ายคือพังยาก ทางเท้าต้องมีต้นไม้ริมทาง มีสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับคนเดินเท้า ทางเท้าต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกให้คนพิการ กรุงเทพเองก็จะถือว่าเรียกว่าสอบตกทุกวันนี้ยังมีการเฉือนทางเท้า ขยายถนน ตรงนี้ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่เรื่องความกว้างของทางเท้า เราจะเห็นว่าเรากำลังสร้างรถไฟฟ้า แต่ขณะเดียวกันเราสร้างรถไฟฟ้าเรากับเฉือนทางเท้าทิ้ง ทางเท้าที่เคยกว้างเหลือไม่ถึงเมตรห้าสิบ อยากให้คนมาใช้ขนส่งมวลชน การใช้รถขนส่งมวลชน การเดินเท้าคือจุดเริ่มต้น ถ้าเกิดมันเดินไม่สะดวกใครจะมาใช้ ตรงนี้เป็นสิ่งที่น่าผิดหวัง"
ทางออกของปัญหาทางเท้า?
"จัดลำดับความสำคัญบนถนนใหม่ หนึ่งคนเดินเท้าทุกประเภทต้องมาก่อน สองคนที่ใช้ขนส่งมวลชนและก็จักรยาน สามก็คือพวกรถที่ให้บริการของเมือง รถเก็บขยะ รถตำรวจ พร้อมๆ กับคนที่ขายของ ซึ่งมีความสำคัญกับเมือง ส่วนสุดท้ายคือรถส่วนตัว แต่ผมเชื่อถ้าเกิดว่าประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในกรอบความคิดนี้ซึ่งไม่ใช่กรอบความคิดของผมมันคือสิ่งที่เหมือนทั่วโลกเขาเป็นกัน ผมเชื่อว่ายังไงคนที่มีหน้าที่จัดการทุกหน่วยงานก็ทำแบบเก่าไม่ได้เพราะประชาชนมีความรู้ความเท่าทันและมีความเข้าใจที่มากกว่าคุณจะอยู่แบบเดิมไม่ได้"
https://youtu.be/7PNenbPKdyM