svasdssvasds

ทำ "คนรุ่นเก่า" ในออฟฟิศให้รับแนวคิด "คนรุ่นใหม่" อ่อนประสบการณ์ แต่ครีเอท!

ทำ "คนรุ่นเก่า" ในออฟฟิศให้รับแนวคิด "คนรุ่นใหม่" อ่อนประสบการณ์ แต่ครีเอท!

คำว่าคนรุ่นเก่า และ คนรุ่นใหม่ ฟังดูเหมือนจะธรรมดา แต่ในอีกทางหนึ่งคำพูดพวกนี้ ออกจะดูตัดสินกันผ่านผิวเผินไปแล้วซะส่วนมาก เพราะแค่ แก่กว่าหรืออ่อนกว่า

SHORT CUT

  • เราไม่สามารถพูดทุกอย่างตามที่ต้องการได้ แม้มันเป็นความจริงมากขนาดไหนก็ตาม แต่สถานะความเป็นหัวหน้าที่มาพร้อม "อำนาจ" และ "ความเหนือกว่า" ยังอยู่กับกลุ่มเจน X และ เบบี้บูมเมอร์
  • คนเจน X และ เบบี้บูมเมอร์มักจะนำปัญหาส่วนตัวทิ้งไว้ที่บ้าน ไม่ปะปนกับงาน แต่คนเจน Z จะนำมุมมองและอารมณ์ของพวกเขามาใช้ในที่ทำงาน 
  • หาจุดตรงกลาง และออฟฟิศไม่ควรต้องรอให้พนักงานใหม่เป็นผู้ที่ต้องเสนอความคิดแต่เพียงอย่างเดียว คนเก่าๆควรสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย ให้ทุกคนรู้สึกว่ากล้าในการถามคำถาม ร้องขอ และเสนอแนวคิด
     

คำว่าคนรุ่นเก่า และ คนรุ่นใหม่ ฟังดูเหมือนจะธรรมดา แต่ในอีกทางหนึ่งคำพูดพวกนี้ ออกจะดูตัดสินกันผ่านผิวเผินไปแล้วซะส่วนมาก เพราะแค่ แก่กว่าหรืออ่อนกว่า

ในโลกของการทำงานนั้น มองภายนอกอาจจะดูสวยงาม แต่พอถึงจุดหนึ่งความกดดัน และอะไรต่างๆอีกมากมายต่างถาโถม ทำให้การทำงานนั้นเป็นสิ่งที่ค่อนข้างจะไม่สนุกอีกแล้ว และเราไม่สามารถพูดทุกอย่างตามที่ต้องการได้ แม้ว่าจะมีเสียงเพื่อนร่วมงานคอยสนับสนุน หรือมันเป็นความจริงมากขนาดไหนก็ตาม แต่สถานะความเป็นหัวหน้าที่มาพร้อม "อำนาจ" และ "ความเหนือกว่า" ยังอยู่กับกลุ่มเจน X และ เบบี้บูมเมอร์ 

แก้ได้ยากก็ต้องปรับตัวทั้งคนรุ่นใหม่และรุ่นเก่า

ต้องบอกก่อนว่า คำว่าคนรุ่นเก่าหรือ คนรุ่นใหม่ เป็นแค่มายาคติ เพราะทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับทัศนคติและความคิดของแต่ละบุคคล ที่จะเปิดรับความคิดเห็นและการกระทำของฝ่ายตรงข้ามอย่างไร แต่ก็มีจุดตรงกลางที่น่าจะทำให้แต่ละฝ่ายนั้น ลงตัวและน่าจะปรับตัวเข้าหากันได้

  • ทัศนคติต่องาน คนรุ่นใหม่มักมองงานเป็นแค่องค์ประกอบหนึ่งของชีวิต เราจะได้ยินคำว่า work life balance ถูกพูดถึงอยู่บ่อย ๆ เป็นคุณค่าที่คนรุ่นใหม่ยึดถือ เพราะพวกเขาต้องการอิสระเสรีนอกเวลางานไปทำกิจกรรมที่เขาเหล่านั้นให้คุณค่าเช่นกัน ไม่ใช่แค่ตัวตนในหน้าที่การงาน แต่เป็นตัวตนอื่น ๆ นอกเวลางานอีกด้วย ในขณะที่คนรุ่นเก่ามีประสบการณ์ช่วงหลังสงครามเย็น พวกเขาเหล่านั้นต้องพยายามทำงานอย่างสุดความสามารถ ไม่ย่อท้อแม้งานจะหนักแค่ไหน สู้กัดฟันเพื่อตั้งตัวให้ได้ และเห็นงานเป็นส่วนใหญ่มาก ๆ ของการนิยามตัวตน 
  • เทคโนโลยี เป็นเรื่องที่ไม่น่าแปลกใจที่คนรุ่นใหม่จะมีทักษะการใช้เทคโนโลยีมากกว่าคนรุ่นเก่า เพราะเขาเติบโตมากับสิ่งนี้ ใช้เทคโนโลยีมาตั้งแต่อายุยังน้อย พวกเขาจึงปรับตัวเร็ว มีทักษะในการเข้าสังคม เพราะการมีตัวตนอยู่ในโลกออนไลน์หรือโลกเสมือนก็อาศัยการปั้นตัวตน การแสดงออกบางอย่างให้คนอื่นรู้ว่าเราคือใคร ในขณะที่คนรุ่นก่อนไม่ได้เติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยี การทำงานส่วนใหญ่เป็นงานเอกสารแบบสิ่งพิมพ์ เขาเหล่านั้นจะชินกับการเข้าสังคมในลักษณะเป็นทางการมากกว่า  
     

ความแตกต่างที่น่าอึดอัด

ไม่ใช่ว่าพนักงานระดับหัวหน้างานหรือผู้จัดการไม่รับฟังสิ่งที่พนักงานรุ่นใหม่พูดหรือให้ความช่วยเหลือ เพียงแต่ปัญหาของเหล่าหัวหน้าคือหลายครั้งไม่สามารถทำตามสิ่งที่พวกเขาร้องขอได้ แต่ไม่อยากเป็นคนไม่ดีในสายของใครที่จะต้องพูดปฏิเสธเรื่องเหล่านั้น

นอกจากนี้ หัวหน้าหรือผู้จัดการรุ่นก่อนบางคนอาจรู้สึกไม่สบายใจที่คนรุ่นใหม่นำปัญหาส่วนตัวเข้ามาพูดในที่ทำงาน เพราะคนเจน X และ เบบี้บูมเมอร์มักจะนำปัญหาส่วนตัวทิ้งไว้ที่บ้าน ไม่ปะปนกับงาน แต่คนเจน Z จะนำมุมมองและอารมณ์ของพวกเขามาใช้ในที่ทำงาน นี่จึงเป็นสิ่งที่ท้าทายและสร้างความอึดอัดให้แก่คนรุ่นก่อน

 

ทั้งนี้ ออฟฟิศไม่ควรต้องรอให้คนรุ่นใหม่เป็นผู้ที่ต้องเสนอความคิดแต่เพียงอย่างเดียว หัวหน้าควรสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย ให้ทุกคนรู้สึกว่ามีอำนาจในการถามคำถาม ร้องขอ และเสนอแนวคิด ด้วยการสร้างความปลอดภัยทางจิตใจ ช่วยให้พนักงานมั่นใจว่าคำพูดของพวกเขาจะไม่จางหายไปตามสายลม ซึ่งหัวหน้าควรเป็นคนแรกที่เริ่มพูดก่อน จากนั้นให้คนรุ่นใหม่คนอื่นเสนอสิ่งที่ต้องการและไม่ต้องการ

หากออฟฟิศสามารถดำเนินการตามนี้ได้สำเร็จ จะทำให้ไม่ต้องเสียเหล่าคนรุ่นใหม่ศักยภาพสูงไป ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการสรรหาบุคลากรใหม่ อีกทั้งการกำหนดให้คนรุ่นใหม่ที่จะมีสิทธิ์เสนอไอเดียจะต้องเป็นคนที่มีต้นทุนทางสังคมก่อนนั้นจะทำให้ออฟฟิศพลาดไอเดียและนวัตกรรมใหม่จากพนักงานรุ่นใหม่ไปด้วย

อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงจะเกิดขึ้นเมื่อคนรุ่นหลังๆได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้บริหารมากขึ้น และเมื่อคนเจน Z เข้ามาทำงานมากขึ้น ตอนนั้นจะได้รู้กันว่าทิศทางการพูดคุยในที่ทำงานจะเปลี่ยนไปอย่างไร หรือจะไม่มีอะไรเปลี่ยนไปจากยุคนี้เลยหรือไม่?
 

related