เปิดสูตรการเป็น อินฟลูเอ็นเซอร์ ทำอย่างไรให้หาตัวตนเจอแล้วปังดังทุกโซเชียล จาก "ปาร์ตี้ นักพากย์ฟีลกู้ด" เพียงแทนสมการง่าย ๆ ที่หาตัวแปรจากตัวเราเอง
"ปาร์ตี้ นักพากย์ฟีลกู้ด หรือ วัชรพล นนท์ภักดี" ระบุภายในการอบรม The Influencer Challenge contest ว่า เขาเริ่มต้นจากการเป็นครีเอทีฟของค่ายเพลง ค่ายหนึ่ง และพอถึงจุดอิ่มตัวจึงลาออกมาเพื่อมาโฟกัสที่ Tiktok ส่วนตัวเป็นโรคซึมเศร้าประกอบด้วย ในช่วงที่เริ่มเป็นจิตแพทย์จึงแนะนำให้หางานอดิเรกทำ และในคืนหนึ่งที่อารมณ์กำลังดิ่งลงก็หยิบโทรศัพท์มือถือ iPhone4 ขึ้นมาลองพากย์เสียงตอนตี 3
“วันนั้นมีคนดูอยู่ 2 วิว แต่นั่นก็เป็นจุดเริ่มต้น เพราะส่วนตัวรู้สึกมีความสุขมากในการทำ และเมื่อทำแล้วก็รู้สึกว่าความเศร้าต่าง ๆ หายไป พอทำต่อมาเรื่อย ๆ คนก็เริ่มสนใจและเป็นที่รู้จักมากขึ้น จนกระทั่งวันหนึ่ง สรยุทธ สุทัศนะจินดา พิธีกรข่าวชื่อดัง ได้นำคลิปไปเปิดในรายการ ก็ได้ผู้ติดตามขึ้นมาเป็นหมื่น-แสนในเวลาไม่กี่เดือน” ปาร์ตี้ เล่า
ปาร์ตี้ บอกต่อว่า “แม้แพลตฟอร์มโซเชียล ณ ขณะนั้นที่มีผู้ติดตามกว่า 3 แสนผู้ใช้ปิดตัวลง จึงเปลี่ยนมาทำช่องยูทูปของตัวเอง เพราะความตั้งใจที่จะทำแบบไม่หยุด ซึงการทำไม่หยุดนี้ก็มีข้อแม้ว่าต้องทำแบบมีแผนด้วย”
วันนั้น วันที่แพลตฟอร์มโซเชียลนั้นปิดตัวลง แล้วตัดสินใจว่าจะทำต่อที่แพลตฟอร์มอื่นไหม ก็หันมาถามตัวเองก่อนว่า “เรายังมีความสุขอยู่ไหม ?”
อ่านเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
สูตรการเป็นคอนเทนต์ครีเอเตอร์
A + B + C = Content Creator
“ผมทำ นักพากย์ฟีลกู้ด มา 11 ปี 7 ปีแรกไม่มีใครจำผมได้เลย เพราะผมไม่ได้ใส่ความเป็นตัวตนลงไป แม้จะมีความครีเอทีฟ หรือกลุ่มเป้าหมายที่ดูเราแล้วก็ตาม”
สำหรับวิธีการหา Character หาอย่างไร ? ก็เริ่มจากการคิดว่าเราเป็นอย่างไร ? เช่น เราเป็นคนสวย > เราชอบแต่งหน้า > เราชอบไปท่องเที่ยว ก็อาจกลายเป็น Beauty Blogger สอนวิธีแต่งหน้าสำหรับการไปท่องเที่ยวก็ได้ ซึ่งระยะเวลาการหา Character ก็ไม่ได้แปลว่าทุกคนจะหาได้ในระยะเวลาอันสั้นด้วยเช่นกัน
สำหรับวิธีการใส่ความ Creative ลงไปในงาน ก็เริ่มจากอะไรเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น เราชอบทำส้มตำ ลองไปทำในป่าไหม ? ลองเติมอะไรบางอย่างเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่สุดท้าย เราต้องหาคอนเซ็ปต์ หรือ ใจกลางคอนเทนต์ ให้เจอ เช่น โฆษณาประกันชีวิต ใช้คอนเซ็ปต์เดิมมา 10 ปี เราก็ดูและอินกับมัน ซึ่งข้อดีของคอนเซ็ปต์คือ มันจะช่วยให้คนจำเราได้ งาน Content Creator ก็เช่นกัน (แต่ต้องไม่ทำให้ใครเดือดร้อนและเป็นประโยชน์ต่อสังคมด้วย)
“ถ้าดูแล้วรู้สึกว่าเรามีความสุขกับคอนเทนต์ของตัวเองก่อน ลองปล่อยลงสื่อสังคมออนไลน์ดู ว่า คนอื่นคิดอย่างไร ? ไม่มีความสุข อย่าทำ”
ส่วน Target Group ถ้าเรายังหา Character กับ Creative ไม่เจอแล้วมาหากลุ่มเป้าหมายก่อน เราต้องโฟกัสเข้าไปลึกมาก ๆ เช่น เด็ก ก็ต้องแยกอีกว่า เด็กอายุเท่าไหร่ เพศอะไร เพราะ ประถมต้นกับปลายก็มีความสนใจไม่เหมือนกันแล้ว จนกลายเป็นเรื่องยากในการทำคอนเทนต์ แต่ถ้าหา 2 สิ่งแรกเจอก่อน การหากลุ่มเป้าหมายจะง่ายมาก เช่น “ปาร์ตี้” เป็นคนทำงานที่อยากหาอะไรสนุก ๆ ดู ชอบผู้ชายเกาหลี การหากลุ่มคนดูก็ไม่ใช่เรื่องยากเลย
สำหรับสมการที่ "ปาร์ตี้ นักพากย์ฟีลกู้ด” ระบุว่า สมการนี้มีคนจากการอบรมเพียง 10% ที่นำไปใช้จริง แต่ทุกครั้งของการอบรม มีอินฟลูเอ็นเซอร์ใหม่ เกิดขึ้นเสมอ
สำหรับ The Influencer Challenge contest เป็นโครงการแข่งขันและพัฒนาศักยภาพของคนที่ฝันอยากจะเป็นอินฟลูเอ็นเซอร์ ผ่านการอบรมสุดเอ็กซ์คลูซีฟกับเหล่าอินฟลูเอ็นเซอร์ที่ประสบความสำเร็จ ตลอด 2 วัน 20-21 ส.ค. 65 ที่ ทรู ดิจิทัล ปาร์ค
ผู้สนใจส่งผลงานเข้าประกวด สามารถส่งผลงานมาได้ถึงสิ้นเดือนกันยายน 2565 เพื่อให้กรรมการคัดเลือกและมอบโจทย์ในรอบชิงชนะเลิศ เพื่อชิงเงินรางวัลรวมมูลค่า 500,000 บาท
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ The Influencer Challenge Contest (https://www.facebook.com/TheInfluencerChallengeContest)