แม่น้ำคงคานอกจากจะเป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดและศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของอินเดียแล้ว ยังเป็นที่อยู่อาศัยของโลมาหลายพันตัว แต่การดำรงอยู่ของพวกมันกำลังตกอยู่ในอันตราย
โลมาแม่น้ำคงคา เป็นสายพันธุ์หนึ่งของโลมาแม่น้ำ และเป็นสัตว์น้ำประจำชาติของอินเดีย โดยพบส่วนใหญ่อยู่ในระบบแม่น้ำคงคา-พรหมบุตร ทางตอนเหนือของประเทศ
การสำรวจล่าสุดพบว่าแม่น้ำของอินเดียเป็นที่อยู่อาศัยของโลมาแม่น้ำประมาณ 6,327 ตัว โดยเป็นโลมาแม่น้ำคงคา 6,324 ตัว และโลมาแม่น้ำสินธุเพียง 3 ตัว ปลาโลมาแม่น้ำสินธุส่วนใหญ่พบในปากีสถาน เนื่องจากแม่น้ำสายนี้ไหลผ่านประเทศในเอเชียใต้ทั้งสองประเทศ
ปัจจุบันโลมาทั้งสองสายพันธุ์นี้ได้รับการจัดให้อยู่ในสถานะ "ใกล้สูญพันธุ์" โดยสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN)
โลมาเหล่านี้ไม่เหมือนโลมาที่พบในมหาสมุทร พวกมันไม่ได้กระโดดขึ้นจากน้ำเป็นเส้นโค้งที่น่าตื่นตาตื่นใจ หรือโผล่ขึ้นมาบนผิวน้ำเป็นระยะเวลานานหรือว่ายน้ำในท่าตั้งตรง พวกมันว่ายน้ำไปด้านข้าง ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ใต้น้ำ มีจมูกยาว และแทบจะมองไม่เห็นเลย
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า การสำรวจครั้งใหม่นี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการติดตามประชากรโลมาแม่น้ำ เพราะตั้งแต่ปี 1980 เป็นต้นมา ก็มีโลมาตายไปแล้วอย่างน้อย 500 ตัว หลายตัวติดอวนจับปลา บางตัวหรือถูกฆ่าโดยตั้งใจ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงภัยคุกคามต่อสายพันธุ์โลมาที่ยังคงดำเนินอยู่ พวกมันยังคงถูกล่าเพื่อเอาเนื้อและไขมันมาทำเป็นเหยื่อตกปลา บางครั้งพวกมันก็ชนเรือหรือติดเบ็ดจนตาย
ขณะที่การท่องเที่ยวโดยเรือสำราญในแม่น้ำ ซึ่งได้รับความนิยมในอินเดียในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ส่งผลให้ถิ่นที่อยู่อาศัยของโลมาเหล่านี้ถูกคุกคามมากขึ้น มีเรือสำราญหลายสิบลำที่ล่องไปตามแม่น้ำคงคาและแม่น้ำพรหมบุตรในแต่ละวัน พวกเขาเชื่อว่าปริมาณการขนส่งทางเรือที่เพิ่มขึ้นอาจทำให้โลมาแม่น้ำคงคาใกล้จะสูญพันธุ์ เหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นกับโลมาไป๋จีในแม่น้ำแยงซีของจีน
แม้จะวิวัฒนาการตัวเองเพื่อปรับตัวเข้ากับสภาพแววล้อม แต่ส่วนหนึ่งโลมาก็การสะท้อนเสียง เผชิญภัยคุกคามจากการวิวัฒนาการตัวเอง เพราะพวกมันก็แทบจะมองไม่เห็นกันเอง ต้องอาศัยการแม้ว่าลักษณะนี้จะเหมาะกับแหล่งที่อยู่อาศัยของพวกมัน แต่ก็ทำให้พวกมันเสี่ยงต่อการถูกคุกคามในยุคปัจจุบันด้วยเช่นกัน
ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า ในตอนนี้ ความคิดริเริ่มของรัฐบาลมีส่วนสำคัญในการอนุรักษ์โลมา แม้มีการดำเนินการมากมายแล้ว แต่ยังมีอีกมากที่ต้องทำ ก่อนที่โลมาประจำถิ่นที่หาได้ยากเหล่านี้จะหายไปจากโลกจริงๆ