svasdssvasds

อุทยานมิตรผลด่านช้าง ใช้ของเหลือจากภาคเกษตรผลิตพลังงานไฟฟ้าชีวมวล

อุทยานมิตรผลด่านช้าง ใช้ของเหลือจากภาคเกษตรผลิตพลังงานไฟฟ้าชีวมวล

เป็นที่รู้กันดีว่าขยะหรือสิ่งที่เหลือจากอุตสาหกรรมอาหารนั้นทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก จึงมีการนำ Food Waste เหล่านี้มาใช้ประโยชน์ในการผลิตพลังงาน อย่าง อุทยานมิตรผลด่านช้าง เป็นคอมเพล็กซ์แรกของไทยที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน โดยผ่านการรับรองจาก TGO

ปัจจุบันภาคเกษตรซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการผลิตอาหาร สามารถต่อยอดสู่การผลิตพลังงานทดแทน หรือ Renewable Energy ได้ ซึ่งอุทยานมิตรผลด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นคอมเพล็กซ์แห่งแรกของประเทศไทยที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality Complex) นับว่ามีส่วนช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและลดการใช้ทรัพยากรจากแหล่งธรรมชาติ และมีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามายกระดับประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต เพื่อต่อยอดธุรกิจการผลิตอาหารสู่การผลิตพลังงานไฟฟ้าชีวมวล

อุทยานมิตรผลด่านช้าง ใช้ของเหลือจากภาคเกษตรผลิตพลังงานไฟฟ้าชีวมวล

อุทยานมิตรผลด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นคอมเพล็กซ์ที่ประกอบไปด้วย 7 โรงงานต่อเนื่องที่เริ่มจากโรงงานน้ำตาล และหมุนเวียนใช้ทรัพยากรที่เหลือจากกระบวนการผลิตน้ำตาล ต่อยอดสู่โรงไฟฟ้าชีวมวล และอุตสาหกรรมไบโอเบส อีกทั้งในปัจจุบันได้มีการใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เป็นจำนวนกว่า 270,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า หรือเทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้กว่า 300,000 ไร่ ผ่านแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม ได้แก่

  • การใช้พลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Energy) จากการหมุนเวียนวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ชานอ้อย ใบอ้อย สู่การผลิตพลังงานไฟฟ้าชีวมวล รวมถึงใช้ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ในการผลิตไฟฟ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อใช้ภายในกระบวนการผลิตของทุกโรงงานฯ โดยได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูง ลดการสูญเสีย จึงช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้กว่า 185,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

อุทยานมิตรผลด่านช้าง ใช้ของเหลือจากภาคเกษตรผลิตพลังงานไฟฟ้าชีวมวล

  • ระบบบริหารจัดการน้ำเสีย (Advanced Technology for Environmental Protection) ด้วยการใช้เทคโนโลยีการบำบัดแบบตะกอนเร่ง (Activated Sludge) ซึ่งมีประสิทธิภาพสูง มาแทนการใช้ระบบแบบเดิมที่ใช้พื้นที่มากและเกิดก๊าซเรือนกระจก ส่งผลให้น้ำที่ผ่านการบำบัดมีคุณภาพที่ดี สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้  และช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้กว่า 10,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
  • การชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Carbon Offset) จำนวน 75,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าจากคาร์บอนเครดิตที่กลุ่มมิตรผลได้รับจากการเข้าร่วมโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ ตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER)

อุทยานมิตรผลด่านช้าง ใช้ของเหลือจากภาคเกษตรผลิตพลังงานไฟฟ้าชีวมวล

นอกจากนี้อุทยานมิตรผลด่านช้างยังมีแนวทางในการดำเนินงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ภายใต้หลัก BCG จากผลผลิตทางการเกษตร, การส่งเสริมการตัดอ้อยสด, ลดการเผาอ้อย และการขยายพื้นที่ปลูกป่าเพื่อช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับประเทศไทย โดยกลุ่มมิตรผลมีเป้าหมายในการขับเคลื่อนโมเดลความเป็นกลางทางคาร์บอนฯ ขยายสู่โรงงานในเครือ เพื่อก้าวสู่ Net Zero และสอดคล้องกับนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ของประเทศไทย

 

เนื้อหาที่น่าสนใจ :