svasdssvasds

โรงเรียนจีนยุคใหม่ ต้องมีพื้นที่สีเขียวให้เด็กวิ่งเล่น แม้พื้นที่มีจำกัด

โรงเรียนจีนยุคใหม่ ต้องมีพื้นที่สีเขียวให้เด็กวิ่งเล่น แม้พื้นที่มีจำกัด

ตอนนี้กำลังกลายเป็นเทรนด์การออกแบบโรงเรียนในประเทศจีน ที่ออกแบบสภาพแวดล้อมรอบ ๆ โรงเรียนให้มี "พื้นที่สีเขียว" กระจายอยู่แทบจะทุกพื้นที่ ไหนจะออกแบบให้ระเบียงสูงแค่ 1.2 เมตร เพื่อให้เด็ก ๆ มองต้นไม้ได้ ตามคอลัมน์ Keep The World ไปเที่ยวจีนกัน

SHORT CUT

  • จีนเป็นหนึ่งในประเทศที่เจอปัญหาเมืองหนาแน่น มองไปทางไหนก็เห็นแต่ตึกสูง และไม่สามารถมีตึกใดงอกขึ้นได้อีกแล้ว
  • สถาปนิกจึงเกิดไอเดียปรับเปลี่ยนพื้นที่ในโรงเรียน ซึ่งเดิมทีไม่ได้ใช้ประโยชน์ ให้กลายเป็นอีกหนึ่งแหล่งเรียนรู้ของเด็ก ๆ และต้องเชื่อมโยงกับธรรมชาติ
  • ยกตัวอย่างเช่น สร้างสวน ปลูกต้นไม้ สร้างบรรยากาศให้ร่มรื่น มีสนามเด็กเล่น มีเนินดิน บางแห่งมีลานให้สำหรับวิ่งเล่น (ทั้งในร่ม-กลางแจ้ง)

ตอนนี้กำลังกลายเป็นเทรนด์การออกแบบโรงเรียนในประเทศจีน ที่ออกแบบสภาพแวดล้อมรอบ ๆ โรงเรียนให้มี "พื้นที่สีเขียว" กระจายอยู่แทบจะทุกพื้นที่ ไหนจะออกแบบให้ระเบียงสูงแค่ 1.2 เมตร เพื่อให้เด็ก ๆ มองต้นไม้ได้ ตามคอลัมน์ Keep The World ไปเที่ยวจีนกัน

จีนเป็นหนึ่งในประเทศที่เจอปัญหาเมืองหนาแน่น มองไปทางไหนก็เห็นแต่ตึกสูง และไม่สามารถมีตึกใดงอกขึ้นได้อีกแล้ว สถาปนิกจึงเกิดไอเดียปรับเปลี่ยนพื้นที่บนดาดฟ้าให้กลายเป็นอีกหนึ่งแหล่งเรียนรู้ของเด็ก ๆ และต้องเชื่อมโยงกับธรรมชาติ

โรงเรียนจีนยุคใหม่ ต้องมีพื้นที่สีเขียวให้เด็กวิ่งเล่น แม้พื้นที่มีจำกัด

เชื่อมโยงกับธรรมชาติยังไง เช่น สร้างสวน ปลูกต้นไม้ สร้างบรรยากาศให้ร่มรื่น มีสนามเด็กเล่น มีเนินดิน บางแห่งมีลานให้สำหรับวิ่งเล่น (ทั้งในร่ม-กลางแจ้ง) และแน่นอนว่าเมื่อเกิดเป็นสภาพแวดล้อมธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ก็จะตามมา เช่น แมลง หรือสัตว์ตัวเล็ก ๆ ซึ่งเด็กนักเรียนจะได้สำรวจอย่างใกล้ชิด

 

Xinsha: โรงเรียนประถมในเซินเจิ้น

ถ้าจะเล่าแค่ไอเดียโดยไม่หยิบยกตัวอย่างมาให้เห็นกันชัด ๆ ก็กะไรอยู่ วันนี้ SPRiNG เลยพาไปสำรวจโรงเรียนประถมศึกษา “ซินชา" (Xinsha) ในเซินเจิ้น มีพื้นที่ครอบคลุมกว่า 11,000 ตารางเมตร ออกแบบโดย 11ARCHITECHURE

Credit ภาพ 11ARCHITECHURE

Credit ภาพ 11ARCHITECHURE

โรงเรียนประถมชินซาสามารถรองรับได้ 36 ห้องเรียน และห้องเรียนสำรอง 5 ห้อง อาคารถูกออกแบบให้เป็นรูปตัว S แต่ละด้านสามารถเปิดออกสู่สนามเด็กเล่นได้ สะท้อนออกมาผ่านม้านั่งที่ตั้งเรียงเอาไว้ตามทางเดิน ให้เด็ก  ๆ ได้นั่งพักผ่อน

Credit ภาพ 11ARCHITECHURE

โรงเรียนจีนยุคใหม่ ต้องมีพื้นที่สีเขียวให้เด็กวิ่งเล่น แม้พื้นที่มีจำกัด

บริเวณรอบ ๆ โรงเรียนมีต้นไม้ปลูกเรียงไว้ตลอดแนวถนน แต่ละต้นสูง 10 เมตร ส่วนโถงทางเดินผู้ออกแบบเลือกใช้คอนกรีตที่มีพื้นผิวเป็นไม้ ส่วนผนังทำด้วยกระเบื้องดินเผา บริเวณโถงทางเดิน หรือสนามเด็กเล่นจะมีเก้าอี้ม้านั่งให้เด็ก ๆ ไว้หย่อนก้นยามเมื่อยล้า

หนึ่งในโจทย์สำคัญคือ เด็ก ๆ ต้องใกล้ชิดกับธรรมชาติมากที่สุด สถาปนิกจึงออกแบบสนามเด็กเล่นให้ออกมาเป็นธีมต่าง ๆ อาทิ ป่าเขียวขจี, หมู่บ้าน, เนินเขาสามเหลี่ยม, ปราสาท, ถนนบนเนินเขา หรือ ฟาร์มบนดาดฟ้า ฯลฯ

Credit ภาพ 11ARCHITECHURE

Credit ภาพ 11ARCHITECHURE

เดินเข้าไปในห้องเรียน ระเบียงจะถูกก่อขึ้นที่ความสูง 1.2 เมตร (ตามกฎข้อบังคับความสูงขั้นต่ำคือ 90 ซม.) เมื่อระเบียงไม่ได้สูงมาก เด็ก ๆ ก็จะสามารถมองออกไปเห็นวิวสีเขียว ๆ จากต้นไม้สูงใหญ่รอบๆ  โรงเรียนได้ แถมยังได้ร่มเงา และมีอากาศที่ดีไหลเวียนอยู่ตลอดเวลานั่นเอง

 

พื้นที่สีเขียวมีผลดีต่อเด็กอย่างไร?

ข้อมูลจาก Unicef ระบุว่า พื้นที่สีเขียวช่วยให้เด็กเล็กเรื่อยไปจนถึงอายุ 6 ขวบ มีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวที่สอดประสานกัน ช่วยให้มีการทรงตัวที่ดีกว่า และช่วยทำให้เด็กนอนหลับได้ดี เต็มอิ่ม ตื่นมาสดชื่น

โรงเรียนจีนยุคใหม่ ต้องมีพื้นที่สีเขียวให้เด็กวิ่งเล่น แม้พื้นที่มีจำกัด

อิรินี ฟลอรี ศาสตราจารย์พัฒนาการจิตวิทยาเด็ก มหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน กล่าวว่า เด็กๆ มีความจำเป็นต้องใช้เวลาอยู่กับพื้นที่ที่มีต้นไม้ แต่ก็ต้องระมัดระวังให้เป็นสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก ซึ่งต้องไม่มีระดับของมลภาวะ หรือเป็นที่ที่มีเสียงดังจนเกินไป และควรเป็นสถานที่ที่ดึงดูดความสนใจของเด็กๆ

มองกลับมายังไทย ในปี 2565 กระทรวงศึกษาธิการเคยผลักดันนโยบายปลูกต้นไม้ในสถานศึกษา แห่งละ 50 ไร่ หรือสถานศึกษาที่มีพื้นที่เยอะก็อาจจะเป็น 100 ไร่ เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวในโรงเรียนให้เด็ก ๆ ได้มีปฏิสัมพันธ์ใกล้ชิดกับธรรมชาติ

โจทย์ใหญ่จากจีนที่ไทยควรกลับนำมาคิดต่อคือเรื่อง "ดีไซน์" จะออกแบบโรงเรียนยังไงให้เด็ก ๆ ยังมีความสนุกสนานกับการเรียน มีพื้นที่สีเขียว หรือระบบนิเวศให้เด็ก ๆ ได้สำรวจ ดีไซน์ที่ว่านี้อาจจะหมายถึงการออกแบบสิ่งปลูกสร้าง หรืออาจหมายถึงการออกแบบหลักสูตรให้มีวิชานอกห้องเรียนมากยิ่งขึ้น

ประเทศที่เป็นผู้นำด้านการศึกษานำร่องไปก่อนแล้ว และบทเรียนที่พวกเขาได้รับก็พิสูจน์ได้ประมาณหนึ่งแล้วว่า "เล่น" สำคัญไปไม่น้อยกว่าการ "เรียน"

 

ที่มา: archdaily

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

related