svasdssvasds

นักวิจัยชี้ ปริมาณน้ำทั่วโลกไม่สมดุล คนรวยใช้น้ำมากเกินจนคุกคามอุปทานโลก

นักวิจัยชี้ ปริมาณน้ำทั่วโลกไม่สมดุล คนรวยใช้น้ำมากเกินจนคุกคามอุปทานโลก

คนรวยใช้น้ำให้น้อย ๆ หน่อย! นักวิจัยต่างประเทศชี้ ปริมาณน้ำทั่วโลกไม่สมส่วน เนื่องจากภัยแล้งกระทบหนักหลายประเทศ คนจนเข้าถึงน้ำยาก วิจัยจนพบว่าคนรวยใช้น้ำมากเกินไป

คนไทยเสียวสันหลังเลย เพราะกำลังจะจัดงานสงกรานต์ เพราะนักวิจัยต่างประเทศบางกลุ่มออกมาประณามว่าภัยแล้งกำลังรุกคืบหนักทั่วโลก วอนคนรวยใช้น้ำในปริมาณที่พอดี

แน่นอน น้ำเป็นปัจจัยหลักในการดำรงชีพ ซึ่งมีอยู่แล้วทั่วประเทศ หลายประเทศใช้น้ำในอุตสาหกรรมที่หลากหลายและในปริมาณมาก โดยที่ภูมิประเทศเอื้อให้ยังสามารถมีน้ำใช้ได้อย่างต่อเนื่อง ต่างกันลิบลับกับบางประเทศ ที่ตอนนี้กำลังเผชิญกับภัยแล้งหนักจนแทบจะไม่มีน้ำดื่มกิน

ภัยแล้ง Cr. Pixarbay นักวิจัยแย้งว่า ปริมาณน้ำในปัจจุบันไม่สมส่วน ซึ่งส่วนใหญ่ถูกใช้โดยคนร่ำรวยที่สุดในสังคมนั้น ๆ ดังนั้น เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าเราจะสามารถทำให้อนาคตยั่งยืนได้

ตามรายงานขององค์การสหประชาชาติ ประชากร 2.4 พันล้านคนทั่วโลกที่อาศัยอยู่ในเมืองอาจประสบปัญหาขาดแคลนน้ำในปี 2050 จากเดิมในปี 2016 คาดไว้ที่ 933 ล้านคน ความต้องการน้ำเพิ่มขึ้นอยู่ในอัตราที่น่าตกใจทั่วโลก โดยเฉพาะในเขตเมือง Elisa Savelli จาก Uppsala University ประเทศสวีเดน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แต่ที่น่าห่วงกว่านั้น คือเรามีเคสตัวอย่างแล้ว บางประเทศกำลังขาดแคลนน้ำอย่างรุนแรง เช่น เมืองเคปทาวน์ ประเทศแอฟริกาใต้ ภัยแล้งที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2015-2018 ทำให้ระดับอ่างเก็บน้ำในเมืองลดลงเหลือเพียง 12.3% ของระดับปกติ จนทำให้มีวัน “DAY ZERO” ที่จะต้องทำการจัดการน้ำก่อนนำไปใช้ในเมือง

ผู้คนในเคปทาวน์กำลังเติมน้ำจากน้ำพุสาธารณะใส่ขวดในช่วงภัยแล้งปี 2018 Cr. NewScience ทำไมน้ำที่มีอยู่บนโลกถึงเริ่มไม่สมดุล

นักวิจัย ได้จำลองการใช้น้ำของกลุ่มทางเศรษฐกิจและสังคมต่าง ๆ ของเมืองเคปทาวน์ทั้งก่อนและระหว่างภัยแล้ง โดยอิงจากการสำรวจสัมมะโนประชากรของเมืองในปี 2020 ผมจากการสำรวจ เราได้ประชากรชนชั้นสูง 1.4% ผู้รายได้ปานกลางระดับบน 12.3% ผู้มีรายได้ปานกลางระดับล่าง 25.8% ผู้รายได้น้อย 40.5 และ ผู้อยู่อาศัยนอกระบบ 21% ของจำนวนประชากรทั้งหมดในเคปทาวน์

ใน 5 กลุ่มตัวอย่างนี้ นักวิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลผ่านการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม พบว่า ก่อนเกิดภัยแล้ง กลุ่มชนชั้นสูงและผู้รายได้ปานกลางระดับบนใช้น้ำของเมืองไปประมาณ 51% แม้ประชากรกล่มนี้จะมีเพียงร้อยละ 13.7 ก็ตาม ในทางกลับกัน ผู้รายได้น้อยและผู้อยู่อาศัยนอกระบบที่มีประชากรรวมร้อยละ 61.5 ของประชากรในเมือง ใช้น้ำของเมืองไปเพียง 27% เท่านั้น

ดังนั้น นี่จึงเป็นเหตุผลที่เคปทาวน์กลายเป็นเมืองวิกฤตน้ำ สาเหตุในงานวิจัยเผยว่า คนรวยในเคปทาวน์มีการใช้น้ำที่หลากหลายและส่วนใหญ่หลายบ้านมีสระว่ายน้ำที่ต้องการใช้น้ำจำนวนมาก พร้อมมีสวนหลากหลายขนาดที่มีการรดน้ำชุ่มฉ่ำสม่ำเสมอ

สระว่ายน้ำที่มีเกือบทุกบ้านของคนรวย Cr. Pixarbay ในความเป็นจริง จากการคาดการณ์ เมืองเคปทาวน์ไม่ได้เป็นเมืองเดียวที่กำลังเผชิญผลกระทบนี้ เมืองที่เผชิญกับความร้อนแรงของอากาศก็กำลังเผชิญหน้ากับปัญหาเดียวกัน เช่น บาร์เซโลนาในสเปน เซาเปาโลในบราซิล และเจนไนในอินเดีย

ซึ่งแม้ว่าในช่วงเกิดภัยแล้ง ทุกกลุ่มแต่ละชนชั้นจะพยายามลดการใช้น้ำ แต่กลุ่มรายได้น้อยที่สุดก็มักประสบปัญหาการเข้าถึงแหล่งน้ำเพื่อความต้องการขั้นพื้นฐานอยู่ดี เช่น เอานำไปทำอาหาร เมื่อเทียบกับกลุ่มคนรวย

เพราะกลุ่มร่ำรวยมีแนวโน้มเข้าถึงแหล่งน้ำได้ง่ายกว่ารวมถึงการมีแหล่งน้ำส่วนตัว เช่น น้ำดื่มบรรจุขวดและบ่อน้ำส่วนตัว ซึ่งการมีบ่อน้ำส่วนตัวก็สามารถทำให้แหล่งน้ำในท้องถิ่นหมดได้เช่นกัน ซึ่งนี่ก็เป็นที่น่ากังวลถึงในอนาคตว่า หากเรายังใช้น้ำกันอย่างฟุ่มเฟือยเช่นนี้ ความยั่งยืนที่เราวาดเอาไว้ อาจไปไม่ถึงก็เป็นไปได้

การใช้น้ำโดยที่ไม่มีการบริหารจัดการให้อย่างเท่าเทียมก็เป็นปัญหา หากปล่อยให้กลุ่มทุนใช้น้ำส่วนกลางเรื่อย ๆ ก็มีโอกาสที่ผู้อ่อนแอในกลุ่มสังคมจะไม่ได้รับน้ำ ซึ่งเป็นปัจจัยขั้นพื้นฐาน ในภาวะที่โลกกำลังร้อนขึ้น ภัยในวันข้างหน้าก็มีอัตราที่ร้ายแรงขึ้น คุณล่ะคิดเห็นอย่างไรกับประเด็นนี้?

ที่มาข้อมูล

NewScience

related