svasdssvasds

รู้จัก "ช่องว่างระหว่างวัย" หรือ Generation Gap ที่อาจเป็นปัญหาหลักที่ทำงาน

รู้จัก "ช่องว่างระหว่างวัย" หรือ Generation Gap ที่อาจเป็นปัญหาหลักที่ทำงาน

ช่องว่างระหว่างวัย หรือ Generation Gap Gap ไม่เพียงแต่เป็นเรื่องของอายุเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของความต่างด้านความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ รวมไปถึงการเติบโตที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดความขัดแย้งในองค์กรอยู่บ่อยครั้ง

รู้จัก "ช่องว่างระหว่างวัย" หรือ Generation Gap ที่อาจเป็นปัญหาหลักที่ทำงาน

ในโลกธุรกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็วในปัจจุบันองค์กรต่างๆ  ถูกขับเคลื่อนไปข้างหน้าโดยพนักงานที่มีความหลากหลายมากมาย อาทิ ความคิด วัฒนธรรม ศาสนา ความเชื่อ ทัศนคติ และการเติบโตที่ต่างกัน หากไม่ได้รับการแก้ไขที่ถูกต้อง อาจกลายเป็นปัญหาใหญ่ขององค์กรได้ Generation Gap จึงเป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่องค์กรต่างๆ ต้องเร่งพิจารณาเป็นอันดับต้นๆ เพื่อรับมือและปรับความเข้าใจของความต่างระหว่างวัย เพื่อให้พนักงานในองค์กรอยู่ร่วมกันได้อย่างไร้ปัญหาและนำพาองค์กรสู่ความยั่งยืน 

ช่องว่างระหว่างวัย หรือ Generation Gap คืออะไร?

เมื่อเราพูดถึง Generation Gap หรือกลุ่มคนที่มีหลายช่วงอายุในที่ทำงาน ต้องยอมรับว่าแต่ละ Generation มีความต้องการและความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ซึ่งเราต้องรู้จักวิธีรับมือด้วยความเข้าใจ

  • Silent Generation

กลุ่มคนที่เกิดในช่วงปี 1923-1945 มักมีความเคร่งครัดในกฎระเบียบ เป็นกลุ่มคนที่ผ่านความยากลำบาก ทำให้มีแนวคิดในเรื่องของความไม่มีอะไรแน่นอน และใช้ทั้งชีวิตเพื่ออุทิศให้คนในครอบครัว และเน้นพึ่งพาตัวเองเป็นหลัก ซึ่งกลุ่มคนเจนนี้ จะเป็นกลุ่ม ปู่ย่า ตายาย ของเรานั่นเอง

  • Baby Boomers

กลุ่มคนที่เกิดในช่วงปี 1946-1964 มักมีความเชื่อถือในความมุ่งมั่นและความหมั่นเพียรในการทำงาน และมองว่าประสบการณ์ทางการงานมีค่าและมีความสำคัญมากที่สุด

  • Generation X

กลุ่มคนที่เกิดระหว่างปี 1965-1980 เป็นคนที่มีลักษณะนิสัยที่เป็นอิสระและทรงพลัง มักมีทักษะการทำงานที่ดีและใช้ประโยชน์จากทักษะด้านเทคโนโลยี

  • Generation Y หรือกลุ่ม Millennials

กลุ่มคนที่เกิดระหว่างปี 1981-1996 เป็นคนที่มีลักษณะนิสัย หัวสมัยใหม่ มีความตั้งใจในการทำงาน พร้อมไฟอันแรงกล้า แต่ก็ตรงไปตรงมาในเรื่องการแยกเวลางานกับเวลาส่วนตัว รวมไปถึงการสนับสนุนค่านิยมการทำงานแบบ Work Life Balance เพื่อเน้นให้ตัวเองมีความสุขทั้งกับการทำงานและชีวิตส่วนตัว นอกจากนี้ยังเป็นช่วงวัยที่เน้นการทำงานที่มีผลตอบแทนที่คุ้มค่า หากพบเจอปัญหาในที่ทำงาน ที่ทำลายความสุขส่วนตัวในชีวิต ก็พร้อมจะเดินหน้าหาที่ทำงานใหม่ที่ฟิตกับไลฟ์สไตล์ของตนเองแบบไม่ลังเล

  • Generation Z

กลุ่มคนที่เกิดตั้งแต่ปี 1997 – 2012  ซึ่งเป็นคนที่มีความเชี่ยวชาญในการใช้เทคโนโลยีและมีทักษะทางดิจิทัลที่แข็งแกร่ง และเป็นกลุ่มสุดท้ายที่ตอนนี้เริ่มเข้ามามีบมบาทในการทำงานมากขึ้น แม้จะเป็นส่วนน้อย แต่ในอนาคตจะเป็นกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญในการทำงานอย่างแน่นอน

การรับมือกับช่องว่างระหว่างวัย Generation Gap ในที่ทำงาน

วิธีการรับมือกับ Generation Gap ช่องว่างระหว่างวัย หรือกลุ่มคนที่มีหลายช่วงอายุในที่ทำงาน คือการเคารพความแตกต่าง พร้อมกับการยอมรับในตัวตนของกันและกันมากขึ้น โดยสิ่งแรกที่ควรทำคือ

1. การเปิดใจรับฟังทุกคนอย่างเข้าอกเข้าใจ ทั้งในเรื่องของมุมมอง และความรู้ ประสบการณ์ที่แต่ละช่วงวัยได้พบเจอมา

2. มีการชื่นชมจุดที่เป็นความภาคภูมิใจของผู้อื่นมากขึ้น  เนื่องจากคำชื่นชมจะเป็นการเพิ่มกำลังใจ เติมความสุขและเสริมให้ช่วยกันทำงานให้ประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น  

3. เสริมข้อมูลสำคัญที่จำเป็นต่อการสร้างความเข้าใจในแต่ละช่วงวัย

4. สร้างทางเลือกที่มาจากความแตกต่างเพื่อให้งานออกมาได้หลายมุมมองและมีมิติ

5. ขอบคุณสำหรับความช่วยเหลือต่างๆ ที่ได้มาจากจุดที่แต่ละวัยมีความภาคภูมิใจที่ต่างกัน เพื่อเคารพซึ่งกันและกัน

ดวงพร พรหมอ่อน กรรมการผู้จัดการ JobsDB Thailand (บริษัท จ๊อบส์ ดีบี ประเทศไทย จำกัด) ระบุว่า JobsDB by SEEK ได้ร่วมพูดคุย หรือสำรวจปัญหาจากทางผู้ประกอบการ และฝ่ายทรัพยากรบุคคลพบว่า Generation Gap ไม่เพียงแต่เป็นเรื่องของอายุที่แตกต่างกันเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของความต่างด้านความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ รวมไปถึงการเติบโตที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลาของสังคม ก่อให้เกิดปัญหาในองค์กรได้ง่าย และทำให้เกิดความขัดแย้งอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งส่งผลให้พนักงานบางคนอาจตัดสินใจลาออกเพื่อหนีปัญหา ซึ่งอาจทำให้องค์กรต้องสูญเสียพนักงานฝีมือดีไป โดยเกิดจากการไม่เข้าใจของคนต่างวัยนั่นเอง" 

ขณะที่นพพล นพรัตน์ ที่ปรึกษาและวิทยากรให้แก่บริษัทชั้นนำมากมายในหลากหลายอุตสาหกรรม ระบุเพิ่มเติมว่า นอกจากการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างวัยแล้ว สิ่งที่องค์กรควรให้ความสนใจนั่นคือ การยืดหยุ่นในการทำงาน เพื่อสร้างความสมดุลให้กับคนทำงานได้มากขึ้น คือการจัดสวัสดิการให้สอดคล้องกับคนแต่ละช่วงวัย, การผ่อนคลายข้อจำกัดบางอย่างในเรื่องของการทำงาน อย่าง Hybrid Work หรือ การลาพักร้อนที่สามารถปรับเปลี่ยนหรือสะสมวันลาได้ และสุดท้ายคือการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมตัวตนของแต่ละช่วงวัย ให้ดึงศักยภาพของแต่ละคนที่มีออกมาเพื่อนำมาพัฒนาองค์กร

“หากเราเชื่อมั่นว่าปัญหาระหว่างวัยในที่ทำงานสามารถแก้ไขได้ และไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่ทุกคนต้องเรียนรู้ซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะเรื่องของการสื่อสารให้เข้าใจในเป้าหมาย และแนวทางของตนเอง เมื่อมีเป้าหมายเดียวกันแล้ว จะเกิดการรับฟังมากขึ้น แม้จะมีจะมีการขัดแย้งบ้างแต่ก็คงไม่ใช่อุปสรรคในการทำงานร่วมกันอีกต่อไปครับ”

บทความที่เกี่ยวข้อง

 

related