svasdssvasds

ชีวิตใหม่ของผู้ป่วย “ปากแหว่งเพดานโหว่” กับมูลนิธิสร้างรอยยิ้ม

ชีวิตใหม่ของผู้ป่วย “ปากแหว่งเพดานโหว่” กับมูลนิธิสร้างรอยยิ้ม

ติดตามข่าวสารwได้ที่ https://www.springnews.co.th

ในแต่ละปีมีเด็กทารกในประเทศไทยประมาณ 1 ใน 700 คน ที่เกิดมาพร้อมกับภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ เด็กที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องจะประสบปัญหาการหายใจ การดื่มนม การรับประทานอาหาร และการพูด ซึ่งจะส่งผลต่อพัฒนาการและคุณภาพชีวิตของเด็กเหล่านั้นในอนาคต ถึงแม้ว่าภาวะดังกล่าวจะสามารถแก้ไขได้ด้วยการผ่าตัด แต่ยังมีเด็กอีกจำนวนไม่น้อยจากครอบครัวในถิ่นทุรกันดาร ไม่สามารถเดินทางมายังโรงพยาบาลเพื่อเข้ารับการผ่าตัดได้ มูลนิธิสร้างรอยยิ้ม ประเทศไทย (Operation Smile Thailand) จึงได้เข้ามาทำหน้าที่อุดช่องว่างดังกล่าว และช่วยเหลือให้ผู้ป่วยที่ขาดโอกาสเหล่านั้นได้เข้ารับการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสม และให้การดูแลต่อเนื่องไปจนกระทั่งหายเป็นปกติ

ชีวิตใหม่ของผู้ป่วย “ปากแหว่งเพดานโหว่” กับมูลนิธิสร้างรอยยิ้ม ชีวิตใหม่ของผู้ป่วย “ปากแหว่งเพดานโหว่” กับมูลนิธิสร้างรอยยิ้ม

ปีที่ผ่านมา มูลนิธิสร้างรอยยิ้ม ประเทศไทย ได้ทำการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่จำนวน 3 ครั้ง ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ,บึงกาฬ และ จังหวัดตาก ดำเนินการผ่าตัดให้กับผู้ป่วยยากไร้เป็นจำนวน 887 ครั้ง และมีจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลจากศูนย์แก้ไขความพิการบริเวณใบหน้าและศีรษะ คณะแพทยศาสตร์ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 360 ราย ซึ่งมูลนิธิสร้างรอยยิ้ม ประเทศไทยได้ให้การสนับสนุนอยู่

ชีวิตใหม่ของผู้ป่วย “ปากแหว่งเพดานโหว่” กับมูลนิธิสร้างรอยยิ้ม ชีวิตใหม่ของผู้ป่วย “ปากแหว่งเพดานโหว่” กับมูลนิธิสร้างรอยยิ้ม

อย่างไรก็ตามการรักษาภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ ไม่ได้จบเพียงแค่การผ่าตัดเท่านั้น การดูแลรักษาหลังการผ่าตัด การประเมินผลการผ่าตัดก็มีความสำคัญเช่นกัน ในบางกรณีอาจจะต้องผ่าตัดเพิ่มอีกหลายครั้ง นอกจากนี้ยังมีการติดตามผลทุกปีเพื่อทำการรักษาต่อเนื่อง อาทิ การทำฟัน การดูแลสุขภาพในช่องปาก และการฝึกหัดพูดเพื่อให้สามารถพูดได้เป็นปกติเหมือนคนทั่วไป การดูแลรักษาหลังผ่าตัดเหล่านี้อาจกินเวลานานถึง 10 - 20ปี เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถใช้งานและพูดได้เป็นปกติ

ชีวิตใหม่ของผู้ป่วย “ปากแหว่งเพดานโหว่” กับมูลนิธิสร้างรอยยิ้ม ชีวิตใหม่ของผู้ป่วย “ปากแหว่งเพดานโหว่” กับมูลนิธิสร้างรอยยิ้ม

สำหรับปี 2562 นี้ เพื่อดำเนินการการรักษาผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง และเปิดรับผู้ป่วยใหม่ มูลนิธิสร้างรอยยิ้มประเทศไทยจึงได้วางแผนออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เป็นจำนวน 3 ครั้ง

-          ร.พ.ศรีสังวาลย์ จ.แม่ฮ่องสอน ในวันที่ 11-15 ก.พ.

-          ร.พ.สุรินทร์ จ.สุรินทร์ ในวันที่ 9-13 ก.ย.

-          ร.พ.แม่สอด จ.ตาก ในวันที่ 3-8 พ.ย.

ชีวิตใหม่ของผู้ป่วย “ปากแหว่งเพดานโหว่” กับมูลนิธิสร้างรอยยิ้ม

ภารกิจของมูลนิธิสร้างรอยยิ้มประเทศไทยในวันนี้จึงยังไม่สิ้นสุด ยังมีเด็กยากไร้อีกเป็นจำนวนมาที่รอคอยความช่วยเหลือ มูลนิธิฯ ยังต้องการความช่วยเหลือ และแรงสนับสนุนอีกเป็นจำนวนมาก เพื่อเปลี่ยนสังคมนี้ให้ดีขึ้น ด้วยการสร้างรอยยิ้มและสร้างโอกาสให้กับทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ติดตามการทำงาน และร่วมสนับสนุนโครงการของมูลนิธิสร้างรอยยิ้มประเทศไทยได้ที่ โทรศัพท์02 075 2700 – 2 เว็บไซต์ www.operationsmile.or.th และเฟซบุ๊ค www.facebook.com/OperationSmileThailand/

related