SHORT CUT
ในแต่ละปี โลกของเรามีการผลิตขยะพลาสติกมากกว่า 400 ล้านตัน แต่ในบรรดาขยะพลาสติกจำนวนนั้น เกือบ 50 เปอร์เซ็นต์เป็นของบริษัทยักษ์ใหญ่ไม่ถึง 60 แห่งด้วยซ้ำไป
ผลการศึกษา เปิดเผยว่า บริษัทยักษ์ใหญ่น้อยกว่า 60 แห่งทั่วโลก เป็นผู้ผลิตขยะพลาสติกมากกว่าครึ่งหนึ่งของโลกใบนี้ และในจำนวนดังกล่าว มีเพียง 6 บริษัทด้วยซ้ำไปที่ผลิตขยะพลาสติกมากกว่าหนึ่งในสี่ โดยอาสาสมัครจากหลายประเทศได้ทำการเก็บรวบรวมและสำรวจขยะพลาสติกมากกว่า 1,870,000 ชิ้นใน 84 ประเทศ กว่า 5 ปีระหว่างปี 2018-2022 โดยขยะที่ทำการสำรวจนั้นเป็นประเภทขยะพลาสติกที่เป็นบรรจุภัณฑ์บรรจุอาหาร เครื่องดื่มแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง และซองบุหรี่
ผลปรากฏว่า ขยะพลาสติกที่พบทั่วโลกจากการสำรวจนั้น มากที่สุดมากจากบริษัท Coca-Cola 11 เปอร์เซ็นต์ บริษัท Pepsico 5 เปอร์เซ็นต์ บริษัท Nestlé คิดเป็น 3 เปอร์เซ็นต์ บริษัท Danone ผู้นำด้านอาหารโลก คิดเป็น 3 เปอร์เซ็นต์ และบริษัท Altria บริษัทด้านยาสูบรายใหญ่ของสหรัฐฯ คิดเป็น 2 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งทั้ง 5 บริษัทรวมกันแล้วคิดเป็น 24 เปอร์เซ็นต์ของขยะทั้งหมด ขณะที่เหลือกว่า 50 เปอร์เซ็นต์มาจากบริษัทอีก 56 แห่ง
อย่างไรก็ตาม กว่าครึ่งของขยะพลาสติกที่พบไม่มียี่ห้อ ทำให้ไม่สามารถบอกได้ว่ามาจากที่ใด บริษัทใด
หนึ่งในผู้วิจัยเปิดเผยว่า อุตสาหกรรมเหล่านั้นควรจะต้องมีความรับผิดชอบให้มากขึ้น แต่พวกเขาก็เพียงต้องการชี้ให้แบรนด์เลือกเองว่า ควรจะใช้บรรจุภัณฑ์แบบใด
เดอะการ์เดียน สื่อสัญชาติอังกฤษติดต่อไปสัมภาษณ์ยังบริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านั้น
Coca-Cola ตอบกลับมาว่า “เราใส่ใจในผลกระทบของเครื่องดื่มทุกอย่างที่เราจำหน่าย และยึดมั่นในการขยายกิจการในหนทางที่ถูกต้อง โดยโคคาโคล่าเคยให้คำมั่นว่ารีไซเคิลบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดทั่วโลกภายในปี 2025 และจะใช้วัสดุรีไซเคิลเป็นบรรจุภัณฑ์อย่างน้อย 50 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2030
ส่วน Nestlé ชี้ว่า ได้ลดการใช้พลาสติกลง 14.9 เปอร์เซ็นต์ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา และสนับสนุนโครงการทั่วโลกที่พัฒนาเรื่องการเก็บของเสียและโครงการรีไซเคิล
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าหลายบริษัทที่ติดโพลนี้จะมีมาตรการปรับปรุงการสร้างผลกระทบเรื่องมลพิษจากพลาสติก แต่บรรดาผู้เชี่ยวชาญที่อยู่เบื้องหลังงานวิจัยนี้ก็ชี้ว่า การทำงานของบริษัทเหล่านั้นไม่ได้เป็นประโยชน์เลย โดยการผลิตพลาสติกเพิ่มขึ้นสองเท่า นับตั้งแต่เริ่มต้นปี 2000 และผลการศึกษาหลายตัวชี้ว่า มีขยะพลาสติกเพียงแค่ 9 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ได้รับการรีไซเคิล
ที่มา : theguardian