ใครๆก็คงต้องมีวันที่ป่วยหรือติดธุระต้องไปสะสาง และต้องใช้สิทธิ์ลางาน แต่บางครั้งการจะลาหยุดแต่ละทีก็รู้สึกเกรงใจ กลัวเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้างานจะไม่เข้าใจ วันนี้เราจะมาแชร์ทริคการลางานอย่างไร ให้สบายใจทั้งหัวหน้าและพนักงานอย่างเราๆ
อยากจะลางาน แต่กลัวหัวหน้าจะมองว่าเราโกหก เป็นปัญหาของชีวิตวัยทำงานหลายๆคน แต่จริงๆแล้วทุกคนต่างก็ต้องมีเหตุจำเป็นให้ต้องลางานกันทั้งนั้นไม่ว่าจะเป็นลาป่วย ลาไปทำธุระ ลาคลอด (หรือแอบลาไปสัมภาษณ์งานก็มี) แต่พอถึงเวลาที่จะบอกหัวหน้า ดันรู้สึกกระอักกระอ่วนใจ กลัวหัวหน้าจะมองเราในทางไม่ดี วันนี้เราจะมาแชร์ทริคการลางานอย่างไร ให้สบายใจทั้งหัวหน้าและพนักงานอย่างเราๆ
ทำความรู้จักกับกฎหมายการลางานก่อน
บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง
ลางานอย่างไรให้ถูกใจหัวหน้า
1. ก่อนจะลาป่วย คิดให้ดีก่อนว่ามาทำงานไหวไหม
ถ้ายังจะพอมาไหวอยู่ แสดงสปิริตให้หัวหน้าเห็น ว่าถึงป่วย แต่ใจเราสู้ เรายังมาทำงานนะ บางทีหัวหน้าอาจจะใจดีให้คุณกลับไปพักโดยที่ไม่ต้องลาเลยก็ได้นะ แต่ถ้ามาไม่ไหว ก็ลาพักไปเลยตามความจริง ไม่ต้องกังวลใจอะไร แต่ถ้าอยากอุ่นใจก็อาจจะมีใบรับรองแพทย์ประกอบการลา จะได้เป็นกิจลักษณะมากขึ้น ดีกว่าลาป่วยแบบปากเปล่า
2. ถ้ามีเหตุต้องลากะทันหันมากๆ
แจ้งหัวหน้าให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ อย่าปล่อยจนสายเกินไป และที่สำคัญควรบอกตามความจริงด้วย เผื่อโป๊ะทีหลังขึ้นมา คุณจะดูเป็นคนไม่น่าเชื่อถือทันที เช่น ถ้าระหว่างทางดันเกิดอุบัติเหตุไม่คาดคิดก็ควรถ่ายรูปสถานการณ์ไปให้ดู ไม่ใช่บอกลอยๆ แล้วลาหายไปเลย หรือถ้ามีเหตุจำเป็นกะทันหันเช่น หมาป่วย แม่ไม่สบาย หรืออะไรก็ตามที่เราจะต้องจัดการทันทีก็ควรคุยกับหัวหน้าด้วยเหตุผลและความจริง หัวหน้าที่ดีจะต้องเข้าใจเราอย่างแน่นอน
3. เคลียร์งานให้เสร็จ
ถ้ารู้ว่าต้องลางาน สิ่งที่ต้องทำให้เสร็จก่อนลาก็คืองานที่เราได้รับมอบหมาย ควรทำให้เสร็จหรือไม่ก็มีความคืบหน้าของงานให้ได้มากที่สุด เพื่อให้ทั้งเราและหัวหน้าสบายใจว่าเมื่อลาแล้ว งานเราจะไม่เสีย หรือไม่ต้องเร่งทำหลังจากมาทำงาน
4. เลือกวันลาให้ถูก
การลาที่ดี ไม่ควรชนกับวันสำคัญเช่น วันที่มีพรีเซนท์งาน วันที่มีประชุม หรือวันที่มีนัดสำคัญๆนอกเหนือจากว่าจะสุดวิสัยมากจริงๆ เพราะการลางานในวันแบบนี้จะทำให้คุณดูไม่มืออาชีพในการทำงานเลย
5. ระวังเรื่องโซเชียลมีเดีย
อย่างที่บอกไปข้างต้นว่า การลางานควรจะลาด้วยความเป็นจริง เพราะถ้าถูกจับได้ทีหลังอาจจะทำให้คุณดูหมดความน่าเชื่อถือ ถ้าคุณจะลากิจเพื่อไปพักร้อน การโพสต์รูปก็อาจจะทำได้ แต่ถ้าคุณตัดสินใจที่จะโกหกว่าลาป่วยเพื่อไปเที่ยวพักร้อนละก็ ควรจะระมัดระวังในการโพสต์รูปภาพ หรือเช็คอินตามสถานที่ต่างๆในโซเชียลมีเดีย
มาดูในมุมของหัวหน้ากันบ้าง ถ้าพนักงานลาป่วยเท็จ จัดการอย่างไรดี
ตามกฎหมาย นายจ้างสามารถขอใบรับรองแพทย์ได้ ก็ต่อเมื่อลูกจ้างลาป่วย 3 วันขึ้นไป นี่จึงอาจเป็นช่องโหว่ให้หลายๆคนแกล้งลาป่วยหรือป่วยการเมืองได้ แล้วนายจ้างจะทำอย่างไรกับเหตุการณ์นี้
ป่วยการเมือง ก็เป็นปัญหาที่หัวหน้ามักจะพบเจอบ่อยๆ พนักงานที่โกหกว่าป่วยแล้วขอลาจะถือว่าพนักงานละทิ้งหน้าที่และอาจจะเข้าข่ายเจตนาทุจริตต่อนายจ้างหรือบริษัทได้ ซึ่งจริงๆแล้วบริษัทสามารถเลิกจ้างได้โดยไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าชดเชยใดๆถ้าบริษัท พิสูจน์ได้ว่าพนักงานคนดังกล่าวไม่ได้ป่วยจริงๆ
หากหัวหน้าสงสัยว่าพนักงานไม่ได้ลาป่วยจริง โดยที่พนักงานใช้สิทธิลาเกิน3วันแล้ว แต่มีใบรับรองแพทย์มาด้วย หัวหน้าสามารถสั่งให้พนักงานคนนั้นไปตรวจกับแพทย์ที่หัวหน้ากำหนดให้เพื่อยืนยันได้ ถ้าหากสั่งแล้วพนักงานไม่ยอมไป ครั้งแรกจะแค่ส่งจดหมายตักเตือน และยืนยันให้ไปอีกรอบ ถ้ายังไม่ไปอีกสามารถสั่งพักงาน และเมื่อสั่งครั้งที่3 แล้ว พนักงานยังไม่ไปอีกก็จะสามารถเลิกจ้างพนักงานคนนั้นได้
การลางานไม่ว่าจะเป็นลาป่วยหรือลากิจอื่นๆ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้กับพนักงานทุกคน การลางานควรจะลาแบบมีเหตุผล คุยกับหัวหน้าให้เข้าใจซึ่งเทคนิคที่ว่ามานี้จะช่วยให้คุณลาได้อย่างราบรื่น โดยที่งานไม่เสีย เพื่อนร่วมงานไม่เหม็น และเจ้านายยังรักมากอีกด้วย
อ้างอิง
2. https://blog.jobthai.com/career-tips/7-เทคนิคลางานยังไงไม่โดนหัวหน้าหมายหัว
3. businessplus