รองอธิบดีกรมศุลฯ ไขข้อข้องใจ กรณี กรมศุลกากร ได้ออกประกาศ 2 ฉบับ โดยประกาศนี้เป็นเหมือนประกาศฉบับเดิมที่มีมาก่อนหน้านี้แล้ว วัตถุประสงค์ไม่ได้เพื่อบังคับให้ผู้โดยสาร แต่ขึ้นอยู่กับผู้โดยสารจะเห็นประโยชน์หรือไม่
จากกรณีที่ กรมศุลกากร ได้ออกประกาศ 2 ฉบับ ได้แก่ ประกาศที่ 59/2561 เรื่อง “หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการปฏิบัติการศุลกากรในการตรวจปล่อยผู้โดยสารและหีบห่อสัมภาระระหว่างสนามบินภายในประเทศ โดยวิธีการ Check Through” ซึ่งใช้ในกรณีที่ผู้โดยสารเปลี่ยนเที่ยวบิน หรือโดยเที่ยวบินเดิม ระหว่างสนามบินในประเทศ เพื่อผ่านเข้ามาในหรือออกนอกราชอาณาจักร และ ประกาศที่ 60/2561 เรื่อง “การปฏิบัติพิธีการศุลกากรของติดตัวผู้โดยสารที่นำติดตัวเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรพร้อมกับตนทางอากาศยาน” ซึ่งใช้ในกรณีสัมภาระผู้โดยสารที่นำเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรพร้อมกับผู้โดยสารให้เป็นไปตามหลักสากล นั้น
วันนี้( 7 มี.ค.) ในรายการเจาะลึกทั่วไทย Tonight ได้สัมภาษณ์ นายชัยยุทธ คำคุณ รองอธิบดีกรมศุลกากร เพื่อสอบถามถึงกรณีดังกล่าว ว่าหลักปฎิบัติจะต้องปฎิบัติขนาดไหนอย่างไร
นายชัยยุทธ กล่าวว่า ประกาศฉบับนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่เป็นเหมือนประกาศฉบับเดิมที่มีมาก่อนหน้านี้แล้ว วัตถุประสงค์เราไม่ได้บังคับให้ผู้โดยสารที่นำของติดตัวไปสำแดงให้เจ้าหน้าที่ตอนออกจากสนามบิน แต่เราออกประกาศฉบับนี้มาในกรณีที่ ขอยกตัวอย่าง หากท่านจะนำเครื่องมือชิ้นใหญ่ออกไปนอกประเทศ เพื่อซ่อมแซม และหากจะนำกลับมา ท่านอาจจะเกรงว่าเจ้าหน้าที่อาจสงสัยว่าของที่ท่านนำกลับมาเป็นของที่ซื้อจากต่างประเทศหรือไม่ ท่านอาจจะเสียเวลาในการชี้แจง ฉะนั้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้โดยสาร เราจึงออกประกาศ ว่า หากท่านจะนำของออกและเมื่อเวลาที่จะนำเข้ามาท่านจะได้ไม่เสียเวลาในการชี้แจงให้เจ้าหน้าที่ที่ช่องตรวจฟัง ท่านเพียงแค่ไปหาเจ้าหน้าที่ก่อนที่ท่านจะเดินทางออกเพื่อทำหลักฐานให้เจ้าหน้าที่ทราบว่าของดังกล่าวท่านนำออกไปเอง ไม่ได้ไปซื้อจากต่างประเทศแล้วนำเข้ามา ซึ่งตรงนี้ก็ไม่ได้บังคับให้ผู้โดยสารต้องทำขึ้นอยู่กับผู้โดยสารจะเห็นประโยชน์หรือไม่ ผมขอยกตัวอย่างหาก ท่านนำกล้องถ่ายรูป นาฬิกา โน๊ตบุ๊ค กรณีอย่างนี้ เจ้าหน้าที่คงไม่สอบถามตอนท่านนำของเหล่านี้กลับมา แต่หากท่านน้ำ โน๊ตบุ๊คออกไป 10 ตัวไปขาย หรือไปแสดงนิทรรศการยังต่างประเทศ ท่านอาจกังวลใจในตอนนำเข้า ตรงนี้ก็จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้โดยสาร หากท่านไปทำหลักฐานไว้
ทั้งนี้ กรณีดังกล่าวก็ไม่ได้บังคับให้ผู้โดยสารต้องปฏิบัติแต่อย่างใด ขึ้นอยู่กับผู้โดยสารจะเห็นประโยชน์หรือไม่ โดยไม่มีความผิด และไม่มีบทลงโทษ
สำหรับประเด็นการซื้อของในดิวตี้ฟรีนั้น นายชัยยุทธ กล่าวว่า สินค้านั้นจะได้รับยกเว้นอาการก็ต่อเมื่อมันเป็นไปตามข้อกฎหมายของกรมศุลการ ซึ่งกฎนี้ก็มีมานานแล้วเช่นกัน คือหากของนั้นมีมูลค่าเกิน 20,000 บาทถึงจะไม่ได้รับการยกเว้นภาษี ซึ่งเป็นหลักการทั่วไปโดยปกติอยู่แล้ว ตรงนี้ไม่มีอะไรต่างไปจากกฎหมายเดิมเลย
นายชัยยุทธ กล่าวต่อว่า ประกาศที่ออกมายังมีอีกเป็นเด็นในเรื่องของการเสียภาษีอากรปากระวาง โดยหากของมันเกินกว่ากำหนด ผู้โดยสารก็ต้องเสียภาษีอากร โดยหลักผู้โดยสารต้องทำใบขนเหมือนผู้นำเข้าโดยทั่วไป แต่เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้นำเข้า โดยหากสินค้านั้นราคาไม่เกิน 200,000 บาท จากเดิมตั้งไว้เพียง 100,000 บาท กรมศุลฯก็อำนวยความสะดวกโดยไม่กำหนดให้ผู้โดยสารทำใบขนสินค้า เพียงแค่ทำพิธีการศุลกากรอย่างง่าย คือ การเรียกเก็บอากรปากระวาง โดยการไปพบเจ้าหน้าที่ที่ช่องแดง ยื่นความประสงค์ว่าขอชำระภาษี เจ้าหน้าที่ก็จะออกใบเสร็จที่เรียกว่าอากรปากระวางมาให้ (โดยอากรปากระวางนี้จัดเก็บตามพิกัดของสินค้าที่ท่านนำเข้ามา)
ขณะที่ นายชัยยุทธ กล่าวถึงประเด็น "Check Through" ว่า เป็นกรณีที่ผู้โดยสารเดินทางมาจากต่างประเทศแล้ว ต้องการที่จะไปจุดหมายที่ไม่ใช่ สนามบินสุวรรณภูมิ แต่เครื่องบินจะต้องมาจอดที่สุวรรณภูมิก่อน อาจจะเดินทางต่อไปต่างจังหวัด คือการตรวจสัมภาระผู้โดยสารโดยเฉพาะที่โหลดใต้ท้องเครื่องโดยจะตรวจปล่อย(ตรวจ ณ ท่าอากาศยานปลายทาง) โดยในประกาศที่ออกมาก็จะกำหนดหน้าที่ของสายการบินว่าต้องทำอะไรบ้าง เนื่องจากกระเป๋าที่มาอยู่ในความรับผิดชอบของสายการบิน ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นประกาศที่เหมือนตัวเดิม
****ชมคลิป****