svasdssvasds

รู้จัก Taxidermy ศาสตร์การสตั๊ฟสัตว์เพื่ออนุรักษ์ เนียนเหมือนมีชีวิต

รู้จัก Taxidermy ศาสตร์การสตั๊ฟสัตว์เพื่ออนุรักษ์ เนียนเหมือนมีชีวิต

วันปล่อยผีคืนนี้ คอลัมน์ Keep The World ขอกระโดดร่วมวงบรรยากาศ ฮาโลวีน ด้วยการพาไปรู้จักกับวิธี “สตั๊ฟสัตว์” หรือ Taxidermy ศาสตร์การคงไว้ซึ่งร่างกายสัตว์ บางคนสตั๊ฟเพราะอนุรักษ์ บางคนสตั๊ฟเพราะรักก็มีเหมือนกัน

SHORT CUT

  • การสตั๊ฟสัตว์ คือเทคนิคทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้รักษาสภาพของสิ่งมีชีวิตเอาไว้ และส่วนใหญ่สัตว์ที่ผ่านการสตั๊ฟจะถูกนำไปใช้เพื่อประโยชน์ด้านงานวิจัยเป็นหลัก โดยไม่คำนึกถึงสรีระ และท่าทาง
  • ขณะที่ Taxidermy ต้องอาศัยเทคนิคทางวิทยาศาสตร์ ผสมรวมกับศาสตร์และศิลป์พอสมควร
  • ขั้นตอนแรก นักสตั๊ฟสัตว์ หรือผู้เชี่ยวชาญจะทำการเลาะหนังออกมารักษาสภาพ และจะปั้นกล้ามเนื้อใหม่ให้ดูใกล้เคียงของเดิม

วันปล่อยผีคืนนี้ คอลัมน์ Keep The World ขอกระโดดร่วมวงบรรยากาศ ฮาโลวีน ด้วยการพาไปรู้จักกับวิธี “สตั๊ฟสัตว์” หรือ Taxidermy ศาสตร์การคงไว้ซึ่งร่างกายสัตว์ บางคนสตั๊ฟเพราะอนุรักษ์ บางคนสตั๊ฟเพราะรักก็มีเหมือนกัน

วันปล่อยผีคืนนี้ คอลัมน์ Keep The World ขอกระโดดร่วมวงบรรยากาศ ฮาโลวีน ด้วยการพาไปรู้จักกับวิธี “สตั๊ฟสัตว์” หรือ Taxidermy ศาสตร์การคงไว้ซึ่งร่างกายสัตว์ แม้พวกมันจะกลับดาวไปแล้ว แต่ร่างกายยังอยู่ ซึ่งยังมีประโยชน์ในแง่การศึกษา และเจ้าของบางคนสตั๊ฟสัตว์ที่รักเอาไว้มองเวลาคนึงหาก็มีเหมือนกัน

 

ศาสตร์การสตั๊ฟสัตว์ คืออะไร มีวิธีการอย่างไร?

การสตั๊ฟสัตว์ คือเทคนิคทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้รักษาสภาพของสิ่งมีชีวิตเอาไว้ และส่วนใหญ่สัตว์ที่ผ่านการสตั๊ฟจะถูกนำไปใช้เพื่อประโยชน์ด้านงานวิจัยเป็นหลัก โดยไม่คำนึกถึงสรีระ และท่าทาง หมายความว่า ร่างสตั๊ฟที่ได้จะไม่ได้มีท่าทางที่สง่า หรือผ่าเผยมากเท่าวิธีหลัง

เครดิตภาพ Taxidermyhouse

แตกต่างจากศาสตร์การทำ Taxidermy ซึ่งก็มีความหมายว่าการสตั๊ฟสัตว์เหมือนกัน แต่ในกรณีนี้ ต้องอาศัยเทคนิคทางวิทยาศาสตร์ ผสมรวมกับศาสตร์และศิลป์พอสมควร

ขั้นตอนแรก นักสตั๊ฟสัตว์ หรือผู้เชี่ยวชาญจะทำการเลาะหนังออกมารักษาสภาพ และจะปั้นกล้ามเนื้อใหม่ให้ดูใกล้เคียงของเดิม และเป็นธรรมชาติมากที่สุด แถมสามารถจัดท่าทางให้ดูสวยงามได้

เครดิตภาพ Taxidermyhouse

อย่างไรก็ตาม เทคนิคการสตั๊ฟไม่ได้มีวิธีการตายตัว แต่จะขึ้นอยู่กับชนิดของสัตว์ สัตว์น้ำ สัตว์ปีก หรือสัตว์ที่มีขนาดเล็ก ก็จะมีวิธีที่แตกต่างกันออกไป และนอกจากนี้ ยังสามารถสตั๊ฟพืช หรือดอกไม้ก็ได้เหมือนกัน

สตั๊ฟสัตว์เพราะ...

  • เพราะอนุรักษ์

อย่างที่เกริ่นไปตอนต้น การสตั๊ฟสัตว์เป็นไปเพื่อการศึกษาวิจัยเป็นส่วนใหญ่ เพื่อให้นักวิทยาศาสตร์ หรือผู้ที่สนใจ ได้ศึกษาเรียนรู้ และเก็บข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลในด้านพันธุกรรม สัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว อนุกรมวิธาน ศึกษาโครงสร้างร่างกาย หรือแม้แต่ลักษณะการเคลื่อนไหว แต่ควรศึกษาให้ดี เพราะสัตว์บางชนิดเป็นสัตว์สงวนหรือใกล้สูญพันธุ์การจะครอบครองนั้นต้องทำเรื่องขออนุญาตให้ถูกต้องตามกฎหมาย

รู้จัก Taxidermy ศาสตร์การสตั๊ฟสัตว์เพื่ออนุรักษ์ เนียนเหมือนมีชีวิต

 

  • เพราะรัก

กับบางคน สัตว์เลี้ยงเปรียบเสมือนคนในครอบครัว เหมือนเพื่อน เหมือนลูกคนหนึ่ง เราเลี้ยงดู ปูเสื่อ ให้อาหาร พาไปหาหมอมาตั้งแต่เล็ก ๆ และเมื่ออายุขัยมาเคาะประตู สัตว์เหล่านี้ ก็โบกมือจากลาเราไป เหลือแต่ซากร่างกาย และความคิดถึงอีกเพียงไม่กี่กิโลกรัม ให้เราดูต่างหน้า และเช็ดน้ำตาในมุมลับที่คนไม่เห็น

เว็บไซต์ Psychology Today อธิบาย เจ้าของสัตว์เลี้ยงมีวิธีรับมือกับความสูญเสียไม่เหมือนกัน และไม่มีระยะเวลาตายตัวว่าความเศร้านั้นจะเจือจางไปเมื่อไร

ด้วยเหตุนี้เอง จึงเกิดวิธีรักษาไว้ซึ่งความทรงจำ และความคิดถึง ไม่ว่าจะเป็นการปริ้นรูปถ่ายมาติดบ้านที่เคสต่างประเทศก็มีการสร้างรูปปั้นไซซ์เท่าขนาดจริงไว้ดูต่างหน้า หรือแม้กระทั่งสตั๊ฟสัตว์เอาไว้ดู

อย่างหลังได้รับความนิยมมาก เพราะเจ้าของยังสามารถสัมผัสขน สังเกตเห็นแววตา และรอยยิ้มสดใส ชวนให้คิดถึงช่วงเวลาดี ๆ ที่เคยมีร่วมกัน

 

เปิดราคาสตั๊ฟสัตว์ 

สำหรับอัตราค่าบริการสัตว์สตั๊ฟฟ มีอยู่หลายราคา แบกจำแนกกันตามขนาด และน้ำหนัก ด้านล่างนี้ คือราคาการสตั๊ฟสัตว์ของคณะสัตวแพทย์มหาวิทยาลัยมหิดล 

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 

  • น้ำหนักไม่เกิน 500 กรัม ราคา 500 บาท
  • น้ำหนักตั้งแต่ 500 กรัม - 1 กิโลกรัม 700 บาท
  • น้ำหนักตั้งแต่ 1.1 - 2 กิโลกรัม 1,400
  • น้ำหนักตั้งแต่ 2.1 - 3 กิโลกรัม 2,100 บาท
  • น้ำหนักตั้งแต่ 3.1 - 4 กิโลกรัม 2,800 บาท
  • น้ำหนักตั้งแต่ 4.1 - 5 กิโลกรัม 3,500

 

ที่มา: มหาวิทยาลัยมหิดล

เครดิตภาพ: Taxidermihouse

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related