svasdssvasds

คน Gen Z เน้นดูแล “สุขภาพจิต” พร้อมรับมือเรื่องรอบตัว ทั้งการทำงานและออกเดท

คน Gen Z เน้นดูแล “สุขภาพจิต” พร้อมรับมือเรื่องรอบตัว ทั้งการทำงานและออกเดท

โลกที่เปลี่ยนแปลงไปและเปิดกว้างรับในเรื่องต่างๆ ทำให้คน Gen Z มองเรื่องการดูแลสุขภาพจิตเป็นเรื่องสำคัญ ไม่ใช่แค่การใช้ชีวิตประจำวัน การทำงาน แต่ยังรวมไปถึง “การออกเดท” คนโสดรุ่นใหม่กว่า 75% ระบุ คู่ Match จะดูน่าสนใจมากขึ้นถ้าใส่ใจดูแลสภาพจิตใจของตัวเอง

เจเนอเรชั่นที่เกิดมาในยุคโซเชียลมีเดียและอินเตอร์เน็ตใช้เวลาออนไลน์เฉลี่ย 8 ชั่วโมง 24 นาทีต่อวัน อย่าง Gen Z มีแนวโน้มที่จะเกิดความเครียดได้ง่ายกว่าคนเจเนอเรชั่นอื่น ๆ จากการศึกษาล่าสุด พบว่า แม้ว่า Gen Z จะไม่สามารถควบคุมสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่เกิดขึ้นได้ แต่ก็เรียนรู้ที่จะควบคุมตัวเอง และตอบสนองกับสิ่งเหล่านั้นแทน ในความเป็นจริงแล้ว เมื่อเทียบกับคนเจนอื่น Gen Z มีความจริงใจและซื่อสัตย์เกี่ยวกับความสัมพันธ์กับสุขภาพจิต

จากรายงานอนาคตของการเดทจาก Tinder คน Gen Z กว่า 39% ให้ความสำคัญกับ การพัฒนาตัวเอง และความเป็นอยู่ที่ดี เป็นเป้าหมายลำดับแรก ๆ ของชีวิต คุณใหม่ - อาภัสสร ผาติตานนท์ นักจิตวิทยาและผู้ร่วมก่อตั้งศูนย์ให้คำปรึกษาเชิงจิตวิทยา Cozybara ให้ความเห็นว่า สาเหตุที่คนนิวเจนใส่ใจสุขภาพจิตมากขึ้นเพราะเป็นกลุ่มคนที่มี awareness และหมุนทันโลก แม้จะไม่ได้เผชิญเหตุการณ์ต่าง ๆ ด้วยตัวเองก็ตามและยังมีความชัดเจนในตัวเอง อีกทั้งการเปิดกว้างยอมรับในเรื่องต่าง ๆ จึงไม่แปลกใจที่คนรุ่นใหม่พร้อม ที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอยู่เสมอ

ซึ่งทำให้บรรทัดฐานในการพบจิตแพทย์ของ Gen Z เปลี่ยนไปโดยไม่ได้มองว่าการปรึกษาจิตแพทย์จะต้องเป็นคนป่วย หรือมีปัญหาสุขภาพจิตเท่านั้น แต่กลับมองว่าเป็นแนวทางที่ช่วยให้มีสุขภาพจิตที่ดีมากขึ้น รวมถึงสามารถค้นหาตัวเองและพัฒนาตัวเองได้อย่างแท้จริง

 

คน Gen Z เน้นดูแล “สุขภาพจิต” พร้อมรับมือเรื่องรอบตัว ทั้งการทำงานและออกเดท Photo : Freepik

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง

การหันมาใส่ใจและดูแลสุขภาพจิตของตัวเอง เป็นอีกหนึ่งในเทรนด์การออกเดทของ Gen Z ในปัจจุบัน และเมื่อพูดถึงการออกเดท เกือบ 75% ของคนโสดรุ่นใหม่กล่าวว่า คู่ Match จะดูน่าสนใจมากขึ้นถ้าดูแลสภาพจิตใจของตัวเองเช่นกัน นอกจากนี้หัวข้อ "ดูแลตนเอง" ยังเป็นหนึ่งในความสนใจ 10 อันดับแรก ที่สมาชิกชาวไทยอายุระหว่าง 18-24 ปีให้ความสนใจอีกด้วย

“เพราะการเริ่มต้นความสัมพันธ์กับใครสักคน โดยปกติแล้วเราจะมีความคาดหวัง และอยากทำให้ความสัมพันธ์นั้นออกมาดีที่สุด ดังนั้นการเดทเริ่มต้นที่ตัวเองก็หมายถึง การรู้จักตัวเอง เป็นตัวของตัวเองอย่างแท้จริง หรือการไม่พยายามเป็นคนในแบบที่ใครชอบ” 

คน Gen Z เน้นดูแล “สุขภาพจิต” พร้อมรับมือเรื่องรอบตัว ทั้งการทำงานและออกเดท Photo : Freepik

ข้อกังวล หรือประเด็นที่พบบ่อยใน Gen Z เมื่อต้องเริ่มต้นความสัมพันธ์ใหม่ ๆ หรือเมื่อโตขึ้นคือ การเห็นคุณค่าในตัวเอง (Self- esteem) และการเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น รวมถึงปัญหาสุขภาพใจที่เกิดขึ้นเมื่อมีความสัมพันธ์ใหม่ ๆ  แนะนำ 5 แนวทางในการก้าวข้ามข้อกังวลเหล่านั้น

การเดทเริ่มต้นที่ “ตัวเอง” ควรเริ่มจากอะไร

  • ใจดีกับตัวเองให้มากขึ้น  - ทุกคนสามารถพัฒนาตัวเอง และใจดีกับตัวเองไปพร้อม ๆ กันได้ ดังนั้นเมื่อต้องเริ่มเรียนรู้ หรือเริ่มต้นอะไรใหม่ ๆ รวมถึงเรื่องความสัมพันธ์ หากยังไม่สำเร็จหรือไม่เห็นผล ก็สามารถเริ่มต้นใหม่ได้เสมอโดยไม่ต้องรีบร้อน และไม่ควรกดดันตัวเองจนเกินไป
  • ดูแลตัวเองให้ดีที่สุดก่อน - สิ่งง่ายๆ ที่หลายคนอาจละเลย คือ การดูแลตนเองให้ดีก่อน หรือ ประโยคที่ว่า “กินอิ่มนอนหลับ” ซึ่งเป็นพื้นฐานที่นำไปสู่การมีสุขภาพกายที่ดี และเมื่อกายดีจิตก็จะดีตามลำดับ ดังนั้นก่อนจะทุ่มเทใส่ใจ “คนอื่น” ควรดูแลตนเองให้ดีก่อน
  • ลดการเปรียบเทียบ - ตั้งเป้าหมายของตัวเอง เพราะทุกคนมีเป้าหมายต่างกัน การมองเห็นคนอื่นสำเร็จ อาจทำให้เกิดการเปรียบเทียบและด้อยค่าตัวเองลง อาจเริ่มต้นจากการลดการเสพสื่อ หรือโซเชียลมีเดียลง แล้วโฟกัสที่ตัวเองเป็นหลัก เพราะความสำเร็จที่คนอื่นกำหนด อาจไม่ใช่สิ่งที่เราต้องการอย่างแท้จริง
  • บ่มเพาะ Self- Love - การยอมรับ และรักตัวเองทั้งในวันที่ดีและวันที่ไม่ดีเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นควรฝึกรักตัวเองให้เก่ง ๆ โดยสามารถทำไปทีละนิด ด้วยการให้อภัยตัวเองและโอบกอดตัวเองในวันที่แย่ ก่อนที่จะขยายความ “รัก” นั้นไปให้คนอื่น ๆ ต่อไป
  • จำไว้เสมอว่า “ฉันก็เป็นฉัน ส่วนเธอก็เป็นเธอ” -  ทำความรู้จัก Gestalt 's therapy ที่เป็นจิตบำบัด แขนงหนึ่งที่ช่วยให้ตระหนักรู้ตัว ได้เข้าใจตัวเองได้  และเมื่อความสัมพันธ์ไม่เป็นดั่งใจ ก็อย่าหาคนผิดในเรื่องนั้น ดังที่กล่าวไว้ว่า You are you and I am I; If by chance we find each other, it's beautiful. If not, it can't be helped. หรือหมายถึง แต่ละคนต่างเป็นตัวของตัวเอง หากว่าเราเข้าใจกัน นั่นก็เป็นสิ่งที่งดงาม หากว่าเราไม่เข้าใจกัน ก็ช่วยอะไรไม่ได้ 

อาภัสสร ผาติตานนท์ นักจิตวิทยาและผู้ร่วมก่อตั้งศูนย์ให้คำปรึกษาเชิงจิตวิทยา Cozybara การใช้แอพหาคู่ในการเชื่อมต่อกับผู้คนใหม่ ๆ เป็น Norm หรือ เรื่องปกติของ คน Gen Z และปฎิเสธไม่ได้เลยว่า แอพหาคู่อย่าง Tinder เองมีส่วนช่วยทำให้การออกเดท รวมถึงการพบปะคนนอกแวดวงสังคมของตัวเองกลายเป็นเรื่องง่ายแค่ปลายนิ้ว แต่เมื่อการออกเดทเริ่มต้นง่ายขึ้น คนรุ่นใหม่ควรจะเตรียมตัว และเตรียมใจให้พร้อมก่อนที่จะเริ่มต้นความสัมพันธ์กับใคร 

ข้อมูลอ้างอิง

1. การสำรวจความคิดเห็นของคน Gen Z และ มิลเลนเนียล ประจำปี 2566 โดย  Deloitte  

2. การสำรวจความคิดเห็นของคนอายุ 18-25 ปี จำนวน 4,000 คนในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร แคนาดา และออสเตรเลีย ระหว่าง 21-25 เมษายน 2066 จัดทำโดย Opinium ในนามของ Tinder

related