svasdssvasds

5 เขตกทม.ควรเลี่ยงในวันลอยกระทงเพราะอยู่ในพื้นที่ฝุ่น PM 2.5 พุ่ง

5 เขตกทม.ควรเลี่ยงในวันลอยกระทงเพราะอยู่ในพื้นที่ฝุ่น PM 2.5 พุ่ง

ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ในกรุงเทพมหานคร วันลอยกระทง พบว่า มีหลายพื้นที่ค่าฝุ่นยังอยู่ในระดับเริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพ

SHORT CUT

  • เช็กค่าฝุ่นวันลอยกระทงปีนี้ หลายเขตอยู่ในระดับสีส้ม หรือ เริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพ กทม.แนะประชาชนสวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่กลางแจ้ง
  • ค่าฝุ่น PM2.5 ใน 5 เขตหนองแขมยังครองแชมป์ค่าฝุ่นสูงสุด บางนาตามมาติดๆ และในพื้นที่กรุงเทพชั้นในอย่างสาทร ค่าฝุ่นเริ่มพุ่งสูง
  • GISTDA รายงานว่า กรุงเทพฯ ยังจมฝุ่น และ เป็นพื้นที่ที่ค่า PM2.5 สูงสุดในประเทศ นอกจากนี้ยังมีอีก 20 จังหวัดที่อยู่ในระดับสีส้ม

ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ในกรุงเทพมหานคร วันลอยกระทง พบว่า มีหลายพื้นที่ค่าฝุ่นยังอยู่ในระดับเริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพ

ค่าฝุ่นเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 33.8 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.)

5 อันดับ ของค่าฝุ่นPM2.5 เขตสูงสุดในกรุงเทพมหานคร

  • อันดับหนึ่งยังเป็นเขตหนองแขม 49.3 มคก./ลบ.ม.
  • เขตบางนาตามมาที่ 48.5 มคก./ลบ.ม.
  • อันดับสามเป็นเขตตลิ่งชัน 48.1 มคก./ลบ.ม.
  • กรุงเทพชั้นในอย่างเขตสาทรติดอันดับสี่ค่าฝุ่นละอองอยู่ที่ 46.1 มคก./ลบ.ม.
  • และเขตทวีวัฒนา 45.3 มคก./ลบ.ม.

5 เขตกทม.ควรเลี่ยงในวันลอยกระทงเพราะอยู่ในพื้นที่ฝุ่น PM 2.5 พุ่ง แม้จะฝุ่นละอองจะมีแนวโน้มลดลง แต่คุณภาพอากาศกรุงเทพเหนือ กรุงเทพตะวันออก กรุงเทพกลาง และกรุงเทพใต้ ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง ส่วนกรุงธนเหนือ และ กรุงธนใต้ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

คุณภาพอากาศระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ประชาชนทั่วไป ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร จำกัดระยะเวลาในการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก

ควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา

ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร เลี่ยงการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์

ขณะที่ GISTDA สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ เกาะติดสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ด้วยข้อมูลจากดาวเทียมผ่านแอปพลิเคชัน “เช็คฝุ่น” พบค่าฝุ่น PM2.5 มีผลกระทบต่อสุขภาพ (สีแดง)  ในพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร จำนวน 15 เขต โดยค่าฝุ่นสูงสุดอยู่ที่ เขตบางกอกใหญ่ 77.6 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

ส่วนภาพรวมของประเทศพบค่าฝุ่นเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (สีส้ม) 20 จังหวัด โดยค่าสูงสุดอยู่ที่ กทม.

พร้อมแนะนำให้ประชาชนควรสวมหน้ากากตลอดเวลาเมื่ออยู่ในที่โล่งแจ้ง เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจตามมาโดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ

related