svasdssvasds

โรคไม่ชอบคนรักเพศเดียวกันแก้ไขอย่างไร เลิกอคติกับ LGBTQ+ ได้หรือไม่?

โรคไม่ชอบคนรักเพศเดียวกันแก้ไขอย่างไร เลิกอคติกับ LGBTQ+ ได้หรือไม่?

'โฮโมโฟเบีย' หรือโรคเกลียดกลัวคนหลากหลายทางเพศ และรักร่วมเพศ แก้ไขอย่างไร จะเลิกอคติกับ LGBTQ+ ได้หรือไม่?

SHORT CUT

  • แนวคิดต่อต้านคนรักร่วมเพศเพิ่งจะเริ่มมีในช่วงยุคกลาง (ค.ศ. 1100-1500) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์และศาสนา
  • ช่วงทศวรรษ 1980 โรคเกลียดกลัวคนรักร่วมเพศและกลัวคนอื่นคิดว่าตนเป็นรักร่วมเพศขึ้นถึงจุดสูงสุด เพราะเป็นช่วงเดียวกับการแพร่กระจายของโรคเอดส์
  • ความเปลี่ยนแปลงทางสังคม และกฎหมายที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ  จะช่วยให้อคติต่อคนหลากหลายทางเพศค่อยๆ หายไปเอง แต่ต้องใช้เวลา

'โฮโมโฟเบีย' หรือโรคเกลียดกลัวคนหลากหลายทางเพศ และรักร่วมเพศ แก้ไขอย่างไร จะเลิกอคติกับ LGBTQ+ ได้หรือไม่?

มนุษย์เรามีความกลัวหลายแบบ เช่นกลัวที่สูง กลัวที่แคบ กลัวงู กลัวนก หรือกลัวสิ่งลึกลับที่ไม่เข้าใจ ซึ่งลึกๆ เราอาจไม่ได้ต้องการกลัวสิ่งนั้น แต่สมองหรือร่างกายอาจตอบสนองให้เรากลัวสิ่งนั้นแบบอัตโนมัติไปเอง

การ 'เกลียดกลัวคนรักเพศเดียวกัน' หรือกลุ่มหลากหลายทางเพศ ที่เรียกกันว่า “โฮโมโฟเบีย (Homophobia) ” ก็ถือเป็นหนึ่งในความกลัว ที่มีมานานตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960 ซึ่ง “จอร์จ ไวน์เบิร์ก (George Weinberg) “ นักจิตวิทยาจากสหรัฐฯ เป็นผู้คิดค้นคำนี้ขึ้นมา โดยนิยามว่า “ความกลัวที่จะเข้าใจคนรักเพศเดียวกัน”

'โฮโมโฟเบีย' แสดงออกอย่างไร?

ผู้ที่มีอาการ “โฮโมโฟเบีย” สามารถแสดงออกได้หลายรูปแบบ ทั้งทางความคิด คำพูด และพฤติกรรม เช่นกีดกันคนรักเพศเดียวกันออกจากกลุ่ม ใช้คำพูดด่าทออีกฝ่ายจนไม่มีคุณค่า และอาจรุนแรงถึงขั้นทำร้ายร่างกายผู้มีความหลากหลายทางเพศด้วย

ทั้งนี้ โฮโมโฟเบียไม่ใช่การแกล้งทำ หรือเกิดจากอคติส่วนตัว แต่ถือเป็นอาการ เพราะ “โฟเบีย (Phobia) ” คือ โรควิตกกังวลที่จะมีอาการกลัวขั้นรุนแรงต่อสถานการณ์หรือบางสิ่งบางอย่างไม่มีเหตุผล และไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ซึ่งผู้ที่เป็น โฮโมโฟเบียส่วนใหญ่ มักอยู่ในกลุ่มรักต่างเพศ แต่ก็มีบางกรณีที่เป็นคนรักเพศเดียวกันด้วย

ทำไมบางคนถึงเป็น 'โฮโมโฟเบีย' ?

โฮโมโฟเบีย เกิดขึ้นจากหลายปัจจัย ตัวอย่างที่เห็นภาพได้ชัดคือ ความเชื่อจากบางศาสนา ที่ขัดแย้งกับประเด็นรักร่วมเพศ ส่วนเรื่องการเลี้ยงดูในครอบครัว ก็มีส่วนด้วย เช่นบางครอบครัวเข้มงวดเรื่องความเป็นชายและหญิงแบบชัดเจน ไม่ยอมรับเกย์หรือเลสเบียน ลูกที่เติบโตมา ไม่ยอมรับการมีอยู่ของหลึ่มหลากหลาย และอาจมองว่าไม่ใช่มนุษย์ด้วยซ้ำ

นอกจากนี้ประสบการณ์ชีวิต ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัย เช่น บางคนเคยถูกคนรักร่วมเพศล่วงละเมิดมาก่อน หรืออาจจะเคยเห็นคนที่เกย์กับเลสเบียนถูกล้อเลียนหรือโดนทำร้าย จนกลายเป็นความทรงจำที่เลวร้ายฝังใจไปเลย

ส่วนกรณีของ คนรักเพศเดียวกัน ที่เป็น โฮโมโฟเบีย ซึ่งอาจเพราะเดิมเกลียดคนรักเพศเดียวกันอยู่แล้ว แต่พอเติบโตขึ้นและมาค้นมาค้นพบตัวเองว่าเป็นโฮโมโฟเบีย เหมือนกัน จึงเกิดความรู้สึกย้อนแย้ง และเกลียดความรักร่วมเพศในตัวเอง และของผู้อื่นเข้าไปอีก

โรคไม่ชอบคนรักเพศเดียวกันแก้ไขอย่างไร เลิกอคติกับ LGBTQ+ ได้หรือไม่?

ภาพรวม 'โฮโมโฟเบีย' บนโลก

การรักร่วมเพศเคยถือเป็นเรื่องปกติที่ยอมรับได้ ในสมัย กรีกโบราณ จักรวรรดิโรมัน แต่แนวคิดต่อต้านคนรักร่วมเพศเพิ่งจะเริ่มมีในช่วงยุคกลาง (ค.ศ. 1100-1500) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลามที่กำลังเฟื่องฟู

หลังจากนั้น เป็นที่รู้กันว่า ช่วงทศวรรษ 1980 โรคเกลียดกลัวคนรักร่วมเพศและกลัวคนอื่นคิดว่าตนเป็นรักร่วมเพศขึ้นถึงจุดสูงสุด เพราะเป็นช่วงเดียวกับการแพร่กระจายของโรคเอดส์ ซึ่งโรคนี้ทำให้คนทั่วไปตระหนักมากขึ้นว่ากลุ่มรักร่วมเพศมีตัวตนในสถาบันทางสังคมทุกแห่งและลักษณะการติดเชื้อของโรคนี้ยังทำให้ชายรักร่วมเพศถูกตีตราอีกด้วย

นอกจากนี่ช่วงทศวรรษนั้น ยังเป็นเวลาที่ทุกคนยุติการเหมารวมที่ว่าทุกคนชอบเพศตรงข้าม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกตะวันตก แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ที่กลัวกลุ่มรักร่วมเพศยังคงพุ่งสูงขึ้นเนื่องจากการเคลื่อนไหวขององค์กรศาสนา และกลุ่มการเมืองที่ออกกฎหมายต่อต้านเกย์

แต่การลดความอันตรายของโรคเกลียดกลัวคนรัก มีสัญญาณที่ดีขึ้น การวิจัยในช่วงต้นศตวรรษที่ 21 พบว่าในยุโรปตะวันตกและอเมริกาเหนือ คนหนุ่มสาวสามารถเอาตัวเองออกจากโรคกลัวคนรักร่วมเพศอย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้ภาวะกลัวคนหาว่าเป็นรักร่วมเพศลดลง จน LGBTQ+ สามารถแสดงพฤติกรรมทางเพศได้หลากหลายมากขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องยึดติดกับเพศของพวกเขาอีกต่อไป

อย่างไรก็ตาม ความเกลียดกลัวคนรักร่วมเพศไม่ได้ลดลงจนหายไป แม้ว่าการรักร่วมเพศจะถูกลดทอนความเป็นอาชญากรรมลงในประเทศที่เจริญแล้วก็ตาม แต่สถานการณ์ในแอฟริกาและบางส่วนของเอเชียกลับยังคงมีความน่าเป็นห่วง ตัวอย่างเช่น แม้ว่าแอฟริกาใต้จะห้ามการเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มรักร่วมเพศในรัฐธรรมนูญหลังการแบ่งแยกสีผิวที่นำมาใช้ในช่วงกลางทศวรรษ 1990 และรับรองการแต่งงานของคนเพศเดียวกันในช่วงทศวรรษแรกของศตวรรษที่ 21 แต่การรักร่วมเพศยังคงผิดกฎหมาย

ส่วนในตะวันออกกลาง ส่วนใหญ่ กฎหมายต่อต้านเกย์และเลสเบี้ยนยังคงมีข้อจำกัดที่เข้มงวดเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ในบางประเทศที่บังคับใช้กฎหมายอิสลามแบบอนุรักษนิยมเป็นพิเศษ บุคคลที่ประพฤติตนรักร่วมเพศอาจถูกลงโทษถึงขั้นประหารชีวิต

โรคไม่ชอบคนรักเพศเดียวกันแก้ไขอย่างไร เลิกอคติกับ LGBTQ+ ได้หรือไม่?

วิธีรักษาอาการเกลียดกลัวคนรักเพศเดียวกัน

ปัจจุบันไม่มีวิธีรักษาอย่างเป็นทางการ เพราะโฮโมโฟเบีย ก็เหมือนกับ อาการ “โฟเบีย” อื่นๆ ที่จู่ๆ จะไปกินยา แล้วจะหายกลัวน้ำ หรือกลัวความสูง แต่สามารถบำบัดให้อาการบรรเทาลงได้ ซึ่งไม่มีวิธีไหนดีไปกว่า การให้ผู้ที่เป็น โฮโมโฟเบีย เข้าหาและเผชิญหน้ากับสิ่งที่กลัวแบบค่อยเป็นค่อยไป

หากอยากเข้าใจกลุ่ม LGBTQ จริงๆ ผู้ที่เป็นโฮโมโฟเบีย ควรเริ่มจาก เข้าร่วมเวิร์คช็อปเกี่ยวกับประเด็นการกลัวกลุ่มรักร่วมเพศ หรือประเด็นเกี่ยวกับกลุ่มหลากหลายทางเพศมากขึ้น หรือถ้าทำด้วยตัวเอง อาจเปิดภาพยนตร์ที่มีตัวละครและเนื้อหา LGBTQ+ เพื่อเข้าใจพวกเขามากขึ้น

นอกเหนือจากนี้ การขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ เช่น การบำบัดหรือการให้คำปรึกษา ก็คือเป็นตัวเลือกที่ดี เพราะหลายครั้งผู้ที่เป็นโฮโมโฟเบียจะชอบปิดบัง ไม่กล้าบอกใคร ดังนั้นการมีพื้นที่ปลอดภัยเพื่อเล่าเรื่องนี้จึงจำเป็นอย่างยิ่ง

แต่ก็อย่างที่รู้กันว่า อาการ โฟเบีย ต่างๆ ต้องอาศัยความร่วมมือจากเจ้าตัวเป็นหลัก ซึ่งเป็นไปได้ยากมากสำหรับ ชาวโฮโมโฟเบีย เพราะพวกเขาส่วนใหญ่ยังเชื่อว่า แนวคิดของตนเองคือสิ่งที่ถูกต้อง ส่วนพวกคนรักร่วมเพศผู้ทำบาปต่างหากที่ต้องเข้ารับการรักษา

อย่างไรก็ตาม แม้จะไม่มีวิธีรักษาที่ชัดเจน แต่ผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากก็เชื่อว่า ความเปลี่ยนแปลงทางสังคม และกฎหมายที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ เช่น การเดินขบวนของเรียกร้องสิทธิของ LGBTQ+ การที่คนดังออกมาประกาศตัวว่าเป็นเกย์ หรือการรองรับกฎหมายสมรสเท่าเทียม จะช่วยให้อคติต่อคนหลากหลายทางเพศค่อยๆ หายไปเอง เพียงแต่ต้องใช้เวลามากกว่านี้

ที่มา : Britannica / อูก้า แอปฯจิตวิทยา

ข่าที่เกี่ยวข้อง 

related