svasdssvasds

ติดอาวุธผู้ประกอบการไทย เพิ่มมูลค่าธุรกิจด้วย Design for Circular Economy

ติดอาวุธผู้ประกอบการไทย เพิ่มมูลค่าธุรกิจด้วย Design for Circular Economy

ปัจจุบันเทรนด์โลกได้ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งอุตสาหกรรมต่างๆ ได้หันมาปรับตัวเข้ากับเทรนด์แห่งความยั่งยืนหรือ Sustainability กันอย่างคึกคัก

โดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เพื่อเพิ่มมูลค่าทางการตลาดและลดผลกระทบจากกระบวนการผลิตสู่สิ่งแวดล้อม

ติดอาวุธผู้ประกอบการไทย เพิ่มมูลค่าธุรกิจด้วย Design for Circular Economy

สำหรับประเทศไทยเอง ภาครัฐได้มีการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการด้านออกแบบตามหลักคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (CE Design in Action) โดยกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้จัดสัมมนา “ติดอาวุธอุตสาหกรรมไทย ส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการต่อยอดธุรกิจด้วยการออกแบบตามหลักคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (CE Design in Action) ปีที่ 2”  ตอกย้ำความสำเร็จของโครงการฯ การประยุกต์ใช้หลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ในการออกแบบของสถานประกอบการเพื่อลดการปลดปล่อยขยะของเสียที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ติดอาวุธผู้ประกอบการไทย เพิ่มมูลค่าธุรกิจด้วย Design for Circular Economy

เศรษฐกิจหมุนเวียน เพิ่มมูลค่าทางการตลาด พร้อมคำนึงถึงปัญหาโลกร้อน

ย้อนกลับไปก่อนเทรนด์โลกจะก้าวสู่ความยั่งยืน การเติบโตทางเศรษฐกิจโลกจะพัฒนาขึ้นบนพื้นฐานของเศรษฐกิจเส้นตรง (Linear Economy) ที่เน้นการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้เพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ และเมื่อผลิตภัณฑ์สิ้นอายุการใช้งานหรือไม่ใช้แล้วจะถูกทิ้ง (Take-Make-Dispose) กลายเป็นขยะหรือของเสียที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตส่วนใหญ่ถูกออกแบบโดยไม่ได้คำนึงถึงการนำกลับมาใช้ซ้ำ การรีไซเคิล หรือการจัดการซากผลิตภัณฑ์เมื่อสิ้นอายุการใช้งานหรือไม่ใช้แล้ว รวมถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดวัฏจักรชีวิต (Life Cycle) ของผลิตภัณฑ์ แต่เน้นให้ความสำคัญกับประเด็นด้านอื่นเป็นหลัก เช่น ราคา อีกทั้งยังมีการออกแบบในลักษณะที่ทำให้อายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์สั้นกว่าที่ควรจะเป็น รวมทั้งจูงใจให้ผู้บริโภคเปลี่ยนมาใช้ผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่กว่า ส่งผลให้ปริมาณขยะหรือของเสียทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ปริมาณสำรองทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่จำกัดทั่วโลกลดลง และมีแนวโน้มขาดแคลนเพิ่มขึ้น

ติดอาวุธผู้ประกอบการไทย เพิ่มมูลค่าธุรกิจด้วย Design for Circular Economy

การออกแบบตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Design for Circular Economy) จึงเป็นการจัดการกับปัญหาตั้งแต่ต้นทาง และเป็นปัจจัยสำคัญในการเปลี่ยนผ่านจากเศรษฐกิจเส้นตรงไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน โดยเน้นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่จำกัดให้น้อยที่สุดและเกิดประโยชน์สูงสุด เพิ่มสัดส่วนการใช้ทรัพยากรหมุนเวียนให้มากขึ้น รักษาคุณค่าของทรัพยากรในระบบและหมุนเวียนใช้ให้นานที่สุด และลดการปลดปล่อยของเสียออกจากระบบให้น้อยที่สุด เพื่อก่อให้เกิดรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน

ติดอาวุธผู้ประกอบการไทย เพิ่มมูลค่าธุรกิจด้วย Design for Circular Economy

จุดเริ่มต้นโครงการส่งเสริมการออกแบบตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Design for Circular Economy)

 

เพื่อเป็นการเสริมความแข็งแกร่งให้กับผู้ประกอบการไทยในระดับโลก กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ในฐานะที่เป็นหน่วยงานหลักในการจัดหาและบริหารจัดการวัตถุดิบ ทั้งวัตถุดิบจากแหล่งแร่ธรรมชาติ (Primary Raw Materials) และวัตถุดิบทุติยภูมิที่ได้จากการรีไซเคิลขยะหรือของเสีย (Secondary Raw Materials) เพื่อสร้างความมั่นคงด้านวัตถุดิบให้แก่ภาคอุตสาหกรรม รองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนของผู้ประกอบการไทย รวมทั้งยังได้รับมอบหมายให้เป็น Focal Point ด้านการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนของกระทรวงอุตสาหกรรม ได้จัดทำ “โครงการส่งเสริมการออกแบบตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน” ขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในขับเคลื่อน Circular Economy ของประเทศและมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ตามนโยบายรัฐบาล
โดยมีเอ็มเทค เป็นที่ปรึกษาโครงการ

ติดอาวุธผู้ประกอบการไทย เพิ่มมูลค่าธุรกิจด้วย Design for Circular Economy ปี 2566 นี้ได้ดำเนินงานมาเป็นปีที่ 2 ซึ่งเกิดจากการต่อยอดผลสำเร็จและการตอบรับที่ดีจากผู้ประกอบการในปี 2565 ที่ผ่านมา โดยในปีนี้มีตัวอย่างผลสำเร็จที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมจากสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการและได้รับคำปรึกษาแนะนำเชิงลึก จำนวน 6 ราย และงานสัมมนาในครั้งนี้มีสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการในปีที่ผ่านมา มาร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ผลสำเร็จจากการติดอาวุธด้านการออกแบบตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน และจากผลสำเร็จที่เกิดขึ้น ประกอบกับยังมีผู้ประกอบการอีกเป็นจำนวนมากให้ความสนใจ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) จึงได้ขยายผลการดำเนินงานโครงการนี้ในปีงบประมาณ 2567 เป็นปีที่ 3 สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจ

ติดอาวุธผู้ประกอบการไทย เพิ่มมูลค่าธุรกิจด้วย Design for Circular Economy

ดร.ธีรวุธ  ตันนุกิจ ผู้อำนวยการกองนวัตกรรมวัตถุดิบและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) เผยว่า โครงการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการต่อยอดธุรกิจด้วยการออกแบบตามหลักคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (CE Design in Action) นี้เป็นจุดเริ่มของการเปลี่ยน Linear Economy หรือเศรษฐกิจเส้นตรง ให้เป็น Circular economy ซึ่งเราจะปรับตั้งแต่กระบวนการคิด กระบวนการออกแบบ ไม่ว่าจะออกแบบให้มีการใช้วัสดุรีไซเคิลและรีไซเคิลกลับมาได้ หรือแม้แต่การออกแบบปรับปรุงแก้ไขในกระบวนการผลิต ลดของเสียที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาตั้งแต่ต้นทางสู่เป้าหมายในการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ทำให้มีมูลค่าเพิ่มสูงสุดตามนโยบายรัฐบาลและตลาดโลก

ติดอาวุธผู้ประกอบการไทย เพิ่มมูลค่าธุรกิจด้วย Design for Circular Economy

ความสำเร็จจากโครงการแรกสู่ CE Design in Action ปีที่ 2

โครงการส่งเสริมการออกแบบตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Design for Circular Economy) เพื่อการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ได้รับการสนับสนุนจาก กองนวัตกรรมวัตถุดิบและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) กระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งโครงการนี้เป็นหนึ่งในกลไกสำคัญในการผลักดันการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไปสู่ Circular Economy ที่มีการหมุนเวียนการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด ให้เกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม สอดคล้องกับนโยบายและทิศทางการพัฒนาประเทศของรัฐบาล

ติดอาวุธผู้ประกอบการไทย เพิ่มมูลค่าธุรกิจด้วย Design for Circular Economy

โดยการถ่ายทอดประสบการณ์การประยุกต์ใช้แนวทาง Design for Circular Economy ของอุตสาหกรรมไทย เพื่อพัฒนาและยกระดับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมให้มีการประยุกต์หลักคิด Circular Economy ในการออกแบบ ซึ่ง เอ็มเทค สวทช. ได้ใช้ความเชี่ยวชาญด้านวัสดุศาสตร์ของกลุ่มวิจัย ผนวกกับการใช้กลไกเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของเอ็มเทคที่มีอยู่ทั้งในและต่างประเทศ เป็นพี่เลี้ยงให้แก่ผู้ประกอบการ โดยถ่ายทอดข้อมูลและความรู้ที่ถูกต้องในรูปแบบการให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกผ่านการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อการปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ กระบวนการผลิต การเลือกใช้วัตถุดิบ การใช้งาน การจัดการเมื่อสิ้นอายุการใช้งานหรือไม่ใช้แล้ว ตามหลักคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน

ติดอาวุธผู้ประกอบการไทย เพิ่มมูลค่าธุรกิจด้วย Design for Circular Economy

รศ.ดร.เติมศักดิ์ ศรีคิรินทร์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. กล่าวว่า เรารับผิดชอบในเชิงเทคนิคของประเทศ ทางกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ดำเนินทางด้านนโยบาย ช่วยกันทำให้เห็นว่ามันทำได้จริง และทางกรมฯ ก็สามารถพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าเราสามารถไปถึงเป้าหมายได้  ส่วนหนึ่งที่อยากเห็นต่อไปคือ ผู้ประกอบการหันมาเข้าร่วมโครงการกันมากขึ้น ถึงแม้ภาครัฐจะไม่ได้มีส่วนในการผลิตแต่มีส่วนในการส่งเสริม ซึ่งกรมฯ ก็มีนโยบายดีๆ และมีผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมจะสนับสนุน ส่งเสริม จึงอยากเชิญชวนผู้ประกอบการมาร่วมเยอะๆ เราพร้อมจะใช้ความเชี่ยวชาญด้านต่างๆ ผลักดันให้ผู้ประกอบการแข่งขันได้ในระดับโลก

ติดอาวุธผู้ประกอบการไทย เพิ่มมูลค่าธุรกิจด้วย Design for Circular Economy ติดอาวุธผู้ประกอบการไทย เพิ่มมูลค่าธุรกิจด้วย Design for Circular Economy

ติดอาวุธผู้ประกอบการไทย เพิ่มมูลค่าธุรกิจด้วย Design for Circular Economy

ตัวอย่างความสำเร็จของผู้ประกอบการที่เข้าร่วม “โครงการส่งเสริมการออกแบบตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน” ขึ้น เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในขับเคลื่อน Circular Economy ของประเทศและมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำตามนโยบายรัฐบาล โดยมี เอ็มเทค เป็นที่ปรึกษาโครงการ เช่น บริษัท เคนไซ ซีรามิคส์ อินดัสตรี้ จํากัด ผู้ผลิตและส่งออกกระเบื้องปูพื้นชั้นนำของไทย ซึ่งให้ความสำคัญกับการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ได้ร่วมเป็นหนึ่งในผู้ประกอบการต้นแบบของโครงการฯ เพื่อยกระดับกระบวนการผลิต ลดของเสีย และคงคุณค่าของทรัพยากรให้ได้มากที่สุด โดยบริษัท เคนไซซีฯ มีโจทย์สำคัญที่ต้องการใช้ประโยชน์จากเศษกระเบื้องเหลือทิ้งภายในโรงงาน เพื่อมุ่งสู่ Zero Waste และต้องการนำของเสียจากโรงงานเซรามิกอื่นๆ มาสร้างมูลค่าเพิ่มได้ด้วย

ติดอาวุธผู้ประกอบการไทย เพิ่มมูลค่าธุรกิจด้วย Design for Circular Economy ทีมวิจัย เอ็มเทค สวทช. จึงร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งแต่เดิมมีการนำเศษเซรามิกบดมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ ‘อิฐน้ำซึมผ่านเร็ว’ แต่ยังเหลือเศษผงเซรามิกขนาดเล็ก อีกทั้งเศษเซรามิกแบบมีเคลือบจากโรงงานอื่นยังไม่เหมาะสำหรับการทำอิฐน้ำซึมผ่านเร็ว จึงได้ประเมินหาโซลูชั่นใหม่ ที่ใช้เศษผงเซรามิกและเศษเซรามิกแบบมีเคลือบได้ 100% รวมทั้งศึกษาเก็บข้อมูลการใช้และการหมุนเวียนทรัพยากรในระบบเพื่อออกแบบกระบวนการใหม่ที่ใช้ทรัพยากรและพลังงานให้น้อยที่สุด ซึ่งนำมาสู่แนวคิดการออกแบบการผลิตอิฐบล็อกช่องลมที่ลดการพึ่งพาวัตถุดิบปฐมภูมิหรือทรัพยากรธรรมชาติ โดยใช้เศษเซรามิกมาเป็นวัตถุดิบตั้งต้นและใช้กระบวนการผลิตที่ไม่ต้องเผา ทำให้ช่วยลดการใช้พลังงานและต้นทุนการผลิตอย่างมาก

ติดอาวุธผู้ประกอบการไทย เพิ่มมูลค่าธุรกิจด้วย Design for Circular Economy ติดอาวุธผู้ประกอบการไทย เพิ่มมูลค่าธุรกิจด้วย Design for Circular Economy นอกจากนี้กระบวนการที่พัฒนาขึ้นใหม่ยังสามารถนำกระเบื้องเหลือทิ้งกลับมารีไซเคิลได้ทั้งหมด ซึ่งผลการประเมินสมดุลการไหลของวัสดุ (Mass Balance) พบว่าแทบไม่มีของเสียเกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต นอกจากนี้ ทีมวิจัย เอ็มเทค สวทช. ได้ดำเนินการศึกษาวิจัยและพัฒนา ‘สูตรการผลิตอิฐบล็อกช่องลม’ โดยใช้เศษเซรามิกเป็นวัตถุดิบทดแทนทรายซึ่งเป็นวัตถุดิบปฐมภูมิในการทำชิ้นงานตัวอย่าง พร้อมทั้งทดสอบคุณสมบัติ เช่น กำลังรับแรงอัด การดูดซึมน้ำ และความหนาแน่น พบว่าต้นแบบอิฐบล็อกช่องลมที่ได้จากเศษเซรามิกนั้นมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับอิฐบล็อกช่องลมทั่วไปที่วางขายตามท้องตลาด โดยหลังจากวิจัยและพัฒนาแล้วเสร็จ ทางทีมวิจัยได้ถ่ายทอดองค์ความรู้แก่โรงงานเพื่อดำเนินการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบ สำหรับใช้ต่อยอดเพื่อจำหน่ายต่อไปอนาคต นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างความสำเร็จของผู้ประกอบการอีกมากมาย เช่น บริษัท ยูเนี่ยนไพโอเนียร์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ฟอร์จูน พาร์ท อินดันตรี้ จำกัด (มหาชน) และบริษัทอื่น ๆ เป็นต้น

ติดอาวุธผู้ประกอบการไทย เพิ่มมูลค่าธุรกิจด้วย Design for Circular Economy

สิ่งที่ผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการ Design for Circular Economy จะได้รับ

ดร.ธีรวุธ  ตันนุกิจ กล่าวว่า ในบทบาทของภาครัฐเน้นการส่งเสริมผู้ประกอบการ เราถึงมีโครงการเพื่อยกระดับผู้ประกอบการให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกซึ่งเน้นความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สิ่งที่ผู้ประกอบการได้คือ รายได้ที่เพิ่มขึ้นเพราะหลายรายที่ทำเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียนมีรายได้และมีต่างประเทศเข้ามาสนใจและติดต่อซื้อขายกันโดยที่ไม่ต่อรองเงินเลย นี่เป็นเคสของผู้ประกอบการที่ร่วมโครงการกับเรา

สิ่งที่ผู้ประกอบการจะได้รับ หนึ่งคือการลดต้นทุนด้านวัสดุลดลง สร้างมูลค่าทางการตลาดจากผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตอบโจทย์เรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียนในระดับโลก ซึ่งผู้ประกอบการได้โดยตรงอยู่แล้ว

ติดอาวุธผู้ประกอบการไทย เพิ่มมูลค่าธุรกิจด้วย Design for Circular Economy ในระยะแรกผู้ประกอบการส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมโครงการ จะเกี่ยวกับพลาสติกก่อนในระยะแรกๆ ซึ่งพลาสติกกำลังเป็นปัญหาขยะ ที่โลกกำลังให้ความสำคัญ ถัดมาเป็นผู้ประกอบการเกี่ยวกับโลหะซึ่งมีมาตรการ CBAM เข้ามา ซึ่งเรื่องเศรษฐกินหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำมาแน่นอน  เพราะฉะนั้นทุกเซ็กเตอร์ต้องปรับตัว ณ ตอนนี้รัฐและกระทรวงอุตสาหกรรมเองมีเงินสนับสนุนและส่งเสริม ให้ผู้ประกอบการร่วมยกระดับไปกับเรา

ดร.ธีรวุธ  ยังกล่าวอีกว่า ที่ผ่านมาถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก เราสามารถเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ จากการใช้ทรัพยากรหมุนเวียน เพิ่มมูลค่าให้ผู้ประกอบการถึง 180 ล้านบาท ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 7,000 กว่าตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี เทียบเท่ากับลดการใช้รถยนต์สันดาปภายในประมาณ 1,500 คัน

ติดอาวุธผู้ประกอบการไทย เพิ่มมูลค่าธุรกิจด้วย Design for Circular Economy

ส่วนในปีนี้เราสามารลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 7,700 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า หรือเท่ากับลดการใช้รถยนต์สันดาปภายในประมาณ 1,600 คันซึ่งถือประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก และในซีซั่นที่ 3 ต้องขอบคุณทีมที่ปรึกษาของเอ็มเทคที่ได้ผู้เชี่ยวชาญมาร่วมโครงการ และร่วมกันออกแบบตามเศรษฐกิจหมุนเวียนให้กับผู้ประกอบการ เราตั้งเป้าว่าจะเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจรักษา ส่วนแบ่งทางเศรษฐกิจ เพิ่มมูลค่าทางการตลาดให้ ไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาทต่อปี ปีหน้าเราอาจจะมีความสำเร็จไปถึงการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนระจกหลักหมื่นตัน

ติดอาวุธผู้ประกอบการไทย เพิ่มมูลค่าธุรกิจด้วย Design for Circular Economy ผู้อำนวยการกองนวัตกรรมวัตถุดิบและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) ได้เชิญชวนผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการ โดยกระทรวงอุตสาหกรรมมองทุกเซ็กเตอร์สำคัญเท่ากันหมด ในฐานะที่เอ็มเทคมีความเชี่ยวชาญทางด้านโลหะและวัสดุ ประกอบกับเรามีทีมที่ปรึกษาที่มีความเข้มแข็ง มีผู้เชี่ยวชาญมากมาย ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีและสิ่งที่ทางผู้ประกอบการจะได้รับอย่างแน่นอนคือ เรื่องของมูลค่าทางการตลาด การขยายช่องทางมูลค่าทางการตลาดในต่างประเทศ ที่สำคัญ คือ อิมเมจของบริษัทย่อมดีเข้าตาต่างประเทศ เพราะสินค้าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตอบโจทย์เรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียน และสังคมคาร์บอนต่ำ