SHORT CUT
สังคมไทย ต่างคน ต่างเครียด! สภาพัฒน์ฯ เผยสถิติคนไทยเครียดมากขึ้นทุกช่วงอายุ มาจากบริบทที่แตกต่างกันไป หากปล่อยไว้กระทบคุณภาพประชากรและการเติบโตทางเศรษฐกิจแน่ และไทยยังขาดแคลนบุคลากรด้านสุขภาพจิตอย่างมาก
สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดเผยรายงานภาวะสังคมไตรมาสที่ 1/2567 พบว่าปัญหา Mental Health หรือ ปัญหาสุขภาพจิตในไทยมีแนวโน้มรุนแรงเพิ่มต่อเนื่อง หากไม่เร่งแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม จะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชากรและการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล
โดยพบว่า คนแต่ละช่วงวัยในประเทศไทย มีภาวะความเครียดอันเป็นต้นกำเนิดของปัญหาสุขภาพจิตแตกต่างกันไป ดังนี้
ส่วนหนึ่งอยู่ในภาวะหมดไฟในการเรียนรู้ และมักมีสาเหตุมาจาก การเรียนและความคาดหวังด้านการทำงานในอนาคตและสถานะทางการเงินของครอบครัว ขณะเดียวกันพบว่าการกลั่นแกล้ง (Bully) ยังเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เด็กและเยาวชนเกิดภาวะซึมเศร้า ต้นเหตุจากความอับอาย ขาดความมั่นใจในตัวเอง อาจส่งผลระยะสั้นหรือยาว เป็นอุปสรรคต่อเป้าหมายในอนาคตได้
มักมาจากความเครียดในการทำงานและปัญหาการดำรงชีพ โดยพบว่าคนวัยนี้ใช้เวลากว่า 1 ใน 3 ของวันไปกับการทำงาน ทำงานหนักเกินไป และมีงานวิจัยพบว่าคนกรุงเทพฯ 7 ใน 10 มีอาการหมดไฟในการทำงาน ซึ่งหากภาวะเหล่านี้ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องต่อเนื่อง จะทำให้ปัญหาสุขภาพร่างกายรุนแรงมากขึ้นด้วย
ทำให้รู้สึกเสียคุณค่าในตัวเอง โดยพบว่าผู้สูงอายุจะมีความสุขน้อยลงตามวัยที่เพิ่มขึ้น เพราะขาดกิจกรรมและการมีบทบาทในสังคม และยังมีอีกส่วนหนึ่งต้องเผชิญภาวะความจำเสื่อม ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตด้านอื่นตามมาอีก
นอกจากนี้ สถานการณ์การกระทำอัตนิวิบากกรรมของคนไทยมีอัตราสูงขึ้นมาก ใกล้เคียงช่วงเกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง แต่กลับสวนทางกับสัดส่วนบุคลากรทางการแพทย์เกี่ยวกับสุขภาพจิต ที่ยังมีอัตราส่วนที่น้อยมากจนขาดแคลนเมื่อเทียบกับจำนวนประชากร และต่ำกว่าค่ามาตรฐานขององค์การอนามัยโลก (WHO) เช่น อัตราส่วนจิตแพทย์ไทย 1.3 คน ต่อประชากรแสนคน และในบางจังหวัด “ไม่มีจิตแพทย์เลย”