svasdssvasds

ซินดี้ สิรินยา หญิงเก่งผู้จุดประกายแนวคิด อย่าอายสอนลูกเรื่องเพศ

ซินดี้ สิรินยา หญิงเก่งผู้จุดประกายแนวคิด อย่าอายสอนลูกเรื่องเพศ

#DontTellMeHowToDress คือแฮชแท็กยอดนิยมที่ "ซินดี้ สิรินยา บิชอพ" ซูเปอร์โมเดล ผู้ริเริ่มใช้หลังมีคำแนะนำของทางการให้ผู้หญิงงดแต่งกายล่อแหลม เพื่อป้องกันการถูกลวนลามทางเพศ เมื่อช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2018

และนี่คือสิ่งที่จุดประกายให้เธอหันมาเคลื่อนไหวสร้างความเข้าใจในเรื่องเพศที่ถูกต้อง โดยเล็งเห็นความสำคัญของการให้ความรู้เรื่องเพศตั้งแต่วัยเด็กผ่านหนังสือ "ร่างกายของฉัน ฉันดูแลได้" 

"ซินดี้" ทูตพลังหญิง UN แห่งเอเชีย

"ก่อนที่จะเข้าไปทำงาน UN WOMEN ซินดี้ได้ออกมาพูดในเรื่องก่อนสงกรานต์ในปี 2018 ว่ามีการเหมือนมันมีนโยบายว่าอย่างแต่งตัวโป๊ แล้วก็จะไม่มีเหตุการณ์คุกคามทางเพศเกิดขึ้นหรือว่าจะไปลดปัญหานี้ ในฐานะที่เป็นผู้หญิงที่เคยโดนลวนลาม ทั้งๆ ที่ไม่ได้แต่งตัวโป๊ ก็เลยรู้สึกว่ามันน่าจะมีมาตรการอื่นมั้ย น่าจะมีการตักเตือนฝ่ายที่ผู้คิดจะไปกระทำความรุนแรงหรือล่วงละเมิดทางเพศ ทำไมมันมักจะเป็นความรับผิดชอบของผู้หญิงหรือว่าความผิดของผู้หญิงเมื่อเจอเหตุการณ์แบบนี้ มักจะมีการโทษ การแต่งกายหรือการกระทำ

ข่าวจากการมีนโยบายอย่าแต่งตัวโป๊ และจะไม่มีเหตุการณ์คุกคามทางเพศ

ซินดี้รู้สึกไม่ไหวต้องพูด ก็เลยแบบว่าอัดคลิประบายความในใจแล้วมันก็เลยกลายเป็นไวรัลแบบข้ามคืน ก็เลยรู้สึกว่ามันเป็นประเด็นที่ไม่ค่อยมีคนพูดอาจจะเป็นเพราะว่าเรื่องละเมิดทางเพศหรือว่าความรุนแรงต่อผู้หญิงที่มันเป็นเรื่องแบบสังคมมองแล้วเป็นเรื่องอับอาย หลังจากคลิปนั้นมันมีกระแสมีคนให้ความสนใจซินดี้ก็เหมือนใช้โอกาสนี้พูดในฐานะผู้หญิงคนนึง

แต่ว่าระหว่างนั้นก็พยายามเก็บเกี่ยวหาข้อมูลแล้วก็ได้เริ่มทำงานกับมูลนิธิที่หญิงชายก้าวไกลที่เขาทำงานกับตรงนี้โดยเฉพาะ มันก็เลยบังเอิญจังหวะที่ดีแล้วก็ซินดี้เลยได้เข้าไปติดต่อกับทาง UN WOMEN ว่าอยากจะทำนิทรรศการเสื้อผ้าจากมูลนิธินี่แหละค่ะ เอามาจัดแสดงให้เห็นเลยว่ามันเป็นเกี่ยวกับเสื้อผ้าจริงๆ หรือเปล่าอย่างเนี่ยค่ะ มันก็เลยเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการ Don't tell me how to dress"

ซินดี้ สิรินยา หญิงเก่งผู้จุดประกายแนวคิด อย่าอายสอนลูกเรื่องเพศ

ซินดี้ สิรินยา หญิงเก่งผู้จุดประกายแนวคิด อย่าอายสอนลูกเรื่องเพศ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จิมมี่ พัชรฎา จบ ม.3 เป็นได้แค่เด็กล้างจาน คำดูถูก เจ็บจนไม่กล้าขี้เกียจ

ครูก๊อง KPN เกิดเป็น LGBTQ+ ทำไมต้องพิสูจน์ตัวเองเพื่อความเท่าเทียม?

แคนดี้ รากแก่น ฝ่าคำดูถูก ดาราตกอับ ปลดหนี้จับเงินล้านจากโลกออนไลน์

พอทำไปสักพัก 2 ปี ทาง UN WOMEN ก็เห็นว่าเราตั้งใจทำจริงๆ ไม่ได้ใช่ทำครั้งเดียวแล้วหยุด แล้วเราก็ศึกษาไปเรียกได้ว่าเข้ามาเป็นนักรณรงค์เต็มตัวก็ว่าได้เรารู้สึกว่าเราก็เป็นคนที่มีชื่อเสียงแล้วก็มีคนสนใจสามารถที่จะเป็นแรงบันดาลใจหรืออย่างน้อยเป็นกระบอกเสียงในสิ่งที่เราเชื่อ แล้วเราก็เชื่อมากเลยคือมันเป็นแบบบางสิ่งที่มันจุดประกายว่าสุดท้ายแล้วมันเป็นสิ่งที่เรารู้สึกว่าอย่างน้อยก็คือสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ไม่มากก็น้อย"

ซินดี้ สิรินยา หญิงเก่งผู้จุดประกายแนวคิด อย่าอายสอนลูกเรื่องเพศ

"การเลี้ยงดู" ต้นตอล่วงละเมิดทางเพศ

"มันมีหลายปัจจัย ยาเสพ สุรา สภาพแวดล้อม แต่ส่วนใหญ่แล้วก็จะกลับมาสู่เรื่องของการเลี้ยงดูเรื่องของการศึกษาเด็กคนนึงได้รับการสอนที่ถูกต้องหรือเปล่าว่าทำแบบนี้มันละเมิดสิทธิของคนอื่น หรือการทำแบบนี้มันเป็นการใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา ซินดี้ด้วยความเป็นแม่มีลูกผู้ชายกับลูกผู้หญิ ซินดี้ไม่ได้เลี้ยงดูให้เขาแตกต่างกัน เพราะเขาเป็นมนุษย์เหมือนกัน เราไม่ได้เลี้ยงผู้หญิงว่าจะต้องป้องกันตัวเองอย่างเดียว หรือเลี้ยงผู้ชายให้เป็นแบบแมนอย่างเดียว คือเราก็มีการปลูกฝังให้ลูกเข้าใจในเรื่องความเคารพ เรื่องของการยินยอม มันสามารถปลูกฝังเรื่องนี้ได้ตั้งแต่แบบเด็กๆ การยินยอมก็เอามาใช้กลับสถานการณ์ทั่วไป

เช่น เล่นเกมกัน ใครอยากจะเล่นจะไปบังคับให้เขาเล่นกับเราก็ไม่ได้ หรือถึงแม้ว่าตัดสินใจเล่นด้วยกันแล้วมาถึงจุดคนใดคนหนึ่งรู้สึกเบื่อไม่อยากเล่นแล้วก็แสดงว่าเขาไม่ได้ให้การยินยอมที่จะทำต่อไปก็ถือว่าไม่ได้รับการยินยอมแล้วนะ พอจะนึกออกได้มั้ยว่าสถานการณ์แบบนี้พอถึงวัยรุ่นหรือเป็นผู้ใหญ่มันเอาไปใช้ปรับใช้กับสถาการณ์อื่นๆ ที่อาจจะเป็นมีความละเอียดอ่อนมากขึ้น 

ซินดี้ สิรินยา หญิงเก่งผู้จุดประกายแนวคิด อย่าอายสอนลูกเรื่องเพศ

"อย่าอาย" สอนลูกเรื่องเพศ

"แนะนำให้เริ่มก่อนถึงวัยรุ่น จริงๆ เราต้องแนะนำ เริ่มคุยกับลูกตั้งแต่แบบ 5-6 ขวบ คือเด็กเขาก็จะเริ่มมาถามเราเองเด็กเขาก็จะมีความช่างรู้ช่างเห็น อาจจะมีคำถามว่าทำไมของผู้ชายไม่เหมือนของผู้หญิง มันเป็นโอกาสที่ดีที่เราจะไปหาหนังสือหรืออะไรที่เดี๋ยวนี้มันมีสื่อค่อนข้างเยอะกับการที่จะอธิบาย เริ่มต้นผู้ชายเป็นแบบนี้ ผู้หญิงเป็นแบบนี้ เขาก็จะได้รู้ว่า อ่อ...อวัยวะทางเพศไม่เหมือนกัน

พอเริ่มโตขึ้นเขาก็จะรู้สึกว่ามีอะไรเขาถามคุณพ่อคุณแม่ได้มันไม่ใช่เรื่องอาย คุณพ่อคุณแม่ก็อาจจะต้องปรับตัวเอง ไม่ใช่ อี๋...อย่าไปคุย ปัดมือ มันก็จะมีบางคนที่หลุดไม่เอาอย่าคุยอย่าจับ มันเป็นการปลูกฝังว่าสิ่งเหล่านี้มันเรื่องน่าเกลียด อับอายอย่าพูด แล้วเขาก็จะไม่มาคุยกับเรา สิ่งที่สำคัญที่สุดเราต้องปลูกฝังให้ลูกมาคุยกับเราก่อน ไม่ใช่ไปถามเพื่อน ไม่ใช่ไปค้นหาในอินเตอร์เน็ต เพราะสิ่งที่เขาจะเจอเราอาจจะไม่รู้ว่าเขาได้รับข้อมูลที่ถูกต้องหรือเปล่า

ซินดี้ สิรินยา หญิงเก่งผู้จุดประกายแนวคิด อย่าอายสอนลูกเรื่องเพศ

เราทำตรงนี้แล้วก็เห็นเลยว่ามันมีช่องว่างในเรื่องของการพูดคุยกับลูกเรื่องเพศหรือว่าเรื่องความเคารพในสิทธิเนื้อตัวร่างกายของเราตั้งแต่เด็กๆ และเราก็มองว่า แล้วเราก็มองว่าช่วงเวลาที่สำคัญมากๆ ก็คือตั้งแต่ 5 ขวบถึง 8 ขวบ ซินดี้ไม่ได้ทำขึ้นมาเอง ซินดี้อิงจากหลักสูตรที่ทำออกมาจาก UNESCO ที่เขาทำผลิตมาเพื่อที่จะเป็นแบบอย่างให้กับทุกประเทศทั่วโลกว่าเด็ก 5 ขวบ ถึง 8 ขวบ เขาควรจะมีความรู้ เกี่ยวกับนี้ มีความเข้าใจ มี Mindset  หรือ Attitude ที่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไงบ้าง

ซินดี้รู้สึกเอะใจก็คือ สื่อในประเทศไทยเวลาเราเห็นบอดี้ที่มันเป็นสอนเด็กในเรื่องอวัยวะต่างๆ ก็จะมี หู ตา บลาๆ หมดเลย ตรงอวัยวะเพศมันจะว่างมันจะหายไปเหมือนไม่มีสิ่งนี้บนร่างกายของเรา เด็กไม่งงหรอ เป็นการปลูกฝังความคิดที่ไม่ใช่แล้ว ก็เลยรู้สึกว่าเราต้องมีหนังสือที่มันต้องบอกว่าอวัยวะเพศของเด็กคืออะไร แต่ว่าเราทำในวิธีที่มันเข้าใจง่ายไม่น่ากลัวเป็นการ์ตูนก็เลยจับมือกับทางนานมีบุ๊คส์ ซินดี้ก็เขียนเรื่องออกมา วาดรูป ตัวซินดี้ไม่ได้วาดเอง แต่ว่าวาดเป็นไกด์ว่าถ้าลูกของซินดี้ได้อ่านหนังสือแบบนี้เขาจะเข้าใจไหม"

ซินดี้ สิรินยา หญิงเก่งผู้จุดประกายแนวคิด อย่าอายสอนลูกเรื่องเพศ

หนังสือ "ร่างกายของฉัน ฉันดูแลได้"

"จุดประสงค์อันแรกของหนังสือเล่มนี้ให้คุณพ่อคุณแม่มีสื่อที่จะคุยกับลูก ก็จะมีพูดถึงเรื่องสัมผัสที่ดีสัมผัสที่ไม่ดีคืออะไร เราก็ต้องอธิบายให้ชัดเจนเลยว่าสัมผัสที่ดีก็คือสัมผัสที่มาจากความรักความอบอุ่น บางครั้งสัมผัสที่ดีไม่ใช่ว่าจะรู้สึกดีตลอด เช่น คุณแม่เอาพาสเตอร์มาปิดให้มันเจ็บนะแต่มันคือการสัมผัสที่มาจากความรัก ความห่วงใย สัมผัสที่ไม่ดีคืออะไรก็ตามที่มาจากความรุนแรงทำให้เรารู้สึกอึดอัด หรืออยู่ในโซนที่เป็นหวงห้ามของเรา

คือหลาย ๆ ครั้งที่สังเกตซินดี้เองก็เติบโตในประเทศไทยแล้วก็เห็นเด็กๆ เล่นกันบางทีมันจะมีการจับโน่นจับนี่จับนี่ที่ไม่ควร ยกตัวอย่างก็จะมีการเล่นกันจับก้น จับอวัยวะเพศ ไม่ใช่แค่เด็กบางทีผู้ใหญ่ก็เล่นกัน ซึ่งเราก็รู้สึกว่าเราอาจจะต้องเข้มงวดเรื่องนี้มากขึ้น อันที่สอง คือเด็กที่อยู่ในวัยนี้จะปลอดภัยมากขึ้นเพราะเขารู้แล้วว่าสถานการณ์แบบนี้เราไม่ชอบเราไปบอกพ่อแม่ดีกว่า

อันที่สามคือพอเขาโตขึ้นมาแล้วเขาเข้าใจแล้วว่าการยินยอมคืออะไร พอโตไปอาจจะเป็นเรื่องของการมีเพศสัมพันธ์ อันนี้มันสามารถที่จะเชื่อมโยงตรงนั้นได้ เขาก็จะโตเป็นเด็กที่ หรือคนที่เข้าใจว่าความเคารพมันเป็นเรื่องสำคัญมาก สุดท้ายแล้วคุณไม่มีสิทธิให้คนอื่นทำแล้วคนอื่นก็ไม่มีสิทธิที่จะทำคุณทำอะไร ตราบใดที่คุณต้องการ"  

ซินดี้ สิรินยา หญิงเก่งผู้จุดประกายแนวคิด อย่าอายสอนลูกเรื่องเพศ

 

related