iPhone กว่าครึ่งโลก (เคย) ผลิตขึ้นจากที่นี่ และสิ่งนี้กำลังเกิดขึ้นอีกครั้งกับรถ EV คอลัมน์ Keep The World ชวนทุกคนไปรู้จักกับเมืองเจิ้งโจว อดีตโรงงาน iPhone ที่ปัจจุบัน รัฐบาลจีนกำลังผลักดันให้กลายเป็นแหล่งผลิต EV แห่งใหม่ และใหญ่ที่สุดในโลก
ต้องบอกว่าในอดีตนั้น “เจิ้งโจว" เมืองหลวงของมณฑลหูหนาน คือโรงงาน iPhone ที่กระจายไปขายทั่วทุกมุมโลก แต่เนื่องจากรัฐบาลจีนมีนโยบายเดินเครื่องดันรถยนต์ไฟฟ้า (EV) จึงทำให้ Apple ตัดสินใจย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอินเดีย
หลังจากนั้น เศษรษฐกิจเมืองเจิ้งโจวก็ถดถอยมาเรื่อย ๆ จนกระทั่งกลับมาเฟื่องฟูอีกครั้งด้วย “รถยนต์ไฟฟ้า” หรือ electronic vehicle (EV) เหตุฉะนี้เเอง SPRiNG ชวนผู้อ่านย้อนรอยเมืองเจิ้งโจว จากร่วงโรย สู่ปัจจุบันที่กำลังรุ่งเรืองอย่างขีดสุด
เจิ้งโจว คือเมืองที่อยู่ทางตอนเหนือของจีนในมณฑลเหอหนาน มีประชากรอาศัยอยู่ราว 99.3 ล้านคน มีพื้นที่กว่า 1.67 แสนตารางกิโลเมตร ราว ๆ ปี 2010 เศรษฐกิจของเจิ้งโจวเฟื่องฟูสุดขีด จากการที่ Apple เลือกมาตั้งฐานการผลิต iPhone หนึ่งในเทคโนโลยีที่เปลี่ยนโลกมากที่สุดชิ้นหนึ่งของโลก
Business insider ระบุว่า ที่ผ่านมาเศรษฐกิจของเมืองเจิ้งโจว กว่า 60% ถูกขับเคลื่อนโดย foxconn บริษัทดูแลการประกอบสมาร์ทโฟนของ Apple ซึ่งมาพร้อมกับตำแหน่งจำนวนมหาศาล ในช่วงพีค ๆ โรงงาน foxconn มีพนักงานกว่า 350,000 คน และสามารถผลิต iPhone ได้มากถึง 140 ล้านเครื่อง
ยิ่งในช่วงที่ Apple กำลังจะเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ โรงงาน foxconn ทำสถิติ ผลิตสมาร์ทโฟนมากถึง 500,000 เครื่องต่อวัน หรือราว ๆ 350 เครื่องต่อนาทีเลยทีเดียว ด้วยปูมหลังเช่นนี้ ไม่แปลกใจเลยว่าทำไมเจิ้งโจวจึงเป็นเมืองที่เติบโตด้วยการพึ่งพาอุตสาหกรรมการผลิตสมาร์ทโฟนเป็นอย่างมาก
เมื่อเทคโนโลยีการผลิตเริ่มเข้ามามีบทบาท แรงงานมนุษย์จึงมีบทบาทน้อยลง Apple เริ่มใช้ระบบอัติโนมัติเข้ามาช่วยในการผลิตสมาร์ทโฟน จากที่เคยมีพนักงานกว่า 350,000 คน เหลือเพียงไม่กี่หมื่น กระทั่ง Apple ย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอินเดีย
ผลกระทบที่เกิดขึ้นคือ เศรษฐกิจเมืองเจิ้งโจวดิ่งลงเหว มีรายงานว่าห้างร้านปิดตัวลงกว่า 60 แห่ง พนักงานจากที่เคยทำงานที่โรงงาน foxconn 3 กะ ก็เหลือแค่ 2 กะ และในเมื่อ Apple ไม่แคร์ฉัน ทำไมฉันต้องง้อด้วยล่ะ
รัฐบาลจีนจึงแก้เกมด้วยการดึงอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ EV มาที่เมืองแห่งนี้ โดยมีพรรคคอมมิวนิสต์จีน และรัฐบาลท้องถิ่นให้การสนับสนุนด้วยการออกกฎหมายจูงใจเหล่านายทุน ไม่ว่าจะเป็นตัวเงิน วิจัย หรือแม้กระทั่งการพัฒนาแบตเตอรี่
ทั้งยังให้สิทธิลดหย่อนภาษีสำหรับบริษัทที่ลุงทนในแบตเตอรี่ และรถยนต์ไฟฟ้า นอกจากนี้ ยังสร้างแรงจูงใจให้ผู้คนในเมืองหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้ากันมากขึ้น จนวันนี้พูดได้เต็มปากว่า เจิ้งโจวคือฐานทัพรถยนต์ EV แห่งใหม่ ซึ่งจะกลายเป็นโรงงาน EV โลกในเร็ว ๆ นี้
ณ เวลานี้ BYD และ SAIC Motor เริ่มเข้ามาลงทุนในเจิ้งโจวกันบ้างแล้ว ในกรณีของ BYD เพิ่งเข้ามาตั้งโรงงานแห่งใหม่เมื่อปีที่แล้ว โดยตั้งเป้าว่าจะผลิตรถยนต์ EV ให้ได้ปีละ 200,000 คัน และจะทะยานสู่ปีละ 400,000 คัน
ไม่ใช่แค่ BYD ที่เข้ามาตั้งฐานการผลิตในเจิ้งโจว แต่ ‘SAIC Motor’ ก็ลงเงินไปกว่า 9.5 พันล้านบาท เพื่อสร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี ในขณะที่ Yutong Bus ผู้ผลิตรถบัสรายใหญ่ในจีน กำลังเดินเครื่องผลิตรถบัสไฟฟ้าในเจิ้งโจวด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้ เจิ้งโจวคือเมืองที่รัฐบาลจีนหวังปั้นจะเป็นฐานทัพรถ EV ในจีน และของโลก ตอกย้ำด้วยคำพูดของ นายกเทศมนตรีเมืองเจิ้งโจว ซึ่งระบุว่า ภายในปีหน้า (ปี 2025) จะเร่งการเติบโตของอุตสาหกรรมรถ EV มากขึ้น ตั้งเป้าผลิตรถให้ได้สูงถึง 1.5 ล้านคัน
จากนี้ ต้องมาดูกันต่อว่าแผนแปลงโฉมเมือง “เจิ้งโจว” จากฮับผลิต iPhone ให้กลายเป็นเมืองหลวง “รถยนต์ไฟฟ้า” จะสัมฤทธิ์ผลหรือไม่
ที่มา: Business insider
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ส่อง 5 รถ EV รุ่นใหม่ เปิดตัวงาน Motor Expo 2024 มีรุ่นไหนน่าซื้อ รีวิว ราคา สเปค
โจทย์ใหญ่! กำจัดซาก “แบตฯEV” ไทย ยังขาดกฎหมาย -การจัดการ-ต่อยอดเทคโนโลยี
พาชม! โรงงานผลิตรถยนต์ EV “ฉางอัน” จีน หนุนใช้นวัตกรรมลดคาร์บอนต่ำ-รักษ์โลก