svasdssvasds

7 กลยุทธ์ที่ช่วยให้เรา ล้มเร็วลุกไว หรือ Resilience ได้ดียิ่งขึ้น

7 กลยุทธ์ที่ช่วยให้เรา ล้มเร็วลุกไว หรือ Resilience ได้ดียิ่งขึ้น

ไม่ว่าจะล้มเหลวกี่ครั้ง ก็ไม่สำคัญเท่ากับว่าเราลุกได้เร็วขนาดไหนและได้เรียนรู้อะไรจากความล้มเหลวที่เกิดขึ้นบ้าง ยิ่งลุกขึ้นเร็วก็ยิ่งก็เริ่มต้นใหม่ได้เร็วและทำให้เราเร็วลุกไวได้เร็วมากยิ่งขึ้นในครั้งต่อๆ ไป

SHORT CUT

  • ความล้มเหลวเป็นองค์ประกอบสำคัญของความสำเร็จ ไม่มีความสำเร็จใดที่ไม่ผ่านความล้มเหลวมาก่อน 
  • ไม่ใช่ทุกคนที่ล้มเหลวแล้วจะประสบความสำเร็จ ความสำเร็จมีไว้สำหรับคนที่ไม่หยุดก้าวเดิน เรียกว่าล้มแล้วต้องรีบลุกเพื่อก้าวเดินต่อไป
  • ไม่ว่าจะล้มเหลวกี่ครั้งก็ไม่สำคัญเท่ากับว่าเราลุกได้เร็วขนาดไหนและได้เรียนรู้อะไรจากความล้มเหลวที่เกิดขึ้นบ้าง

ไม่ว่าจะล้มเหลวกี่ครั้ง ก็ไม่สำคัญเท่ากับว่าเราลุกได้เร็วขนาดไหนและได้เรียนรู้อะไรจากความล้มเหลวที่เกิดขึ้นบ้าง ยิ่งลุกขึ้นเร็วก็ยิ่งก็เริ่มต้นใหม่ได้เร็วและทำให้เราเร็วลุกไวได้เร็วมากยิ่งขึ้นในครั้งต่อๆ ไป

เรารู้กันดีว่าความล้มเหลวเป็นองค์ประกอบสำคัญของความสำเร็จ ไม่มีความสำเร็จใดที่ไม่ผ่านความล้มเหลวมาก่อน จะเรียกความล้มเหลวว่าเป็นบันไดของความสำเร็จก็ไม่ผิดนัก ทุกคนที่ประสบความสำเร็จล้วนแต่เคยผ่านความล้มเหลวผิดพลาดมาแล้วนั้น  

ในทางตรงกันข้ามกลับไม่ใช่ทุกคนที่ล้มเหลวแล้วจะประสบความสำเร็จ ความสำเร็จมีไว้สำหรับคนที่ไม่หยุดก้าวเดิน เรียกว่าล้มแล้วต้องรีบลุกเพื่อก้าวเดินต่อไป เมื่อพบกับความผิดพลาดล้มเหลวอีกก็ต้องรีบฟื้นตัวลุกขึ้นเพื่อเดินต่อไป เป็นแบบนี้ซ้ำแล้วซ้ำอีก คุณสมบัตินี้เรียกว่า “Resilience”  หมายถึง “ทักษะการฟื้นตัวเมื่อเกิดความผิดพลาดหรือเผชิญความลำบาก”  ซึ่งผู้เขียนชอบใช้คำว่า “ล้มเร็วลุกไว” 

ในสถานการณ์ที่โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและยากคาดเดาในปัจจุบัน ไม่ว่าเป็นสถานการณ์โควิด 19 เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา หรือประสิทธิภาพการทำงาน AI ที่พัฒนาอย่างรวดเร็วในตอนนี้ ทำให้หลายอาชีพแอบหนาวๆ ร้อนๆ ไปตามๆ กัน ความสามารถ “ล้มเร็วลุกไว” จึงกลายเป็นสิ่งจำเป็นมาก สำหรับการเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ ลองทำสิ่งที่ไม่เคยทำ ทำไม่ได้ไม่เป็นไร ผิดพลาดไม่เป็นไร ลองใหม่ ซ้ำแล้วซ้ำอีก แบบไม่ท้อถอย 

แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกคนจะกล้าลองผิดลองถูก กล้าล้มเหลวผิดพลาด โดยเฉพาะคนที่มีอายุมากมีแนวโน้มจะทำได้ยากกว่าเด็กรุ่นใหม่ คนที่เกิดมาในสภาพแวดล้อมที่ต้องดิ้นรนย่อมทำได้ดีกว่าคนที่เกิดมาในสิ่งแวดล้อมที่มีทุกอย่างสมบูรณ์พร้อม อย่างไรก็ตามคุณสมบัติ “ล้มเร็วลุกไว” หรือ “Resilience”  เป็นสิ่งที่เราสามารถพัฒนาปรับปรุงได้ผ่านการฝึกฝนเหมือนกล้ามเนื้อที่แข็งแรงขึ้นเมื่อเราออกกำลังกายเป็นประจำ 

Daniel Bull นักปีนเขาชื่อดังชาวออสเตรเลียได้แนะนำ 7 กลยุทธ์ที่ช่วยให้เรา Resilience ได้ดีขึ้นดังนี้

  1. ปรับเปลี่ยนวิธีมองหรือมุมมองต่อสิ่งต่างๆ เพื่อให้เราเห็นความเป็นไปได้ใหม่ๆ รวมถึงการให้ความหมายต่อสิ่งที่เราเผชิญในแบบอื่น เช่น ความล้มเหลวคือเส้นทางของความสำเร็จที่ทุกคนต้องเดินผ่าน
  2. ให้ความสำคัญกับสิ่งที่เราสามารถควบคุมได้ เราไม่สามารถควบคุมทุกสิ่งอย่างได้แต่เราสามารถเตรียมตัวให้พร้อม ทำในส่วนที่เราทำได้ให้ดีที่สุด สำรวจดูให้แน่ใจว่ามีอะไรที่เราทำให้ดีขึ้นได้บ้างแล้วปล่อยวางผลลัพธ์ 
  3. ให้ความสำคัญกับสิ่งที่ทำมากกว่าผลลัพธ์ มีปัจจัยมากมายที่ทำให้ผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามที่คิด ผลลัพธ์จึงเป็นสิ่งที่ควบคุมได้ยาก การคาดหวังผลลัพธ์จึงเสี่ยงจะทำให้เราผิดหวัง หมดกำลังใจ การปล่อยวางผลลัพพ์และให้ความสำคัญกับสิ่งที่เราทำและจัดการได้ช่วยให้เรามุ่งมั่นและพยายามอย่างเต็มที่
  4. มองภาพใหญ่ ความล้มเหลวเป็นจุดเล็กๆ บนเส้นทางชีวิต ให้เรามองภาพใหญ่เหมือนการใช้ Google Map ต่อให้เราเลี้ยวผิดทางแต่ถ้าไม่หยุดเดินต่อแผนที่จะค้นหาเส้นทางใหม่ไปสู่ปลายทางที่เราปักหมุดไว้ หากเราไม่หยุดเดินความล้มเหลวจะกลายเป็นเพียงความผิดพลาดหนึ่งบนเส้นทางไปสู่เป้าหมาย
  5. ย้ำเตือนตัวเองถึงความตั้งใจและความปรารถที่แท้จริง ตรวจสอบ หาคำตอบดูว่า เราต้องการทำสิ่งนั้นไปเพื่ออะไร สาเหตุ ที่มาคืออะไร อะไรคือความตั้งใจและแรงปรารถนาที่ทำให้เราอยากทำเป้าหมายให้สำเร็จ คำตอบที่ชัดเจนจะช่วยให้เราไม่ยอมแพ้หรือหมดแรงง่ายๆ เมื่อเผชิญกับอุปสรรคหรือความล้มเหลวในระหว่างทาง

    6. คิดไว้เลยว่ามีความเสี่ยงและความล้มเหลวเกิดขึ้น มองโลกตามความเป็นจริง การคิดแบบนี้ยังช่วยให้เราระมัดระวัง หาทางป้องกันความเสี่ยง มีแผนสำรอง ทำให้เราไม่กลัว ไม่กังวลกกับความล้มเหลวจนไม่ยอมลงมือทำ นอกจากนี้ความล้มเหลวยังเป็นโอกาสทำให้เราเติบโตและเรียนรู้ ทำให้เราก้าวเดินไปสู่เส้นทางความสำเร็จข้างหน้าได้อย่างมั่นคงขึ้น

    7. กล้าที่จะขอความช่วยเหลือ ไม่มีความสำเร็จใดที่ทำได้เพียงลำพังดังนั้นการขอความช่วยเหลือจึงเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ การได้รับการสนับสนุนที่ดีจากทีมและเครือข่ายทำให้เราเห็นความเป็นไปได้ใหม่ๆ และเชื่อมต่อจุดเล็กๆ กลายเป็นเส้นทางเดินไปสู่ความสำเร็จ

ไม่ว่าจะล้มเหลวกี่ครั้งก็ไม่สำคัญเท่ากับว่าเราลุกได้เร็วขนาดไหนและได้เรียนรู้อะไรจากความล้มเหลวที่เกิดขึ้นบ้าง ยิ่งลุกขึ้นเร็วก็ยิ่งก็เริ่มต้นใหม่ได้เร็วและทำให้เราเร็วลุกไวได้เร็วมากยิ่งขึ้นในครั้งต่อๆ ไป ได้บทเรียนมากขึ้นตามไปด้วย คุณค่าของความล้มเหลวจึงอยู่ที่ “ความเร็วในการลุกขึ้นสู้อีกครั้งและบทเรียนที่ได้จากความล้มเหลวที่ผ่านมา”

เพชร ทิพย์สุวรรณ

อดีต Corporate HR ที่ชอบเม้ามอยเทคนิคและเคล็ดลับการทำงานผ่านตัวหนังสือ 

ปัจจุบันเป็นวิทยากรและที่ปรึกษาด้านการคัดเลือก พัฒนาบุคคลากรของ ALERT Learning and Consultant

อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม

 

related