svasdssvasds

ค้นพบ! สิ่งมีชีวิตสปีชีส์ใหม่ 115 สายพันธุ์ใน "ลุ่มแม่น้ำโขง"

ค้นพบ! สิ่งมีชีวิตสปีชีส์ใหม่ 115 สายพันธุ์ใน "ลุ่มแม่น้ำโขง"

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

 

กองทุนสัตว์ป่าโลกเผย ตรวจพบสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ใหม่มากกว่า 100 สปีชีส์ในลุ่มแม่น้ำโขงในช่วงปี 2016 อาทิ กบสีแปลกในเวียดนาม ตัวตุ่น รวมถึงสัตว์สปีชีส์ใหม่หลายพันธุ์ที่พบในไทยด้วย แต่ทั้งหมดล้วนเป็นสิ่งมีชีวิตที่กำลังถูกคุกคามทั้งสิ้น

กองทุนสัตว์ป่าโลกเปิดเผยรายงานว่า จากการตรวจสอบสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ใหม่ที่ตรวจพบบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง ครอบคลุมตั้งแต่ที่ราบสูงธิเบตไปถึงทะเลจีนใต้นั้น สรุปได้ว่า ในปี 2016 นั้น มีการค้นพบสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ใหม่ถึง 115 สปีชีส์ แบ่งเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ 11 สปีชีส์, ปลา 2 สปีชีส์, สัตว์เลื้อยคลาน 11 สปีชีส์, สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 3 สปีชีส์ และพืช 88 สปีชีส์

สัตว์สปีชีส์ใหม่ที่ได้รับการค้นพบนั้น ที่โดดเด่น อาทิ กบสีสันสวยงาม พบบริเวณภูเขาหินปูนทางตอนเหนือของเวียดนาม แต่ถูกคุกคามจากการทำเหมืองหิน

ตัวตุ่น 2 สี สปีชีส์ใหม่ในประเทศเวียดนามเช่นกัน แม้จะไม่ใช่สัตว์ที่แปลกนัก แต่พึ่งมีการพบในลุ่มแม่น้ำโขงเป็นครั้งแรก

ค้นพบ! สิ่งมีชีวิตสปีชีส์ใหม่ 115 สายพันธุ์ใน \"ลุ่มแม่น้ำโขง\"

ปลาโลธ ในกัมพูชา เป็นปลาลายพาดสีเข้มสลับอ่อนตลอดลำตัว

ค้นพบ! สิ่งมีชีวิตสปีชีส์ใหม่ 115 สายพันธุ์ใน \"ลุ่มแม่น้ำโขง\"

ค้นพบ! สิ่งมีชีวิตสปีชีส์ใหม่ 115 สายพันธุ์ใน \"ลุ่มแม่น้ำโขง\"

เต่านาอีสาน พบในตลาดแห่งหนึ่งของไทยโดยบังเอิญ จากคนที่ไปสังเกตเห็นเต่าตัวนี้ในตลาดแล้วนำมาศึกษา แต่ถูกคุกคามจากการพัฒนาสาธารณูปโภค อาทิ การสร้างเขื่อน

ค้นพบ! สิ่งมีชีวิตสปีชีส์ใหม่ 115 สายพันธุ์ใน \"ลุ่มแม่น้ำโขง\"

ค้างคาวมงกุฎภูเขา พบในสปป.ลาว และไทย อันที่จริงพบมานานแล้ว แต่ต้องใช้เวลาถึง 10 ปีเพื่อตรวจสอบ โดยค้างคาวชนิดนี้แตกต่างจากค้างคาวมงกฎพันธุ์อื่น ตรงที่มีแผ่นจมูกสีส้ม

ค้นพบ! สิ่งมีชีวิตสปีชีส์ใหม่ 115 สายพันธุ์ใน \"ลุ่มแม่น้ำโขง\"

กิ้งก่าจระเข้ ขนาดกลาง อยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำและป่าดงดิบทางใต้ของจีนและทางเหนือของเวียดนาม ถูกคุกคามทั้งจากการบุกรุกป่า ทำเมืองถ่านหิน อีกทั้งยังมีการลักลอบนำมาขายอีกด้วย โดยในเวียดนามนั้น เหลือกิ้งก่าพันธุ์นี้เพียง 200 ตัวเท่านั้น

ค้นพบ! สิ่งมีชีวิตสปีชีส์ใหม่ 115 สายพันธุ์ใน \"ลุ่มแม่น้ำโขง\"

ขณะที่ ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา มีการตรวจพบสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ใหม่ในลุ่มแม่น้ำโขงมากกว่า 2 พัน 500 สปีชีส์แล้ว หรือเฉลี่ยเป็นการพบสปีชีส์ใหม่ 2 สปีชีส์ต่อสัปดาห์เลยทีเดียว ทั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์วิตกว่า อันที่จริง ลุ่มแม่น้ำโขงมีสปีชีส์ใหม่อีกมาก แต่การพัฒนาสาธารณูปโภคอาทิ การสร้างถนน การสร้างเขื่อน และการลักลอบล่าสัตว์นั้น จะทำให้พวกมันสูญพันธุ์ก่อนจะค้นพบสู่สายตาโลกเสียอีก

 

related