กระแสการเงินสีเขียวมาแรงต่อเนื่อง หลังคนไทยหันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ดัน"การเงินสีเขียว" ครึ่งปี 2566 เติบโตกระฉูด
หลายธุรกิจเดินหน้าใส่ใจสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะธุรกิจการเงินปัจจุบันหันมาผลิตภัณฑ์สีเขียวมากขึ้น เพื่อมาเอาใจประชาชน ลูกค้าสายกรีน สู่ความยั่งยืนในอนาคต โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ภายใต้นโยบายส่งเสริมการลด GHG (ก๊าซเรือนกระจก)จะทำโอกาสกลับมาเห็นกิจกรรมการออกผลิตภัณฑ์การเงินเพื่อความยั่งยืนที่คึกคักขึ้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รู้จัก สินเชื่อสีเขียว สร้างโอกาสให้ธุรกิจที่ปรับตัวมาให้ความสำคัญกับโลก
อิฐรักษ์โลก ทำจากขยะพลาสติกบนเกาะพะงัน ตอกย้ำ เกาะไร้ถังเป็นไปได้
สำหรับประเทศไทยมูลค่าการออกผลิตภัณฑ์การเงินเพื่อความยั่งยืนยังคง เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีสาเหตุมาจาก การออกตราสารหนี้ Sustainability Bond ของภาครัฐบาลเพื่อใช้ในโครงการ เพื่อเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจจากการ ระบาดของโรคโควิด-19 ลำดับถัดมา ได้แก่การออกผลิตภัณฑ์การเงิน เพื่อความยั่งยืนในประเภท Green และ Sustainability-Linked เช่นเดียวกับ ในต่างประเทศ "มองไปข้างหน้า ความท้าทาย ของการพัฒนาตลาดการเงินเพื่อ ความยั่งยืนที่สำคัญ ยังมาจากกระบวนการ ที่ซับซ้อนและต้นทุนที่สูงกว่าการออก ตราสารหนี้ปกติ รวมถึงโครงการ ที่เข้าข่ายและน่าสนใจยังมีน้อยทำให้ สัดส่วนการเงินเพื่อความยั่งยืนในไทย
ยังมีน้อยกว่าเมื่อเทียบกับทั่วโลก ซึ่งการมี Taxonomy และการส่งเสริม จากภาครัฐที่เหมาะสม คงช่วยให้ การพัฒนาตลาดมีความรวดเร็วและ สนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่เป้าหมาย ความยั่งยืนในระดับบริษัทและ ประเทศได้เร็วขึ้นสอดคล้องกับธนาคารแห่ง ประเทศไทย (ธปท.) ที่มีแนวนโยบาย ภาคการเงินไทยเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจไปสู่ ความยั่งยืนขณะเดียวกันก็ต้องพร้อมรับมือ กับโอกาสและความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อจัดสรรเงินทุนให้เพียงพอกับภาคธุรกิจ ที่ต้องการปรับตัวในช่วงเปลี่ยนผ่าน “หลักการภาคการเงินนั้นสามารถ ประเมินผลกระทบ (ความเสี่ยงและโอกาส) ด้านสิ่งแวดล้อม ให้เป็นส่วนหนึ่งของ กระบวนการตัดสินใจและการดำาเนินงาน อย่างเป็นระบบ และมีผลิตภัณฑ์ หรือ บริการทางการเงินที่จําเป็น และเพียงพอ ให้สามารถกระตุ้น หรือ ส่งเสริมให้ภาคธุรกิจ สามารถปรับตัวได้
โดยแนวนโยบายสถาบันการเงินโดยคำนึงถึง มิติด้านสิ่งแวดล้อมได้มีการประกาศ เจตนารมณ์ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และ ธรรมาภิบาล (ESG Declaration) เพื่อกำหนดทิศทางที่ชัดเจนร่วมกันของ อุตสาหกรรมธนาคาร ด้วยมาตรฐานการ จัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่คำนึงถึง สิ่งแวดล้อมของประเทศไทย (Thailand Taxonomy)
ทั้งนี้กำหนดจัดกลุ่มด้วยระบบสัญญาณ ไฟฟ้าจราจร” โดย สีเขียว คือ กิจกรรม ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสอดคล้องกับ เป้าหมายความตกลงปารีส เช่น การผลิต พลังงานจากแสงอาทิตย์ สีเหลือง คือ กิจกรรมที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ยังไม่ใกล้เคียงหรือเทียบเท่าศูนย์ และสามารถปรับปรุงเป็นกิจกรรมที่เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น สีแดง คือ กิจกรรม ที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จำเป็นต้อง ทยอยลดกิจกรรมเหล่านี้ลงอย่างต่อเนื่อง เช่น พลังงานไฟฟ้าจากถ่านหิน การริเริ่มสิ่งใหม่ไม่ใช่เรื่องง่าย เช่นเดียวกับการเงินสีเขียวที่อยู่ในช่วง เริ่มต้นและมีโอกาสก้าวกระโดดไปได้ไกล แต่จะเป็นเช่นนั้นได้ต้องมีองค์ประกอบ หลายๆ อย่างมาร่วมมือกันให้การเงิน เป็นกลไกหนึ่งที่จะสู่เป้าหมาย ความยั่งยืนได้