svasdssvasds

2 ใน 3 ธารน้ำแข็งหิมาลัยอาจละลายหากไม่เร่งแก้ปัญหาโลกร้อน

2 ใน 3 ธารน้ำแข็งหิมาลัยอาจละลายหากไม่เร่งแก้ปัญหาโลกร้อน

ผลการศึกษาพบว่าสองในสามของธารน้ำแข็งหิมาลัยอาจละลายได้ภายในปี 2100 หากโลกของเรายังไม่สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้มากกว่านี้

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า รายงานเรื่อง “การประเมินฮินดู-กูช-หิมาลัย” พบว่า หากโลกของเราปฏิบัติตามข้อตกลงปารีสเพื่อควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรมได้สำเร็จ ก็ยังจะทำให้ธารน้ำแข็งหิมาลัยละลายไป 1 ใน 3 อยู่ดี แต่หากไม่สามารถลดภาวะโลกร้อนได้เลย สองในสามของธารน้ำแข็งหิมาลัยอาจละลายได้ภายในปี 2100

ผลกระทบจากธารน้ำแข็งละลายมีหลากหลายตั้งแต่มลพิษทางอากาศ ไปถึงสภาพอากาศที่รุนแรงมากขึ้น

ธารน้ำแข็งหิมาลัยก่อตัวขึ้นเมื่อราว 70 ล้านปีที่แล้ว และมีความเสี่ยงสูงต่ออุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง // นับตั้งแต่ปี 1970 ธารน้ำแข็งหิมาลัยบางขึ้นและบริเวณที่มีหิมะก็ลดลงด้วยเรื่อยๆ ซึ่งหากธารน้ำแข็งหดตัว จะมีความเสี่ยงที่ทะเลสาบน้ำแข็งหลายร้อยแห่งแตกและทำให้เกิดน้ำท่วม

นอกจากนี้ มลพิษทางอากาศในที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคาตอนเหนือของอินเดีย ซึ่งถือเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีมลพิษมากที่สุดในโลก ก็ทำให้เกิดผงฝุ่นเขม่าดำ และฝุ่นละอองจับคัวที่ธารน้ำแข็งด้วย ยิ่งทำให้ธารน้ำแข็งละลายเร็วขึ้นด้วย

ทั้งนี้ ธารน้ำแข็งในภูมิภาคฮินดู-กูช-หิมาลัย เป็นแหล่งน้ำที่สำคัญอย่างมากสำหรับประชาชนราว 250 ล้านคนที่อาศัยอยู่ตามแนวภูเขา และประชาชนอีก 1.65 พันล้านคนที่อาศัยตามลุ่มแม่น้ำด้านล่าง

ธารน้ำแข็งดังกล่าวหล่อเลี้ยงแม่น้ำสำคัญของโลก 10 สาย เช่นแม่น้ำคงคา แม่น้ำสินธุ แม่น้ำเหลือ แม่น้ำโขง และแม่น้ำอิรวดี เป็นต้น นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งอาหาร พลังงาน อากาศ และรายได้ทั้งทางตรงและทางอ้อมของผู้คนหลายพันล้านคนด้วย

รายงานประเมินฮินดู-กูช-หิมาลัยนี้มีความหนา 650 หน้า และใช้เวลาจัดทำถึงห้าปี โดยศูนย์นานาชาติเพื่อการพัฒนาภูเขาอย่างบูรณาการในประเทศเนปาล ซึ่งเป็น 1 ใน 8 ประเทศที่อยู่ตามแนวเทือกเขาดังกล่าว และมีนักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญราว 350 คน และองค์กรต่างๆ 185 องค์กรร่วมวิจัยด้วย

related