svasdssvasds

พบไมโครพลาสติกใน โลมา เป็นครั้งแรกของโลก ทำไมเรื่องนี้น่ากังวลกว่าที่คิด?

พบไมโครพลาสติกใน โลมา เป็นครั้งแรกของโลก ทำไมเรื่องนี้น่ากังวลกว่าที่คิด?

รู้หรือไม่ว่า ในทะเลอันกว้างใหญ่ มีไมโครพลาสติกกระจายอยู่มากกว่า 171 ล้านล้านชิ้น พลาสติกไซซ์จิ๋ว ขนาด 5 มิลลิเมตร ที่มิเพียงเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพของมนุษย์ แต่ตอนนี้มันลามไปยังสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอย่าง "โลมา" แล้ว

SHORT CUT

  • รู้หรือไม่ มีไมโครพลาสติกสะสมอยู่กว่า 171 ล้านล้านชิ้น หรือมีน้ำหนักรวมกันกว่า 2.3 ล้านตัน 
  • โลมาคือเหยื่อรายล่าสุดที่ถูกค้นพบว่ามีไมโครพลาสติกอยู่ในเนื้อเยื่อ โดยพบว่า ระบบหายใจคือช่องทางที่ทำให้โลมาได้รับไมโครพลาสติกเข้าไป 
  • ฟองอากาศที่อยู่บริเวณริ้วคลื่นสามารถปล่อยพลาสติกจิ๋วขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศได้ประมาณ 100,000 เมตริกตันต่อปี ดังนั้น โลมา และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลอื่น ๆ ที่ขึ้นมาเหนือผิวน้ำ อาจได้รับไมโครพลาสติกเข้าสู่ร่างกายมากเป็นพิเศษ

รู้หรือไม่ว่า ในทะเลอันกว้างใหญ่ มีไมโครพลาสติกกระจายอยู่มากกว่า 171 ล้านล้านชิ้น พลาสติกไซซ์จิ๋ว ขนาด 5 มิลลิเมตร ที่มิเพียงเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพของมนุษย์ แต่ตอนนี้มันลามไปยังสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอย่าง "โลมา" แล้ว

พบบ่อยจนไม่ใช่คนอื่นคนไกลเสียแล้วสำหรับ “ไมโครพลาสติก” ที่นอกจากแทรกซึมเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ ผ่านการกิน หรือการหายใจ และส่งผลเสียต่อสุขภาพ ล่าสุด นักวิทยาศาสตร์ ค้นพบว่า พลาสติกไซซ์จิ๋วได้แผลงฤทธิ์ไปยังสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอย่างโลมาเป็นที่เรียบร้อย

Credit AFP

ไมโครพลาสติกมีมากแค่ไหนในทะเล

ทะเลอันกว้างใหญ่ไพศาล ซึ่งเป็นที่อยู่ของสัตว์น้ำนานาชนิด หรืออาจเรียกว่าเป็นบ้าน มีไมโครพลาสติกสะสมอยู่กว่า 171 ล้านล้านชิ้น หรือมีน้ำหนักรวมกันกว่า 2.3 ล้านตัน จากการศึกษาที่เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์วารสาร PLOS ONE เมื่อปี 2566 ที่ผ่านมา

พบไมโครพลาสติกในโลมา

ล่าสุด โลมาคือเหยื่อรายล่าสุดที่ถูกค้นพบว่ามีไมโครพลาสติกอยู่ในเนื้อเยื่อ โดยพบว่า ระบบหายใจคือช่องทางที่ทำให้โลมาได้รับไมโครพลาสติกเข้าไป ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาก่อนหน้านี้ที่สันนิษฐานว่า โลมาน่าจะสูดเอาไมโครพลาสติกเข้าร่างกายผ่านการหายใจ

Credit AFP

เมื่อเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2566 ทีมนักวิทยาศาสตร์ ได้เก็บตัวอย่างจากโลมาปาดขวดป่าจำนวน 11 ตัว โดย 6 ตัวแรกมาจากอ่าวบาราทาเซีย รัฐลุยเซียนา และอีก 5 ตัวมาจากอ่าวซาราโซตา รัฐฟลอริดา สหรัฐฯ

จากนั้นนำจานเพาะเชื้อไปจ่อไว้บริเวณช่องหายใจ ซึ่งเป็นช่องทางที่โลมาหายใจเข้าออก จากนั้น นำจานเพาะเชื้อไปตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์ ผลลัพธ์ปรากฏว่า กว่าครึ่งหนึ่งของเนื้อเยื่อโลมามีไมโครพลาสติกแฝงอยู่

Credit AFP

และรู้ไหมว่าพบอนุภาคของพลาสติกชนิดใดมากที่สุด อันดับหนึ่งตกเป็นของโพลีเอสเตอร์ พลาสติกที่มักใช้สำหรับตัดเย็บเสื้อผ้า ซึ่งเป็นชนิดที่พบมากที่สุดในมนุษย์เช่นเดียวกัน และพลาสติกชนิดนี้ยิ่งซักยิ่งหลุดลอยไปตามน้ำ และฟุ้งลอยอยู่ในอากาศ โดยที่เรามองไม่เห็น

ทั้งนี้ ฟองอากาศที่อยู่บริเวณริ้วคลื่นสามารถปล่อยพลาสติกจิ๋วขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศได้ประมาณ100,000 เมตริกตันต่อปี ดังนั้น โลมา และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลอื่น ๆ ที่ขึ้นมาเหนือผิวน้ำ จะด้วยเหตุผลใดก็ตาม อาจได้รับไมโครพลาสติกเข้าสู่ร่างกายมากเป็นพิเศษ

เสี่ยงสุขภาพปอดแย่-คล้ายมนุษย์

มีการศึกษาหลายชิ้นที่ยืนยันตรงกันว่าหากมนุษย์สูดเอาไมโครพลาสติกเข้าไปจำนวนมาก อาจส่งผลกระทบให้ปอดอักเสบได้ ซึ่งแน่นอนว่าอาจลากลามไปถึงปัญหาข้างเคียงอื่น ๆ อาทิ ปอดบวม มีเสมหะ หลอดลมอักเสบ หรือร้ายแรงที่สุดอาจก่อให้เกิดมะเร็งได้

แต่ในกรณีของโลมา ที่ได้รับการยืนยันแล้วว่าพวกมันสูดเอาไมโครพลาสติกเข้าไปจำนวนมาก นักวิจัยเปิดเผยว่า ต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อดูว่าพลาสติกไซซ์จิ๋วนี้ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพโลมาอย่างไร และมากแค่ไหน

แต่เบื้องต้น ทีมนักวิจัยสันนิษฐานถึงผลกระทบที่โลมาอาจจะได้รับไว้คล้ายคลึงกับมนุษย์ นั่นคือ ปอดอาจมีปัญหา เนื่องจากโลมาเป็นสัตว์ที่มีขนาดปอดใหญ่ และสูดลมหายใจเข้าไปลึกมาก หลังจากนั้น ต้องศึกษาอย่างละเอียดเพื่อปกป้องโลมาจากสถานะใกล้สูญพันธุ์

 

ที่มา: CNN

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related