SHORT CUT
ทำไมธงหลายชาติ ถึงมีลักษณะคล้ายกัน? ไล่ตั้งแต่ธงของชาติยุโรปที่มักมี 3 สี ไปจนถึงธงชาติ แอฟริกันที่มีโทนสีเหมือนกันหมด เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ หรือแค่ความบังเอิญกันแน่
ธงชาติ คือสัญลักษณ์ของประเทศต่างๆ และยังเป็นผืนผ้าที่รวมประวัติศาสตร์ ศาสนา ความภาคภูมิใจ และพลังของคนในชาตินั้นเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งทำให้ผืนผ้านั้นมีความหมายสำคัญยิ่ง
แต่หากธงประจำชาติมีความสำคัญต่อประเทศชาติมากขนาดนั้น ทำไมเราจึงยังพบธงจำนวนมากที่มีลักษณะคล้ายกัน และบางธงแทบจะเหมือนกันจนทำให้คนจำผิดก็มีไม่น้อย ไล่ตั้งแต่ธงของชาติยุโรปที่มักมี 3 สีคล้ายๆ กัน ไปจนถึงธงชาติ แอฟริกันที่มีรูปแบบสีเหมือนกันหมด เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ หรือแค่ความบังเอิญกันแน่ ?
ถ้าสังเกตดีๆ จะพบว่าธงยุโรปหลายชาติมี 3 สี หรือที่เรียกว่า “ธงไตรรงค์” ซึ่งอาจเป็นเพราะใน อดีตนั้น ธงลักษณะนี้ทำได้ง่าย และการใช้ 3 สี ก็เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด ในการสะท้อนสีของกษัตริย์หรือราชอาณาจักรบนธงรบ และเมื่อประเทศหนึ่งใช้ ก็ส่งผลอิทธิพลไปยังประเทศอื่นอย่างเลี่ยงไม่ได้ ด้วยเหตุนี้จึงกลายเป็นบรรทัดฐานสำหรับธงประจำดินแดนต่างๆ ในยุโรป และพัฒนากลายมาเป็นธงชาติในที่สุด เพียงแต่เมื่อก่อนจะมีการใส่สัญลักษณ์อินทรีหรือสิงโตไว้บนผืนธงด้วย แต่หลังจากการล่มสลายของสถาบันกษัตริย์หลายประเทศ ก็มีการเอาสัญลักษณ์ออกไป เหลือไว้แค่สีบนผืนธงเท่านั้น
แม้ว่าจะมีข้อถกเถียงอยู่บ้าง แต่ ‘History With Hilbert’ ช่องยูทูบเล่าประวัติศาสตร์ชื่อดัง ตั้งข้อสังเกตถึงทฤษฎีที่มีการยอมรับอย่างกว้างขวางที่สุดว่า เพราะจักรวรรดิดัตช์ที่ ยึดครองดินแดนในหลายทวีป ได้นำธง 3 สีผืนแรกมาใช้ในศตวรรษที่ 16 และความมั่งคั่งของพวกเขาก็มีอิทธิพลต่อหลายชาติในยุโรป ซึ่งทำให้ “พระเจ้าปีเตอร์มหาราช (Peter the Great) ” แห่งรัสเซีย ได้สั่งให้ออกแบบธงชาติของตัวเอง โดยใช้ธงดัตช์เป็นแรงบันดาลใจ ส่วนฝรั่งเศสที่เดิมใช้ธงชาติดอก ลิลลี่ ก็เปลี่ยนมาเป็นธงชาติ 3 สีหลังจากการปฏิวัติฝรั่งเศส (1789) ซึ่งคล้ายกับการออกแบบของชาวดัตช์เช่นกัน สังเกตได้จากธงฝรั่งเศส สีเหมือนกับธงชาติเนเธอร์แลนด์ในปัจจุบัน เพียงแค่มีการสลับมุมกันเท่านั้น
แต่ที่คล้ายกับธงชาติธงชาติเนเธอร์แลนด์มากที่สุดคือ ธงชาติของลักเซมเบิร์ก ซึ่งเหมือนกันตั้งแต่สี และการจัดลำดับ แต่ธงชาติลักเซมเบิร์กจะมีโทนสีที่อ่อนกว่า ซึ่งเรื่องนี้เป็นแค่ความบังเอิญเท่านั้น
ส่วนธงชาติ เบลเยียมและเยอรมัน ก็ถูกมองว่ามีความใกล้เคียงกัน โดยมีความแตกต่าง 2 คือ คือธงชาติเยอรมนีมีแถบแนวนอนในขณะที่ธงเบลเยียมมีแถบแนวตั้ง และลำดับสีบนธงชาติเบลเยียมจะเป็นสีดำ เหลือง และแดง (จากซ้ายไปขวา) ในขณะที่ธงเยอรมันจะเป็นสีดำ แดง และเหลืองทอง (จากบนลงล่าง) โดยทฤษฎีหนึ่งอ้างว่า เพราะทั้ง 2 ประเทศ เคยเป็น
ส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้สีดำและสีทอง และอีกทฤษฎีหนึ่งอ้างว่า ทั้ง 2 ประเทศ ได้รับแรงบันดาลใจจากธงไตรรงค์ของฝรั่งเศสมาเหมือนกัน แต่กลับบังเอิญเหมือนธงชาติฮังการี ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากฝรั่งเศส และออสเตรีย
สรุปแล้ว ธง 3 สีในประเทศต่างๆ ของยุโรป อาจมีที่มาจากชาวดัตช์ ซึ่งแพร่กระจายเพราะความสัมพันธ์ทางการทูต หรือการทำสงคราม หรือทั้งหมดอาจเป็นแค่เรื่องบังเอิญก็ได้เช่นกัน
สัญลักษณ์ไม้กางเขน เป็นภาพจำของธงทุกชาติในสแกนดิเนเวีย เพราะเป็นตัวแทนของศาสนาคริสต์ในภูมิภาคนี้ โดยจักรวรรดิเดนมาร์ก เป็นชาติแรกที่ใช้ไม้กางเขนบนธงในปี 1219 และเพราะเป็นผู้ยิ่งใหญ่เพียงหนึ่งเดียวในแถบนอร์ดิกจึงทำให้หลายประเทศออกแบบธงตามเดนมาร์ก เช่น นอร์เวย์ ไอร์แลนด์ สวีเดน ฟินแลนด์ เป็นต้น
นอกจากยุโรปแล้ว ธงชาติแอฟริกาก็มีความคล้ายกันโดยมักใช้ 3 สีได้แก่ สีเขียว เหลือง และแดง ไล่ตั้งแต่ แคเมอรูน กานา เซเนกัลบอล มารี กายอานา ฯลฯ
สาเหตุที่เป็นแบบนั้น เริ่มมาจากเอธิโอเปียที่มีธง สีเขียว เหลือง และแดง มาอย่างยาวนาน และ เป็นประเทศที่ไม่เคยตกอยู่ภายใต้การล่าอาณานิคมโดยตรง จะเคยเสียเอกราชก็แค่ช่วงสั้นๆ ต้นสงครามโลกครั้งที่ 2 (1936-1941) ที่ต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของอิตาลีที่มีจอมเผด็จการ “เบนิโต มุสโสลินี” เป็นผู้นำ
แต่ก่อนหน้านั้น กองทัพของ เอธิโอเปีย เคยรบชนะกองทัพอิตาลีในปี 1895 มาแล้ว และยังบีบให้อิตาลีต้องลงนามใน “สนธิสัญญาแอดดิสอาบาบา (Addis Ababa Action Agenda) ” เพื่อยุติความขัดแย้งและรับรองเอธิโอเปียเป็นประเทศที่มีอำนาจอธิปไตยอย่างสมบูรณ์
จึงทำให้ธงชาติเอธิโอเปียในห้วงเวลานั้น เป็นสัญลักษณ์ของชาติแอฟริกาที่แท้จริง และเป็นแรงบันดาลใจให้หลายชาติในแอฟริกาออกแบบสีบนธงเมื่อชาติของตนเองได้รับเอกราช
ทั้งหมดนี่เป็นเพียงเรื่องคาวความคล้ายกันของธงชาติส่วนหนึ่งบนโลกเท่านั้น เพราะยังมีธงหลายผืนบนส่วนอื่นๆ ของโลกที่มีความคล้ายคลึงกัน เช่น ธงชาติโปแลนด์ และธงชาติอินโดนีเซีย หรือ ธงชาติไอร์แลนด์ และโกตดิวัวร์ แต่น่าเสียดายที่ส่วนใหญ่เหมือนกันเพราะความบังเอิญเท่านั้น ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด
ที่มา : Fisherald
ข่าวที่เกี่ยวข้อง