เชื่อว่าหลาย ๆ คนต้องเคยได้ยิน เพลง คาปิบารา (Capybara) ที่นำชื่อของหนูยักษ์ มาร้องเป็นเพลงจนติดหูไปตาม ๆ กัน ใน Tiktok จนคนแห่ไปดูตัวจริงที่สวนสัตว์เพียบ
คาปิบารา (Capybara) สัตว์ที่อยู่สายพันธุ์ใกล้เคียงกับ หนูตะเภา เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและเป็นสัตว์สังคม กินพืชผักผลไม้เป็นอาหาร มีอายุขัยประมาณ 6-12 ปี ความสูงช่วงไหล่เฉลี่ย 50 เซนติเมตร ความยาวตั้งแต่ปลายจมูกจนถึงโคนหางเฉลี่ย 130 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 35-70 กิโลกรัม ด้วยรูปร่างที่เล็ก ลำตัวสั้น แต่มีน้ำหนักมาก มันจึงได้ชื่อว่าเป็นหนูที่ตัวใหญ่ที่สุดในโลก
ขื่อของ คาปิบารา เริ่มเป็นที่พูดถึงเมื่อศิลปินที่ใช้ชื่อ Сто-Личный Она-Нас ปล่อยเพลงที่ชื่อว่า Капибара (Capybara) เมื่อช่วงเดือนมกราคม ที่ผ่านมา และก็กลายเป็นกระแสพูดถึงในสื่อสังคมออนไลน์อย่าง Tiktok ด้วยเนื้อเพลงติดหู ที่นำชื่อของ คาปิบารา มาร้องประกอบดนตรี
อ่านเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
คาปิบารา (Capybara) หรือชาวเน็ตบางคนก็เรียกว่า หมามะพร้าว เพราะมาจากลักษณะที่คล้ายสุนัข แต่มีขนเหมือนมะพร้าว แต่จริง ๆ แล้วมันคือ หนูที่ตัวใหญ่ที่สุดในโลก มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้และอาศัยอยู่ในหุบเขาที่มีป่าหนาทึบและอยู่ใกล้กับแหล่งน้ำ เป็นสัตว์สังคมที่อยู่รวมกันเป็นฝูงจำนวนมาก โดยอาจพบได้มากถึง 100 ตัว แต่ส่วนมากจะอยู่เป็นฝูงแค่ 10-20 ตัวเท่านั้น
เนื่องจากไม่ได้ถูกล่าเพื่อเอาเนื้อเอาหนังจากมนุษย์มากนัก จึงทำให้ไม่มีความเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ แต่ถึงอย่างนั้นไขมันของคาปิบาราสามารถเอามาทำเป็นยาได้
คาปิบารา ตัวเท่าไหร่ ?
ตามท้องตลาดที่ขายเพื่อไปเพาะพันธุ์หรือเลี้ยงเพื่อทำธุรกิจท่องเที่ยว ราคาตลาดของคาปิบาราตอนนี้ตกอยู่ตัวละ 40,000-50,000 บาท
คาปิบาราตัวโตเต็มวันกินจุได้ประมาณ 2-3.5 กิโลกรัมต่อวัน อาหารของพวกมันเน้นผักผลไม้เป็นหลัก ทำให้มันขับถ่ายของเสียบ่อยมากและเกิดกลิ่นเหม็น จึงต้องทำความสะอาดให้พวกมันบ่อยๆ
จากการตรวจสอบผ่าน Google Trend พบว่า หลังจากเพลง Капибара (Capybara) ถูกปล่อยออกไป 25 ม.ค. 2566 การค้นหาคำว่า คาปิบารา ที่หมายถึงหนูยักษ์ตัวนี้เพิ่มขึ้นสูงอย่างมีนัยยะสำคัญ ทั่วโลก
จากเพลงติดหูแล้วนอกจากคนจะค้นหาแล้วยังหาสถานที่ที่จะไปเจอ หมามะพร้าว(คาปิบารา) ตัวจริงอีกด้วย จนบางคนแบบว่าแน่นสวนสัตว์เลยทีเดียว ซึ่งกระแสนี้ไม่ได้มีแค่ในไทยแต่ในต่างประเทศอย่างญี่ปุ่นก็เช่นเดียวกัน ซึ่งของไทยเองอินฟลูเอ็นเซอร์ชื่อดังก็มีการทดลองนำมาเลี้ยงด้วย
อย่างไรก็ตามนี่เป็นเพียงหนึ่งในกระแสที่เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์จากเพลง ๆ เดียว จนนำไปสู่กระแสการรัก คาปิบารา อย่างไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งหากเราถอดข้อเรียนรู้เหล่านี้มาเป็นบทเรียนในการสร้างการอนุรักษ์จากพลังโซเชียลไปสู่สัตว์ใกล้สูญพันธุ์อื่น ๆ คงดีไม่น้อย