svasdssvasds

ส่อง 6 แนวทางลดฝุ่น PM2.5 มีอะไรบ้าง? จะมีแนวทางไหนบ้างนำไปสู่ความยั่งยืน

ส่อง 6 แนวทางลดฝุ่น PM2.5 มีอะไรบ้าง? จะมีแนวทางไหนบ้างนำไปสู่ความยั่งยืน

ปี2567 เป็นอีกหนึ่งปีที่ต้องจับตาเรื่องฝุ่น PM2.5 ทั้งในพื้นที่ภาคเหนือ และกทม. ซึ่งเป็นพื้นที่ซ้ำซากที่เกิดขึ้นเป็นประจำ วันนี้จะพามาดู 6 แนวทางลดฝุ่น PM2.5 ปี’67 เชื่อมโยง ปี’68 ว่าจะมีมาตรการไหน? จะทำให้เกิดความยั่งยืนที่สุด

SHORT CUT

  • ต้อมยอมรับว่าประเทศไทยต้องเผชิญกับกับ "ฝุ่น PM 2.5" ในทุกๆปี แบบหลีกเลี่ยงไม่ได้ จากหลายปัจจัยเสี่ยงทั้งภาคธุรกิจ และเผาป่า
  • คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เห็นชอบมาตรการฯ และกลไกการบริหารจัดการ จะมีการขับเคลื่อนเรื่องฝุ่น PM2.5 ผ่านกลไกการบริหารจัดการ 3 ระดับ ได้แก่ ระดับชาติ ระดับภาคหรือข้ามเขตป่าหรือเขตปกครอง และระดับจังหวัด

  • ยกตัวอย่างเช่น ระยะเตรียมการจัดทำแผนที่เสี่ยงการเผา Risk Map แผนปฏิบัติการจัดการไฟป่าตามห้วงเวลา แผนบริหารจัดการเชื้อเพลิง ข้อมูลพื้นที่ที่ทำการเพาะปลูกเสี่ยงเผาและข้อมูลเกษตรกรรายจังหวัด

ปี2567 เป็นอีกหนึ่งปีที่ต้องจับตาเรื่องฝุ่น PM2.5 ทั้งในพื้นที่ภาคเหนือ และกทม. ซึ่งเป็นพื้นที่ซ้ำซากที่เกิดขึ้นเป็นประจำ วันนี้จะพามาดู 6 แนวทางลดฝุ่น PM2.5 ปี’67 เชื่อมโยง ปี’68 ว่าจะมีมาตรการไหน? จะทำให้เกิดความยั่งยืนที่สุด

ปฏิเสธเลยไม่ได้จริงๆว่าประเทศไทยต้องเผชิญกับกับ "ฝุ่น PM 2.5" ในทุกๆปี แบบหลีกเลี่ยงไม่ได้ และปี2567 นี้ก็เช่นกันศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร

ทั้งนี้คาดการณ์คุณภาพอากาศกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 7 วันข้างหน้า โดยเฉพาะในวันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม 2567 (วันพรุ่งนี้) สถานการณ์คุณภาพอากาศในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลเริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดยพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ ระดับเริ่มกระทบสุขภาพ คือ

  • กรุงเทพเหนือ (หลักสี่ จตุจักร)
  • กรุงเทพใต้ (คลองเตย พระโขนง บางนา)
  • กรุงเทพกลาง (พญาไท ดินแดง ห้วยขวาง)

นอกจากนี้ยังมีเขตที่ต้องเฝ้าระวัง คือ

  • กรุงเทพตะวันออก (คลองสามวา มีนบุรี สะพานสูง)
  • กรุงธนเหนือ (คลังขัน บางกอกน้อย ทวีวัฒนา)
  • กรุงธนใต้ (บางแค หนองแขม บางบอน)

สำหรับคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานครประจำวันพุธที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 07.00 น. ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ตรวจวัดได้ 12.2-35.4 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) พบว่าไม่เกินมาตรฐานทุกพื้นที่ที่มีการตรวจวัด (มาตรฐานไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม.) ดัชนีคุณภาพอากาศของสถานีตรวจวัดของกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่อยู่ในระดับคุณภาพอากาศดี และกรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์สภาพอากาศในพื้นที่กรุงเทพมหานคร  มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่

พามาส่องดูมาตรการรับมือฝุ่น PM2.5 ปี2567 เชื่อมโยงปี2568 โดย คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เห็นชอบมาตรการฯ และกลไกการบริหารจัดการ จะมีการขับเคลื่อนเรื่องฝุ่น PM2.5 ผ่านกลไกการบริหารจัดการ 3 ระดับ ได้แก่ ระดับชาติ ระดับภาคหรือข้ามเขตป่าหรือเขตปกครอง และระดับจังหวัด

โดยมีทั้งสิ้น 6 แนวทางลดฝุ่น PM2.5 ปี 2568 ดังนี้

1. ระยะเตรียมการ จัดทำแผนที่เสี่ยงการเผา Risk Map แผนปฏิบัติการจัดการไฟป่าตามห้วงเวลา แผนบริหารจัดการเชื้อเพลิง ข้อมูลพื้นที่ที่ทำการเพาะปลูกเสี่ยงเผาและข้อมูลเกษตรกรรายจังหวัด

2. การจัดการไฟในพื้นที่ป่าอนุรักษ์และป่าสงวนแห่งชาติ โดยตั้งจุดตรวจ/จุดสกัด/จุดเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยง ชุดดับไฟป่า บริหารจัดการเชื้อเพลิง ประกาศจำกัดการเข้าพื้นที่ป่าและพื้นที่ที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยง การใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าชุมชนโดยไม่เผา รวมถึงพื้นที่เกษตรกรรมในที่ดินของรัฐ และมุ่งเน้นการเปลี่ยนการปลูกพืชเชิงเดี่ยว

3. การจัดการไฟในพื้นที่เกษตร โดยประกาศขึ้นทะเบียนเกษตรกรที่จำเป็นต้องใช้ไฟและบริหารจัดการไฟในพื้นที่เกษตรเท่าที่จำเป็นและมีการควบคุม ควบคุมอ้อยไฟไหม้เข้าโรงงาน หากฝ่าฝืนถูกบังคับใช้กฎหมาย ตัดสิทธิความช่วยเหลือจากภาครัฐ ไม่ให้สิทธิหรือเพิกถอนสิทธิ ส.ป.ก./นิคมสหกรณ์ กับเกษตรกรที่ไม่ร่วมมือ รวมถึงช่วยเหลือเกษตรกรปรับรูปแบบการผลิต และออกมาตรการสิทธิและประโยชน์ให้เกษตรกรที่ไม่เผา

4. การควบคุมฝุ่นละอองในเขตเมือง ออกประกาศห้ามรถบรรทุกขนาดใหญ่เข้าเขตเมืองช่วงวิกฤต สนับสนุนการเดินทางโดยขนส่งสาธารณะ มีนโยบายปรับลดอัตราค่าโดยสารรถสาธารณะ เร่งรัดเปลี่ยนรถ ขสมก. เป็นรถไฟฟ้า ตรวจจับรถยนต์ควันดำ รถบรรทุก พื้นที่ก่อสร้าง ผู้ทำผิดวินัยจราจร โดยปรับสูงสุด ตรวจบังคับใช้กฎหมายโรงงานและสถานประกอบกิจการอย่างเข้มงวด ควบคุม/จับกุม ผู้ลักลอบเผาในเขตชุมชนและริมทาง

5. การจัดการหมอกควันข้ามแดน ส่งเสริมการผลิตและการค้าสินค้าเกษตรแบบไม่เผา จัดการหารือระดับรัฐมนตรีก่อนเริ่มฤดูหมอกควัน ตั้งศูนย์ข้อมูลและศูนย์บัญชาการเฝ้าระวัง ควบคุมและดับไฟ ในประเทศเพื่อนบ้าน

6. การบริหารจัดการภาพรวม จะเร่งรัดการของบกลางสนับสนุน ให้สิทธิประโยชน์กับภาคเอกชน ยกระดับการบังคับใช้กฎหมาย ประกาศกำหนดพื้นที่ควบคุมเหตุรำคาญ ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ PM2.5 มีนโยบายการ Work From Home ดำเนินมาตรการด้านสาธารณสุขที่เข้มข้น ยกระดับการสื่อสารประชาสัมพันธ์ทั้งระดับประเทศ ระดับจังหวัด พื้นที่เสี่ยงและช่วงเวลาวิกฤต

อย่างไรก็ตามหากมาดูความเป็นไปได้มาตรการทั้ง 6 แล้วก็คาดว่ารัฐน่าจะสามารถทำได้ แต่ว่าจะมีมาตรการไหนที่ได้ผลที่สุด และจะสามารถจัดการเรื่องนี้ให้เกิดความยั่งยืนได้ ก็ต้องมาลุ้นอีกที เพราะเรื่องฝุ่นไม่ได้แก้ไขได้แบบถาวรได้ง่ายๆ กี่ปีกี่ชาติก็ยังคงวนไปมา! 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related