ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th
ปัจจุบัน ร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูก กำลังพิจารณาใน สนช. แต่ในระหว่างนี้ ผู้ถือครองที่ดินจำนวนไม่น้อย วางแผนเพื่อจัดการที่ดินของตัวเอง ก่อนที่กฎหมายจะมีผลบังคับใช้ในช่วงต้นปี 2562
ที่ดินทำเลทองใจกลางกรุงเทพมหานคร ขนาด 104 ไร่ ตรงหัวมุมถนนวิทยุ ตัดกับถนนพระราม 4 ที่ก่อนหน้านี้เคยเป็นสวมลุมไนท์บาซาร์ และเดิมเคยเป็นโรงเรียมเตรียมทหารในอดีต ถูกทำสัญญาเช่าเป็นเวลา 30 ปี และได้สิทธิ์เช่าที่ดินต่อเนื่องอีก 30 ปี จากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยกลุ่ม ทีซีซี ที่ชนะการประมูลเมื่อปี 2557
ที่ดินผืนนี้ กำลังจะถูกเนรมิตให้กลายเป็นเมืองอัฉริยะ “One Bangkok” ที่ภายในมีทั้งอาคารสำนักงาน โรงแรมหรูระดับ Ultra Luxury พื้นที่ศิลปะและวัฒนธรรม รวมถึงพื้นที่สีเขียว และพื้นที่เปิดโล่ง รวมมูลค่ากว่าแสนล้านบาท
ปัจจุบัน ราคาที่ดินผืนนี้ อยู่ที่ ตารางวาละ 5 แสนบาท รวมแล้วมีมูลค่าสูงถึง 2หมื่น 8 ร้อยล้านบาท แน่นอนว่า หากต้องเสียภาษีที่ดิน ในอัตราที่กำหนดในร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง กรณีที่ดินเชิงพาณิชย์ ผู้ถือครองที่ดินต้อง เสียภาษีถึงปีละ 312 ล้านบาท ซึ่งเป็นราคาที่คำนวณโดยอ้างอิงจากราคาที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นเกณฑ์
ไม่ต่างจากที่ดินอีกแปลงในย่านห้าแยกลาดพร้าว ปัจจุบัน ใช้ประโยชน์เป็นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้าปลีก เช่าที่จากการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยทำสัญญาเช่าเป็นเวลา 30 ปี และได้สิทธิ์เช่าที่ดินต่อเนื่องอีก 20 ปี
ปัจจุบัน ร่างกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกอยู่ในขั้นตอนของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และจะมีผลบังคับใช้หลังประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาแล้ว 1 ปี โดยระหว่างนี้คาดว่า ผู้ถือถือครอบที่ดินจำนวนไม่น้อย น่าจะมีการวางแผนเพื่อจัดการที่ดินของตัวเอง ก่อนที่กฎหมายจะมีผลบังคับใช้ในช่วงต้นปี 2562
สอดคล้องกับความคิดเห็นของ นายสุรเชษฐ กองชีพ รองผู้อำนวยการ ฝ่ายวิจัยและพัฒนา คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ที่เปิดเผยกับทีมข่าวสปริงนิวส์ว่า ร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2560 ที่จะมีผลบังคับใช้นี้ นอกจากกลุ่มที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ ที่ดินรกร้างว่างเปล่า แล้ว กลุ่มที่ดินเชิงพาณิชย์ ก็เป็นอีกหนึ่งกลุ่มที่น่าจับตา เพราะอาจต้องเสียภาษีทันทีถึง 2%
ปัจจุบัน พบว่า ยังมีเอกชนอีกหลายราย ที่เช่าที่ดินจากรัฐบาล ตามเงื่อนไข พระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 ซึ่งแน่นอนว่าการจัดเก็บภาษีในอัตราที่เปลี่ยนไป ย่อมนำมาซึ่งภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้นอย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้
อุบลรัตน์ เถาว์น้อย ข่าวจริงสปริงนิวส์ รายงาน